อนาคตวงการเกษตร จีนเริ่มทดสอบ “แทรกเตอร์ไร้คนขับ” ตั้งเป้า 7 ปีวางขายได้

เร็วๆ นี้เราอาจได้เห็นรถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรไร้คนขับ เนื่องจากสังคมผู้สูงอายุในประเทศจีน เลยต้องเกิดการพัฒนาในเรื่องนี้

ภาพประกอบบทความจาก Pixabay

Dongfeng ผู้ผลิตรถแทรกเตอร์รายใหญ่ของประเทศจีนกำลังทดลองแทรกเตอร์ไร้คนขับ โดยตั้งเป้าว่าภายใน 7 ปีจะมีรถแทรกเตอร์วางขาย ซึ่งถ้าหากสำเร็จจริงๆ จะถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงของอนาคตวงการเกษตรทั่วโลกได้เลยทีเดียว เพราะจะถือว่าลดการใช้แรงงานลงจากภาคการเกษตรได้อีกมาก

โดยรถแทรกเตอร์ไร้คนขับที่กำลังทดลองนี้จะสามารถปลูก ใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว สำหรับพืชที่รองรับมีทั้งข้าว ข้าวสาลี รวมไปถึงข้าวโพด พืชทั้ง 3 ชนิดนี้จำเป็นแก่อุตสาหกรรมอาหารของประเทศจีนอย่างมาก นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังสนับสนุนให้มีการทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเกษตรด้วย อย่างเช่นมีการก่อตั้ง Telematics Industry Application Alliance หรือเรียกย่อๆ ว่า TIAA

สาเหตุที่จีนต้องรีบพัฒนารถแทรกเตอร์ไร้คนขับเนื่องจากจีนกำลังประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่กำลังคุกคามจีนในเร็วๆ นี้ และอุตสาหกรรมการเกษตรย่อมได้รับผลจากแรงงานที่ลดลง ไม่ใช่แค่ประเทศจีนเท่านั้น สหรัฐอเมริกา รวมไปถึงออสเตรเลีย ก็เป็นประเทศที่กำลังจะประสบปัญหานี้ด้วย

Alexious Lee นักวิเคราะห์จาก CLSA มองว่า การที่บริษัทในประเทศจีนสามารถพัฒนารถแทรกเตอร์ไร้คนขับได้ เนื่องจากปัจจุบันจีนมีระบบบอกพิกัดตำแหน่งใช้ในประเทศจีนเองที่ชื่อว่า Beidou ซึ่งเหมือนกับระบบ GPS ของสหรัฐอเมริกา ทำให้ได้เปรียบประเทศอื่นๆ

อย่างไรก็ดีเมื่อมีการไปพูดคุยกับ Li Guoyong ซึ่งเป็นเกษตรกรปลูกข้าวสาลีในจังหวัด Heibei เขามองว่าเขาเองได้ยินเรื่องนี้มาสักพักแล้ว แต่เขามองว่ารถแทรกเตอร์เหล่านี้ถ้าหากเวลาใช้จริงๆ แล้วอาจประสบปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ใหญ่มากๆ

ยังรวมไปถึงความกังวลในเรื่องราคาของรถแทรกเตอร์ไร้คนขับว่าราคาอาจแพงถึงคันละเกือบๆ 3 ล้านบาท อาจไม่คุ้มกับพื้นที่การเกษตร เนื่องจากชาวจีนที่มีพื้นที่การเพาะปลูกมากๆ นั้นมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา

ที่มาChannel News Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ