ผลสำรวจพบ โควิดทำเด็กแย่ ขาดทักษะพื้นฐานทั้ง อ่าน เขียน เข้าสังคม

โควิดเป็นเหตุ สังเกตได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่า โควิดสร้างผลกระทบกับคนทุกวัยในหลายรูปแบบ ทั้งในแง่สุขภาพ การเงิน ไปจนถึงการเรียนรู้ด้วย ผลการศึกษาจากสำนักงานมาตรฐานทางการศึกษาของรัฐบาลอังกฤษ (Ofsted) พบว่า เด็กที่ต้องเรียนรู้ในยุคโควิดต้องเผชิญปัญหาด้านการเรียนรู้หลายด้าน โดยเฉพาะทักษะพื้นฐานเช่น การเขียน การพูด

kids-learning

Ofsted เผยแพร่รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีหลักฐานจากการตรวจสอบสถาบันศึกษาราว 280 แห่งในกลุ่มคนที่มีอายุแตกต่างกัน รวมทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ พบว่า เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาช้า มีปัญหาในการตอบสนองด้วยการแสดงความรู้สึกทางสีหน้า นั่นอาจเป็นเพราะว่ามาจากสถานการณ์โควิดที่ทำให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมลดลง

นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กขาดความมั่นใจในการร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม ดังนั้น โรงเรียนช่วงก่อนวัยเรียนควรช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะรู้จักรับและรู้จักให้ ไม่ใช่แค่ทักษะเท่านั้นที่ขาดหาย แต่ในทางกายภาพก็มีพัฒนาการช้าลงด้วย เช่น เด็กเรียนรู้จะคลานและเดินช้าลง บางรายงานก็ระบุว่า เด็กมีภาวะในการพึ่งพาตัวเองแบบถดถอย ทางโรงเรียนควรให้เด็กมีกิจกรรมทางกายภาพให้มากขึ้น ส่วนเด็กในวัยเรียนก็พบว่า ทั้งความรู้เรื่องคณิต กกรสะกดคำ และการเขียนนั้น เทอมที่เคยเรียนก่อนหน้ามีพัฒนาการกว่านี้

หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับโควิด โรงเรียนในอังกฤษก็ถูกบังคับให้ปิดเช่นกัน ดังนั้นนักเรียนหลายคนจะได้รับการศึกษาที่บ้านในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ ไม่ใช่แค่ทักษะและกายภาพที่เปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง แต่เรื่องที่น่ากังวลไม่แพ้กันก็คือเรื่องสุขภาพจิตที่ผู้สอนเด็ก สังเกตเห็นว่า เด็กมีระดับความยืดหยุ่นที่ลดลง รวมทั้งความมั่นใจด้วย ขณะที่ความกังวลกลับเพิ่มขึ้น

kid
Photo by Anthony Tran on Unsplash

บางส่วนของรายงานมุ่งเป้าไปที่กลุ่มอายุเฉพาะกลุ่มก็พบว่า โควิดส่งลกระทบในวิชาที่นักเรียนเลือกเรียนก่อนมัธยมต้นและมัธยมปลาย หรือการสอบที่เรียกว่า GSCEs และ A Level ตามลำดับ นักเรียนจำนวนหนึ่งเลือกเรียนวิทยาศาสตร์ อาทิ ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ ขณะที่นักเรียนบางคนเลือกเรียนด้านภาษาเพราะขาดความมั่นใจ

ไม่เพียงแค่นั้น โควิดยังกระทบต่อนักเรียนในทักษะด้านเทคโนโลยีด้วย แน่นอนว่าทั้งหมดที่ว่ามานี้คือความท้าทายด้านการศึกษา และหากไม่หยิบยกปัญหาเหล่านี้มาพูดถึง มันจะกลายเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการเล่าเรียนของเด็กในอนาคตได้

ที่มา – CNBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา