มือถือทิ้งแล้วไปไหน?!? พาไปดูขั้นตอนการคัดแยก และกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

ปลายทางของสินค้าหรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปไหน? หลายๆ ความเห็นคงไปที่ร้านรับซื้อของเก่า ที่รับซื้อแบบชั่งกิโลขาย คัดแยกชิ้นส่วนแล้วนำไปฝั่งกลบต่อ ซึ่งวิธีการเหล่านี้เป็นวิธีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกต้อง แต่ความจริงแล้ว ปลายทางที่ถูกต้องควรจะเป็นโรงงานที่รับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ ซึ่งหากกำจัดไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้เกิดการตกค้างของชิ้นส่วน ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อแหล่งน้ำ พื้นดิน และอากาศ

ดีแทค กับการใส่ใจในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

ดีแทค เป็นองค์กรเอกชน ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้ก่อตั้งโครงการ “ทิ้งให้ดี” โดยมีจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทคฮอลล์ รวมไปถึงหน่วยงานภายในดีแทค ส่วนใหญ่เป็นเครื่องโทรศัพท์มือถือสำหรับทดลองใช้ อุปกรณ์เสริมที่ตกรุ่น อุปกรณ์โครงข่ายสัญญาณ เป็นต้น

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่มาจากโครงข่ายสัญญาณ โดยในปีที่ผ่านา ดีแทคสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 213,476 ชิ้น แบ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับจากผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 46,221 ชิ้น คิดเป็น 21% และขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการการขยายโครงข่าย 167,255 ชิ้น หรือคิดเป็น 79% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เก็บได้

ผลการสำรวจพฤติกรรมการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เมื่อไม่ใช้งานแล้วของสำนักสิ่งแวดล้อม พบว่า กว่าร้อยละ 50% ของผู้ใช้งานจะเลือกขายซากขยะอิเล็กทรอนิกส์กับผู้รับซื้อของเก่า หรือ รถขายของเก่า ซึ่งมักจะนำขยะไปแยกชิ้นส่วน โดยจะเลือกเฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเพื่อนำไปขายต่อได้ และจะกำจัดซากขยะที่เหลือด้วยการทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป ปัญหาสำคัญ คือ การทิ้งซากผลิตภัณฑ์ปะปนกับขยะทั่วไป และการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

เทส (TES) บริษัทรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ดีแทคเลือก

ดีแทคให้ความสำคัญต่อบริษัทรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยในประเทศไทยมีโรงงานรับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 140 บริษัท โดยแต่ละที่ต้องทำการประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ อาทิ ธรรมาภิบาล การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ผู้รับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์จะต้องลงนามในเอกสารว่าด้วยข้อตกลงในการปฏิบัติธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ หรือ Agreement of Responsible Business Conduct รวมไปถึงจะทำการตรวจประเมินบริษัทผู้ให้บริการรีไซเคิลเหล่านี้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทผู้ให้บริการที่ได้รับคัดเลือกมานี้ยังคงรักษามาตรฐานกระบวนการรีไซเคิล มีการพัฒนาระบบการทำงานและเทคโนโลยีอยู่เสมอ

และ เทส (TES) เป็นบริษัทรับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งได้ร่วมงานกับดีแทคมากว่า 8 ปีแล้วแล้วนอกจากนี้ยังได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Apple, Lenovo, HP เป็นต้น ในการรับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

จากถังสีฟ้า ถึงปลายทางโรงงานกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อดีแทค ส่งมอบขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อให้กับเทสแล้ว จะทำการตรวจนับและชั่งนำหนัก จากนั้นจะทำการคัดแยกวัสดุตามประเภทหลักๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ หูฟัง สายชาร์ตแบตเตอรี่ พาวเวอร์แบงค์ เป็นต้น เพื่อนำวัสดุหลักดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการแกะแยก โดยแยกเป็นชิ้นส่วนหลักๆ ได้แก่ พลาสติก โลหะ ชิ้นส่วนแผงวงจรต่างๆ จากนั้นจะทำการส่งไปยังโรงงานที่สิงคโปร์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตสินค้าใหม่ต่อไป ส่วนโลหะต่างๆ จะสกัดออกมาแยกเป็นโลหะมีค่าได้แก่ ทองคำ ทองแดง พาราเดี้ยม เหล็ก อลูมิเนียม ลิเทียม เป็นต้น ทั้งนี้ 96-98% ของขยะทั้งหมดที่ดีแทคเก็บได้สามารถนำเข้าสู่กระบวนกำจัดที่ถูกต้อง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือลดคาร์บอนฟุตพรินต์ รวมทั้ง ไม่ทิ้งเศษซากขยะเป็นขยะฝังกลบเลย หรือ Zero Landfill ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ต้องการเป็นทางออกที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ให้สามารถทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทมือถือและอุปกรณ์เสริมที่ใช้งานไม่ได้แล้วอย่างอย่างถูกวิธี ปลอดภัย โดยในแต่ละปีดีแทครวบรวมนำขยะมือถือจากผู้ใช้งาน ซึ่งคิดเป็น 19% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทคเก็บได้ เข้าสู่กระบวนการการรีไซเคิลและไม่มีเศษขยะที่เหลือไปฝังกลบ (ZERO Landfill) ซึ่งเราทำได้แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 นอกจากนี้ ดีแทคยังเดินหน้าจัดกระบวนการควบคุมเพื่อนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของดีแทคเองโดยไม่ใช้วิธีฝังกลบเลย (ZERO Landfill) ภายในปี พ.ศ. 2565 ตามนโยบายด้านการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ ตามกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ดีแทค

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา