ยุทธศาสตร์ CPN ย้ำคอนเซ็ปต์ “Center of Life” เป็นมากกว่าแค่ศูนย์การค้า

CPN ประกาศขยายอาณาจักรค้าปลีก ต้องเป็นมากกว่าแค่ศูนย์การค้า ตอกย้ำคอนเซ็ปต์ “Center of Life” ศูนย์กลางการใช้ชีวิตของทุกจังหวัด ดึงลูกค้าเข้าศูนย์ฯ นาน ความถี่การใช้บริการเพิ่ม

วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด หรือซีพีเอ็น

วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด หรือซีพีเอ็น เล่าว่า ความท้าทายของศูนย์การค้าในยุคนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตหลากหลาย ทั้งภายในบ้านหรือนอกบ้าน เรากำลังแข่งขันกับคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่พร้อมจะช่วงชิงเวลาจากการเข้าศูนย์การค้าของผู้บริโภคไป หัวใจของการขยายศูนย์การค้า มองถึงพฤติกรรมของลูกค้าเป็นหลักก่อน

คอนเซ็ปต์ศูนย์การค้ายุคนี้ ต้องมีครบทุกอย่างเป็นมากกว่าแหล่งช็อปปิ้ง ดังนั้นการขยายศูนย์การค้าตอกย้ำ วิสัยทัศน์ในการพัฒนาบุกเบิกสร้างคอนเซ็ปต์ “Center of Life” หรือศูนย์กลางการใช้ชีวิต “ร่วมกับคู่ค่า เพื่อชุมชน ในทุกโลเคชั่น ทั่วทุกภูมิภาค ทุกจังหวัดของประเทศไทย”

“โจทย์ของ​ CPN ของการมีศูนย์การค้าทั่วประเทศต้องการดึงให้ลูกค้ามาใชัชีวิตอยู่ภายในศูนย์นานขึ้น และมีความถี่ในการเข้ามาใช้บริการจากปกติ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ “

ตอกย้ำคอนเซ็ปต์ “Center of Life” ศูนย์กลางการใช้ชีวิต

ยุทธศาสตร์ CPN ปักหมุด 2 ด้าน

1.การสร้างงาน สร้างเมืองและสร้างประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน (Growth for the Coutry) วางจิ๊กซอว์การสร้างศูนย์การค้าตอบรับกับไลฟ์สไตล์ที่พัฒนาไปและลงลึกกับความต้องการของคนแต่ละชุมชนในแต่ละโลเคชั่นแบบ Area-Based Creation พร้อมดึงจุดเด่นของแต่ละพื้นที่มาสร้างเป็นแม็กเน็ต ช่วยยกระดับบทบาทของพื้นที่นั้นๆ

2.ในส่วนของการพัฒนาชุมชนในแต่ละที่ไปพร้อมๆ กัน (Great for Locality) ซีพีเอ็นยึดหัวหาดเมืองเศรษฐกิจใหม่ 3 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ศรีราชา และจันทบุรี โดยทั้งสามโครงการเป็นมิกซ์ยูสรูปแบบใหม่ ที่รวมทั้งศูนย์การค้าแหล่งช้อปปิ้ง โรงแรม ที่พักอาศัย และคอนเวชั่นฮออล์รองรับกับการประชุมสัมนา

“เกมของซีพีเอ็น สร้าง Third Place สถานที่แหล่งที่สามที่สร้างความสุขให้แก่ทุกคน เป็นมากกว่าการช้อปปิ้ง เป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตของทุกไลฟ์สไตล์และทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง”

ยึดหัวหาดเมืองเศรษฐกิจใหม่

เมื่อการเติบโตของศูนย์การค้าที่ผ่านมา จะกระจุยแต่ในเฉพาะกรุงเทพฯ และหัวเมืองรองทั้งเชียงใหม่ ภูเก็ต แต่ในขณะที่เมืองเศรษฐกิจใหม่การเกิดศูนย์การค้ายังมีน้อยมาก แผนซีพีเอ็นปักหมุดที่เมืองเศรษฐกิจเกิดใหม่ 3 แห่ง ภายใต้โครงการมิกซ์ยูสรูปแบบใหม่

เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา เป็นโตเกียวโมเดล ภายใต้คอนเซ็ปต์ความเรืองรองแห่งพระนครศรีอยุธยา ปลุกปั้นอยุธยาให้เป็น เดสติเนชั่นเมืองท่องเที่ยวของโลกในอันดับต้นๆ ด้วยการเนรมิตรโครงการมิกซ์ยูสมีมูลค่าโครงการ 6,200 ล้านบาท

เรามาดูกันว่า สิ่งที่ CPN ตอกย้ำการเป็นศูนย์การค้า Center of Life หรือศูนย์กลางการใช้ชีวิตอย่างไร ของคนจังหวัดอยุธยา คือ การสร้าง Publice Green Space พื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคนในชุมชน เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกัน และรองรับการจัดกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัด

ภาพจาก : เซ็นทรัล พลาซา อยุธยา

เซ็นทรัล พลาซา อยุธยา ประกอบด้วย

  • ศูนย์การค้า วางเป็นศูนย์การค้าหลักในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน (One -stop Destination) มีร้านค้ากว่า 200 ร้านค้า
  • ศูนย์ประชุม  ยกระดับอยุธยาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ หรือการจัดประชุมสัมนา
  • แหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ไฮไลท์คือแกลลอรี่ถ่ายทอดเรื่องราวเมืองอยุธยา เป็นสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและไทยต้องมาเช็คอิน
  • คอนโดมิเนียม เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง
  • โรงแรม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว นักลงทุน และนักธุรกิจ

การปักหมุดศูนย์การค้าในอยุธยา ก็ด้วยเหตุผลง่าย เพราะเป็นทำเลมีศักยภาพเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เป็นต้น เป็นประตูสู่การเดินทางภาคเหนือ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ราว 403,603 ติดอันดับ 5 ของประเทศ โดยเซ็นทรัล พลาซา อยุธยา จะเปิดให้บริการไตรมาส 2 ปี 2564

เซ็นทรัล พลาซา ศรีราชา คอนเซ็ปต์”Living green in smart city of EEC center” วางศรีราชาเป็นจิ๊กซอว์เชื่อมต่อระหว่าง กรุงเทพ พัทยา ระยอง เพื่อรองรับกับการเติบโตของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (ECC) โดยมีมูลค่าโครงการ 4,200 ล้านบาท

ภาพจาก : เซ็นทรัล พลาซา ศรีราชา

สำหรับโครงการศรีราชา เป็นโครงการมิกซ์ยูส ที่เรียกกว่าครบครันใจกลางเมือง รองรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองที่เพิ่มขึ้น และยังส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางประชุมของอีอีซีในอนาคต นับว่าเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูง กลุ่มคนมีกำลังการซื้อสูงจีดีพีของจังหวัดเป็นอันดับสองของประเทศ

ถามว่าโครงการศรีราชา ถือว่าตอกย้ำศูนย์การค้า Center of Life หรือศูนย์กลางการใช้ชีวิต มากเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ ศูนย์การค้า ถูกสร้างให้เป็นศูนย์การค้าแบบ Semi-Outdoor หรือเป็นศูนย์ที่มีทั้งพื้นที่อินดอร์และเอาท์ดอร์ โมเดลเดียวกับเซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ สร้างสถานที่ 3 แหล่งเป็นศูนย์กลางที่คนศรีราชาหลบหลีความวุ่นวายมาพักผ่อน หย่อนใจด้วยการตกแต่งเหมือนบ้าน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564

เซ็นทรัล พลาซา ศรีราชา ประกอบด้วย

  • ศูนย์การค้าฟอร์แมทใหม่ Lifestyle Thematic Mall หรือแบ่งโซนร้านค้าและบริการไลฟ์สไตล์ของลูกค้าโดยไม่แบ่งแยกโซนห้างสรรพสินค้าและพลาซา หรือเรียกว่าสร้างศูนย์การค้าให้เบลอๆ ในกลุ่มลูกค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้ลูกค้าช้อปปิ้งมากขึ้น
  • การสร้างคอนเวนชั่นฮอลล์ วางหมากเป็นศูนย์การประชุมมาตรฐานระดับสากล เพื่อยกระดับศรีราชาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจอีอีซี
  • โรงแรม รองรับนักท่องเที่ยว นักลงทุน นักธุรกิจ
  • เซอร์วิสอพาร์เมนท์  สำหรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ
  • อาคารสำนักงาน รองรับกับบริษัทต่างๆ ที่ขยายในอนาคตตามแผนการพัฒนาให้เป็นเมืองเศรษฐกิจของภาครัฐ

เซ็นทรัล พลาซา จันทบุรี จิ๊กซอว์ใหม่ต่อยอด ECC  ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Shining Gem of ECC plus 2” สำหรับจันทบุรี เป็นเมืองรองที่กำลังเติบโต ด้านแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติแนวไลฟ์สไตล์ฮิปสเตอร์และบูทิค และเป็นศูนย์การค้าขายพลอยและอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดของโลก

การสร้างศูนย์การค้าในครั้งนี้จะเป็น Modern & Boutique Living Area เพื่อเติมเต็มด้านไลฟ์สไตล์แบบคนเมืองให้กับเมืองจันทบุรี  โดยโครงการมิกซ์ยูส จะพรั่งพร้อมไปด้วยสถานที่ออกกำลังระดับพรีเมี่ยม สวนสาธารณะริมน้ำ เป็นการสร้างศูนย์การค้าเพื่อการใช้ชีวิตของคนมากกว่าการช็อปปิ้ง ภายในจะมีร้านค้ากว่า 300 ร้านค้า ด้วยมูลค่าการลงทุน 3,500 ล้านบาท จะเปิดให้บริการปี 2565

ภาพจาก : ซีพีเอ็น

ปลุกปั้นย่าน New Urbanised District

ซีพีเอ็น วางแผนไว้ด้วยกัน 2 สาขา คือ เซ็นทรัลพระราม 2 และเซ็นทรัล รามอินทรา ซึ่งล้วนตอกย้ำแนวคิดสร้างศูนย์การค้ามากกว่าแค่การช็อปปิ้ง เรามาดูกัน

สำหรับเซ็นทรัล พระราม 2 จะเป็น The Largest Regional mall – Gateway of South Bangkok การพลิกโฉมครั้งใหญ่ เป็นการยกเครื่องศูนย์ใหม่ทั้งหมด โดดเด่นที่สุดคือ จะมีการ re-create พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ชื่อว่า สวน Central Plearn Park ที่มีขนาดใหญ่ถึง 37ไร่ ให้เป็นเหมือน The Oasis of South Bangkok ที่จะเป็นพื้นที่สำหรับตอบรับไลฟ์สไตล์กลุ่มครอบครัวกำลังซื้อสูง ประกอบไปด้วย Food Garden & Fashion Park, Kids Gym, Multi-sport recreation และเป็น Pet Community ที่มีทั้ง โรงพยาบาลสัตว์ Pet playground, Pet pool และ Pet Shop โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ต่อด้วยเซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา ด้วยคอนเซ็ปต์ “Living Lab of Ramindra” เพื่อรองรับกลุ่มประชากรและ Catchment ที่เติบโตขึ้นจากหมู่บ้านเป็นคอนโด แนวราบเป็นแนวสูง ที่มีความหนาแน่นของประชากร รวมถึงพัฒนาตาม Transit-oriented development

โดยโครงการนี้จะเป็น Community ใหม่ ที่เป็นเหมือน Third Place โดยจะช่วยให้ผู้คนในย่าน มีความสะดวก (Convenient) เชื่อมต่อ (Connected) และมีความสบายในการใช้ไลฟ์สไตล์ทุกวัน (Comfortable for everyday life ) ด้วยการเป็นเดสติเนชั่นทั้งด้านอาหาร กีฬา Co-living Space รองรับทุกความต้องการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2564

ปรับทุกโครงการของซีพีเอ็น

ตอบโจทย์แนวคิดการเป็น ‘Center of Life’ ในปี2563 ซีพีเอ็นปรับปรุงและขยายพื้นที่ศูนย์การค้าอีก 12 สาขาทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 9, เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, เซ็นทรัลพลาซาแจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลพลาซาขอนแก่น, เซ็นทรัลพลาซาอุดรธานี, เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ และเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์ พอร์ต, เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช, เซ็นทรัล มารีนา พัทยา, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย และเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่

ทั้งนี้แผนการลงทุนซีพีเอ็น (2562-2567) เกือบ 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุน 2562-2565 กว่า 22,000 ล้านบบาท โดยการพัฒนาโครงการ 17 โครงการ มี 5 ไฮไลท์โปรเจคสำคัญ และปรับโฉม 12 โครงการ และโครงการร่วมทุนกับดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ลงทุน 367,00 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2567

แน่นอนว่าทุกโครงของซีพีเอ็น ล้วนแต่เป็นโครงการที่เน้นย้ำ ‘Center of Life’ สร้างศูนย์การค้าให้เป็นสถานที่ในใจที่ใครๆ ก็อยากมานอกเหนือจากบ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงาน และทำให้คนใช้ชีวิตให้นานขึ้น นั่นคือการปรับของธุรกิจค้าปลีกเมืองไทย ที่เชื่อว่าไม่มีวันตายแม้ว่าต่างประเทศจะทยอยปิดสาขาไปเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา