เมื่อ Facebook จะเปิดตัว Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ชื่อ Libra แต่หลายคนสงสัยว่าจะซ้ำรอย Bitcoin หรือเงินดิจิทัลสกุลอื่นๆ ที่ราคาผันผวน มีทั้งที่เฟื่องฟูไม่นานก็ตกต่ำกันไปไหม?
มาทำความเข้าใจ Libra และอนาคตของสกุลเงินนี้หลังมีข่าวหลายประเทศออกมาคัดค้าน
- Libra สกุลเงินดิจิทัลโดย Facebook และ 27 พันธมิตรที่จะสร้างการ Disruption ครั้งใหญ่
- Libra: เมื่อเฟซบุ๊กจะสร้างแบงค์ชาติโดยไม่ต้องมีชาติ
ทำไม Facebook ต้องทำ ตลาด Cryptocurrency
Facebook ประกาศว่าจะเปิดตัว Libra จะเริ่มใช้ในปี 2563 นี้โดยมีกลุ่มเป้าหมายกว่า 1,700 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นกลุ่ม Unbanked หรือคนที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน ซึ่งคนกลุ่มนี้มีสัดส่วน 31% จากประชากรโลกกว่า 7,000 ล้านคน
เป้าหมายหลักของ Libra คือแค่มีมือถือสามารถทำธุรกรรมการเงินได้ โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคารและจะแก้ Pain Point ของผู้บริโภคหลักๆ ได้แก่ 1. กลุ่ม Unbanked ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมมากกว่า 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน เพื่อเข้าถึงเงินสด 2.กลุ่มที่ส่งเงินไปต่างประเทศมีต้นทุนสูงถึง 7% 3.เงินสดมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกขโมย มีตัวเลขว่าแต่ละปีธุรกิจรายย่อยในสหรัฐ สูญเสียเงิน 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐจากปัญหาการโจรกรรมเงินสด
เมื่อ Libra คือ Cryptocurrency จึงมีเทคโนโลยี Blockchain อยู่เบื้องหลัง เป้าหมายอีกอย่างคือการลดการใช้เงินสดทั่วโลกจากปัจจุบันยังมีธุรกรรมเงินสดที่ 85%
เทียบให้ชัดว่า Blockchain ประหยัดกว่าการใช้สกุลเงินหลัก
Libra และสกุลเงินดิจิทัลอีกหลายสกุล เคลมว่าการใช้ระบบ Blockchain จะทำให้การโอนเงินข้ามประเทศเร็วขึ้น ค่าธรรมเนียมที่ถูกลง ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และรับเงินง่ายผ่านมือถือ ต่างจากปัจจุบันหากต้องการโอนเงินไปต่างประเทศมีค่าใช้จ่าย เช่น
- ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมอัตราแลกเปลี่ยนตอนซื้อ-ขายเงินต่างประเทศประมาณ 3-5% ต่อรายการ
- ค่าโอนเงินผ่านระบบ Swift ของธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000-1,500 บาท/รายการ (ผู้โอนต้องจ่าย)
- ผู้รับโอนเงินปลายทางต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคารปลายทางที่รับเงิน เช่น 400-500 บาท/รายการ
ตัวอย่างหากโอนเงิน 100,000 บาท หักค่าธรรมเนียมแล้วผู้รับจะได้เงิน 93,000 บาท
ทั้งนี้ Facebook จะมีแต่สกุลเงิน Libra ไม่ได้ จึงต้องมีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ชื่อ Calibra เพื่อให้คนทั่วไปสามารถใช้ Libra บนมือถือใช้จ่ายในชีวิตประจำวันผ่านพันธมิตรหลายๆ ส่วนที่คนไทยคุ้นเคย เช่น Visa Mastercard Paypal ฯลฯ ข้อดีคือถ้าไปช้อปปิ้งที่ต่างประเทศก็ไม่ต้องแลกเงินต่างประเทศไป ไม่เสียค่าธรรมเนียมจากบัตรเครดิตเมื่อรูดใช้เงิน แต่ยังต้องอาศัยอินเตอร์เน็ตในการใช้งานเหมือนปัจจุบัน
ภายในเว็บไซด์ Libra อ้างว่าถ้าสกุลเงินนี้เริ่มใช้จริงจะมีเงินไหลเข้าเศรษฐกิจกำลังพัฒนากว่า 3.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และสร้างงานใหม่อีก 95 ล้านตำแหน่ง
Libra ผูกตะกร้าค่าเงินแก้ปมความเสี่ยงสกุลเงินดิจิทัล-เล็งตั้งแบงก์ชาติเอง
อย่างไรก็ตามแม้ Libra เป็น Cryptocurrency แต่ตั้งเป้าหมายที่จะมีความผันผวนต่ำ (Low volatile) และทำให้ใกล้เคียงกับเงินที่จับต้องได้ อย่าง ดอลลาร์สหรัฐ เงินเยน เงินบาท ฯลฯ โดย Libra จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกไว้กับตะกร้าเงิน (Pegged to the basket currency) และตั้งสำรอง 100%
ทั้งนี้ตะกร้าเงินคือ การรวมเงินสกุลสำคัญของโลกนำมาเฉลี่ยน้ำหนักตามปริมาณการค้ากับประเทศนั้นๆ เช่น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ 30% ยูโร 30% ปอนด์ 20 % หยวน 10% เยน 10% เมื่อประเทศไหนจะออกเงินใหม่ต้องนำเงินไปซื้อทรัพย์สินในสกุลเหล่านี้ตามสัดส่วนในตะกร้าเงินมาเก็บสำรองไว้
ดังนั้น Libra ที่จะใช้ระบบผูกค่าเงินกับตะกร้าค่าเงิน ต้องมีเงินกองทุนสำรอง Libra เพื่อไปถือทรัพย์สินในสกุลเงินต่างๆ ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในตะกร้าเงินน้ัน และจะตั้งหน่วยงานกลางเหมือนแบงก์ชาติ เป็นหน่วยงานดูแลเรื่องเงินสำรองของ Libra ในชื่อ Libra Association ระยะแรกคาดว่าจะมีเงินลงทุนอย่างน้อย 31,000 ล้านบาท โดยวางแผนว่าจะมีสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งจากภาคเอกชน 100 แห่ง
ทั้งนี้ที่ Libra ยอมผูกกับตะกร้าเงินเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่า เงินที่ใส่เข้ามาจะไม่หายไป ในเบื้องต้นหาก Libra ผูกค่าเงินกับตะกร้าดอลลาร์สหรัฐก็มีโอกาสที่จะกำไรหรือขาดทุนได้เพราะดอลลาร์สหรัฐมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ แต่การบิดเบือนค่าที่แท้จริงของเงินในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนที่มากกว่าเดิมในอนาคต
กระแสโต้กลับจากแบงก์ชาติทั่วโลก-นักการเมือง เร่ง Facebook พิสูจน์ความเสี่ยง
Mark Carney ผู้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) บอกว่า แผนงานของ Facebook (เรื่อง Libra) ต้องตรวจสอบก่อน โดยจัดให้ Facebook ได้อภิปรายรายละเอียดแผนงาน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกฎกณฑ์ของอังกฤษด้วย แม้ว่า BOE จะเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ไม่ได้แปลว่าจะเปิดประตูรับทั้งหมด
ด้าน Bruno Le Maire รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลั
ทั้งยังมีธนาคารกลางหลายแห่งในยุโรปที่กังวลในเรื่องนี้ แม้เห็นวี่แววว่า Libra อาจจะประสบความสำเร็จ แต่ส่วนใหญ่มองว่าระบบนี้ต้องอยู่ภายใต้ระบบที่มีมาตรฐานระดับสูง อย่างไรก็ตามปัจจุบัน Facebook มีข้อมูลผู้ใช้งานกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก ทำให้ผู้กำกับในหลายประเทศกังวลว่าจะมีความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลโดยมิชอบ และต้องศึกษาเรื่องกฎเกณฑ์ใหม่ๆที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้รอบด้าน
นอกจากนี้มีนักการเมืองสหรัฐบางส่วนเรียกร้องให้ Facebook ให้ชะลอโครงการ Cryptocurrency จนกว่าสภา Congress และหน่วยงานผู้กำกับ รีวิวประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยข้อมูล และระบบรักษาความปลอดภัย
สุดท้ายผู้กำกับของไทยอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาบอกว่า ต้องรอดูความชัดเจนด้านรูปแบบ กลไก การทำงานขององค์กรและเครือข่าย Libra ของ Facebook ขณะเดียวกันแบงก์ชาติหารือกับผู้กำกับประเทศอื่นๆอย่างต่อเนื่อง
สรุป
ในยุคดิจิทัลแบบนี้ ถ้า Libra ใช้ได้จริงและลดต้นทุนธุรกรรมการเงินคนทั่วไปได้ก็เป็นเรื่องดี แต่ต้องรอดูรูแบบที่ชัดเจนว่า ราคาถูกที่ประชาชนได้มาจะคุ้มกับ “ความได้เปรียบตลาด” ที่ Facebook และเครือข่ายจะได้ไปหรือไม่ ที่สำคัญต้องดูขอบเขตทางกฎหมายในแต่ละประเทศว่าจะเปิดขอบเขตให้ Libra มีบทบาทได้เท่าไร และจะเห็นใช้จริงได้เมื่อไร
ที่มา ธนาคารไทยพาณิชย์, คมชัดลึก, Reuters, CNN
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา