ฟรีสแลนด์คัมพิน่าเปิด 3 กลยุทธ์หลัก หลังยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์โฟร์โมสต์ มุ่งเน้น B2B มากขึ้น

หลังบริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าประกาศยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนรู้สึกเสียดายเพราะความผูกพันที่มีต่อสินค้านั้น จนในที่สุดบริษัทก็ประกาศชี้แจงสาเหตุที่ยุติการผลิตเนื่องจากต้องการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ล่าสุดเผย 3 กลยุทธ์หลังยุคโควิด ที่ต้องการครองตลาดนม UHT มากขึ้นทั้งในด้านของปริมาณการซื้อขายและในด้านคุณค่า จะหันไปเน้นรุกตลาด B2B ที่กำลังเติบโตอย่างมากและเน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า โปรเฟสชันแนล
เชฟฟรีสแลนด์คัมพิน่า โปรเฟสชันแนล กำลังรังสรรค์เมนู Afternoon tea

การยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ไม่ใช่ข่าวร้าย แต่เป็นการปรับตัวทางธุรกิจ

ในส่วนของการยุติการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์นั้น ดร.โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ เล่าว่า องค์กรกำลังปรับตัว การทำธุรกิจในเชนใหญ่ อย่างร้านอาหาร เบเกอรี่ กาแฟ ต้องเปลี่ยนแนวทางในการสื่อสาร ไม่ใช่แค่ปิดโรงงานที่ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์เท่านั้น แต่เป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับทิศทางธุรกิจ เป็นแค่กระบวนการการปรับตัว เราต้องปรับตัวเพื่อคงความเป็นเบอร์ 1 ของไทยให้ได้ 

ทิศทางหลังจากนี้ของฟรีสแลนด์คัมพิน่า คือจะเน้นไปตลาดนมสำหรับเด็ก ตลาดโปรเฟชชันแนล และตลาดอื่นๆ ซึ่งความจำเป็นในการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์นั้นค่อนข้างต่ำ ไม่จำเป็นต้องมีโรงผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ หันมาโฟกัสเรื่องต่างๆ ที่จะไปได้ดีกว่าได้

สำหรับประเด็นเรื่องน้ำนมขึ้นราคา ก็ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องน้ำนมดิบ เราพยายามบริหารจัดการให้ได้ คุยกับภาครัฐต่อไป ในการปรับโครงสร้างราคา ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำต่อ ในอนาคตก็อาจจะต้องปรับราคาเพิ่ง ปัจจุบันกำลังทำการยื่นเรื่องเพื่อให้พิจารณาขึ้นราคา แต่ยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอนในการปรับราคา 

ดร.โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์
ดร.โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์

ด้านวิภาส ปวโรจน์กิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่พูดถึงประเด็นการยุติผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์และการปรับตัวทางธุรกิจว่า คนอาาจรู้สึกเป็นข่าวร้าย จริงๆ แล้วเป็นการปรับทิศทางของธุรกิจ บางส่วนไม่มีความจำเป็น เราตัดออกไป ก็วิ่งได้เร็วขึ้น เรามีธุรกิจ Global เช่น ธุรกิจนมสำหรับผู้ใหญ่ เราเกี่ยวพันในนามของผู้ซื้อ หลายธุรกิจที่ Global ทำ ก็อาจจะนำมาทำในอนาคต สำหรับภาพรวมครึ่งปีแรก ต้องบอกว่าเหนื่อย แต่หลังจากเปิดประเทศ ตลาดมันก็เปิดมากขึ้น ปัญหามีทุกวัน การเล่าปัญหาไม่ได้ทำให้แก้ปัญหา จึงเล่าถึงโอกาสและจับโอกาสดีกว่า 

วิภาสมองว่าปัจจุบัน การภักดีต่อแบรนด์ หรือ Brand Loyalty กับแบรนด์อาจไม่มีจริง มีคนเกิดทุกวัน มีคนต้องการสารอาหารทุกวัน ยุคนี้ต้องเรียนรู้ใหม่ สำหรับภาพรวมรายได้ตอนนี้คงสภาพเดิม แต่คิดว่าปลายปีนี้จะเติบโตขึ้นแน่นอน ธุรกิจยุคนี้ทุกคนเริ่มจากติดลบ คิดว่าปลายปีนี้เริ่มกลับมาทำรายได้ 3 เดือนแล้ว 

กลยุทธ์ธุรกิจที่กำลังมุ่งไปมี 3 เรื่อง ดังนี้

1) สร้างการเติบโตและเพิ่มการบริโภคภายในครัวเรือน

เราต้องการรักษาความเป็นที่ 1 ในการดูแลสุขภาพเด็กเล็กต่อไป ทั้งทั้งในแง่ปริมาณาการขายและคุณค่า เราเป็นผู้นำตลาดในเรื่องนม UHT เรามีโฟรโมสต์ โอมเก้า 369 สมาร์ท มีการพัฒนาสูตรให้เหมาะกับความต้องการของคนแต่ละช่วงวัยด้วยสูตร +1 สำหรับอายุ 1 ปีขึ้นไป สูตร +4 สำหรับ 4 ปีขึ้นไป

มีโฟร์โมสต์ มัลติเกรนที่เปิดตัวมาแล้ว ราคาเท่ากับตลาดทั่วไป แต่ยังไม่ได้เติบโตมากนัก เป็นช่วงเริ่มต้นเข้าสู่ตลาด ปัจจุบัน คนในวัยที่โตขึ้นก็ไม่ค่อยทานนมวัวแต่ทานนมประเภทอื่น ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ก็มาช่วยตอบโจทย์ด้านนี้ได้

วิภาส ปวโรจน์กิจ
วิภาส ปวโรจน์กิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กับ Debic Whipped Dairy Cream

2) เร่งเครื่องมากกว่าขายเฉยๆ สิ่งเหล่านี้จะไม่คุ้นเคยนักเพราะเป็น B2B 

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า โปรเฟสชันแนล คือตลาด Food Service ไทยมีอยู่แล้วประมาณหนึ่งแต่ทางทีม Global ก็มาเน้นที่สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เป็นพาร์ทหนึ่งของกลยุทธ์บริษัท ซึ่งวิธีในการเข้าถึงตลาด B2B เราก็บอกลูกค้าในช่องทางที่คุ้นเคย ซึ่งมีวิธีเข้าแตกต่างกันคือเข้า R&D (ทีมพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์) และเชฟ ไม่ได้เข้าไปขายของโดยตรง แต่ต้องเข้าไปขาย Solution เพื่อแก้ปัญหาให้ ต้องทำให้ของผ่านก่อน ค่อยเคลียร์ราคาทีหลัง สำหรับในไทยก็ยังไม่มีประสบการณ์ในตลาด B2B ด้านนี้มากนัก

ตลาด Food Service ในเมืองไทยค่อนข้างใหญ่ Food Service ที่ว่า หมายถึงประเภทร้านอาหาร คาเฟ่ที่กำลังเติบโตอย่างมาก กาแฟเย็นในไทยมีไม่กี่ประเภทที่ใส่นมข้นหวาน ข้นจืด เช่น ชาไข่มุก เจ้าที่ราคาแพงจะมีครีมด้านบน เป็น Secret Recipe ทำให้รสชาติในสาขายังไม่ได้มาตรฐาน สมมติถ้าเรามีเครื่องเติมให้อัตโนมัติ ได้สัดส่วนที่เป๊ะตามที่กำหนดไว้ เราก็จะเข้าไปช่วยเพื่อตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ 

3) เน้นด้านดิจิทัลและ e-commerce หรือนำความรู้ในเรื่องการเก็บข้อมูลมาใช้ประโยชน์  

ทางฟรีสแลนด์คัมพิน่าพยายามจะพัฒนาช่องทางต่างๆ ของแบรนด์ทั้งสื่อโซเชียล เว็บไซต์ ทำ e-commerce site ทำระบบ home delivery เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว และยังร่วมมือกับ e-commerce platform อื่นๆ ด้วยเพื่อช่องทางความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคและลูกค้า มีการใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลออนไลน์มากขึ้น

บริษัทฟรีสแลนด์คัมพิน่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ในไทยมากว่า 65 ปีแล้ว ดร. โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์เล่าว่า ชื่อแรกที่ใช้คือพระนครมิลค์ ถือโฉนดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว หลายคนอาจเข้าใจว่า อสค. หรือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยหรือหนองโพเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับนมแห่งแรกของไทย แต่เอาเข้าจริงแล้ว ฟรีสแลนด์คัมพิน่าเป็นเจ้าแรกของไทย ขณะที่บริษัทแม่ที่เนเธอร์แลนด์ก่อตั้งมาอย่างยาวนานราว 151 ปีแล้ว

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า
เมนู Afternoon tea ที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากฟรีสแลนด์คัมพิน่า

ภาพด้านบนนี้คือเมนูตัวอย่างที่เชฟของฟรีสแลนด์ คัมพินา โปรเฟชชันแนลทดลองทำเพื่อนำไปสู่การเสนอขายลูกค้าแบบ B2B (จากซ้าย) ทาร์ตผลไม้ ตัวนี้ใช้นมจากฟอลคอลเป็นตัวประกอบด้วย, ราสเบอร์รีและดาร์คชอคโกแลตมูส ตัวนี้ใช้วิปปิครีมเป็นตัวหลัก

ตามด้วย Financier หรือฟินองซิเย ใช้พิตาชิโอ โดยใช้เนยที่ทางฟรีสแลนด์คัมพิน่ากำลังจะนำเข้ามา มีไซรัปในหลอดประดับ ขณะทานให้บีบน้ำไซรัปจากหลอดเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ขนมมากขึ้น ทำให้วิธีการกินสนุกมากขึ้น, Mango Tart ใช้ทาร์ตหวานเป็นภาชนะ ตามด้วยวิปปิงครีมประดับบนทาร์ตและใช้มาร์มาเลดมะม่วงหรือแยมมะม่วง

Friesland Compina

(ซ้าย) วิปปิงครีมทาร์ตเบคอน เอาเบคอนมาผัดกับผักสามสีและใส่วิปปิงครีมเพิ่ม ประดับด้วยไข่ปลาคาร์เวีย, โทสพาร์มาแฮม ใช้ครีมชีสตีกับวิปปิงครีมเดบิค (Debic) ใส่ทรัฟเฟิลเพิ่ม ทำให้รสชาติเข้มข้นขึ้น ประดับด้วยต้นอ่อนทานตะวันเพื่อเพิ่มความสดชื่น

เมื่อพูดถึงความเปลี่ยนแปลงในตลาดไทย พบว่าในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ร้านกาแฟเติบโตอย่างมาก ตลาดเติบโต ทางบริษัทก็เริ่มมีเชฟมาทดลองสูตร ทดลองชงช่วงปลายปี 2020 เชฟเน้นทำ Bakery Pastry เป็นหลัก ซึ่งบริษัทก็เพิ่งเปิดตัวเดบิคเมื่อเมษายนปี 2021 และเมนูจาก 2 ภาพด้านบนก็คือตัวอย่างเมนูขนมสำหรับทดลองสูตร

เดบิคมาจากเบลเยียม อยู่ในราคาที่สู้ได้ บริษัทพยายามแนะนำให้คนไทยได้รู้จัก เป็นโรงงานที่เป็นญาติกับเรา ปีนี้คาดว่าจะเติบโต 200-300% น่าจะได้เห็นในซุปเปอร์มาร์เก็ต มีแบบสเปรย์กระป๋องถือเป็นเจ้าแรกของโลกที่ผลิตแบบนี้ ซึ่งถือเป็นแบรนด์แรกที่ทำวิปครีมกระป๋องและทำมานาน 100 ปีแล้ว

เดบิค Debic
นี่คือเดบิค วิปปิงครีมที่เป็นกระป๋องสเปรย์เจ้าแรกของโลก ผลิตมานานถึง 100 ปีแล้ว คาดว่าจะเติบโตมากถึง 200-300%

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา