Conicle RE:DDay Virtual Event – A Journey to the Skillniverse: Exploring Power Skills for the Future-Ready Workforce

เป็นอีกหนึ่งงานอีเว้นท์สำคัญที่บริษัทโคนิเคิลจะร่วมกับเหล่าพันธมิตรมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อโลกของการเรียนรู้และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์กร โดยปีนี้ได้จัดงานขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ภายใต้ชื่องานที่เรียกว่า ​​A Journey to the Skillniverse: Exploring Power Skills for the Future-Ready Workforce

Conicle

Part I : Learning is Journey

เริ่มต้นงานด้วยการบรรยายจากคุณปูน นกรณ์ CEO บริษัทโคนิเคิล เล่าถึงวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากปี 2020 – 2021 ที่การเรียนรู้ภายในองค์กรเริ่มก้าวเข้าสู่รูปแบบที่เป็น Blended Learning มากยิ่งขึ้น การเรียนรู้ที่มีรูปแบบผสมผสานที่หลากหลาย และแสดงวิสัยทัศน์ต่อจากนี้ไปของโคนิเคิลที่จะไปสู่ Learning is Journey เมื่อการเรียนรู้คือการเดินทาง และการเดินทางคือการวิวัฒนาการ หากเปรียบเทียบแล้วการเรียนรู้ก็เหมือนกับการเดินทางสู่อวกาศ เป็นการที่เราจะสามารถก้างไปสู่ดวงดาวดวงใหม่จักรวาล 

คุณปูนได้เล่าถึงผลสำรวจจากผู้บริหารองค์กร พบว่าผู้บริหาร 87% รับรู้ถึงการต้องปิดช่องโหว่ภายในองค์กรด้วยการเรียนรู้ แต่มีผู้บริหารไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่ทราบว่าจะต้องอย่างไร โดยคุณปูนได้นำเสนอแนวทางของการถอยหลัง 1 ก้าวเพื่อก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว ซึ่งคือการมองย้อนกลับเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการเรียนรู้ขององค์กร โดยเราจะค้นพบการเปลี่ยนแปลงซึ่งประกอบด้วยแนวคิด 4C 

  • Context of Learning – เรียนรู้แบบมีโครงสร้าง
  • Collaborative Learning – เรียนรู้ร่วมกัน
  • Content Curation by Data – พัฒนาการเรียนรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูล
  • Connection Through Technology – การเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยี

และการก้าวไปข้างหน้าต่อเนื่องด้วย 2D

  • Driver โดยฝ่าย HR จะต้องเป็นผู้นำทางและลงมาขับเคลื่อนการเรียนรู้
  • Direction คือทิศทางการเรียนรู้ต้องตรงกับทิศทางขององค์กร

Conicle

จากนั้นการเรียนรู้ก็จะถูกขับเคลื่อนด้วย 2 ส่วน ประการแรกการเรียนรู้จะขับเคลื่อนโดย 4 Key Driver ซึ่งประกอบด้วย

1) Technology Integration at Work เทคโนโลยีช่วยให้การทำงานดีขึ้น เราต้องค้นหาสิ่งที่เหมาะกับความต้องการของเรา

  • การเลือกและสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิตอลที่เหมาะสมกับตัวเรา
  • การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงาน ต้องเลือกความสัมพันธ์ที่ถูกต้องของคนกับเทคโนโลยี
  • Data จะมีความสำคัญ แต่เราต้องสามารถเรียนรู้วิธีที่จะได้มาอย่างมีประสิทธิภาพ

2) Business Complexity ความซับซ้อนที่กำลังเพิ่มมากขึ้น คู่แข่งทางธุรกิจเริ่มทับซ้อนและหลากหลาย

  • องค์กรต้องสามารถสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้าได้เสมอ ซึ่งองค์กรจะต้องเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือต้องสร้างความยั่งยืน
  • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบโมเดลธุรกิจ หลากหลายองค์กรเปลี่ยน Pipe สู่ Platform องค์กรต้องหานิยามใหม่ ๆ ในการส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้า
  • ความยืดหยุ่นในชีวิต การเรียนรู้ และการทำงาน เพื่อนำไปสู่โอกาสที่มีอยู่มากมายมหาศาล 

3) Demographic Shift การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร 

  • การมีคนจากหลากหลาย Gen มาทำงานร่วมกัน ชีวิตการทำงานจาก Analog สู่ Digital ทำให้ความคิด ความเชื่อ และ Need ที่ต่างกัน
  • ความหลากหลายที่มากขึ้น จะทำให้เกิดการแตกออกของรูปแบบทางความคิดและการใช้ชีวิตที่หลากหลาย
  • การที่องค์กรสามารถดำเนินงานภายใต้การคิดร่วมกันอย่างฉลาด และสร้างสรรค์มากขึ้น

4) Healthy Work-Life ความสัมพันธ์ของ Work และ Life ที่ดีที่สุดคือ Healthy

  • การทำงานที่มีหลากหลายรูปแบบ
  • การทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น คนทำงานสามารถเลือกวิธีการทำงานของตนเองได้
  • ความปลอดภัยในเชิงของความคิดและไอเดีย ให้ทุก ๆ คนต้องได้รับความปลอดภัยทางจิตใจในการคิดและการออกไอเดีย

ประการที่สอง การก้าวเข้าสู่การเป็น Future Ready Workforce ด้วย Skillniverse ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • Core Skill แกนสำคัญของการพัฒนาบุคคลในองค์กร ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของ People และ Life เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย
    • การคิดแบบอนาคต
    • การค้นหาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ
    • แนวทางการทำงานกับคนที่หลากหลาย
    • การจัดการตนเองในโลกที่เปลี่ยนแปลง
  • Leadership Skill ต่อยอดจาก Core เป็นทักษะที่เน้นในด้านภาวะความเป็นผู้นำ ประกอบด้วย
    • สร้างทีมที่เดินหน้าตามวัตถุประสงค์ได้
    • นำทางทีมที่มีบุคลากรที่แตกต่างกันได้
    • สร้าง Output ของทีมที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้
  • Functional Skill ทักษะเฉพาะสายอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่มีความจำเป็นต่อการทำงาน เป็นสกิลที่จะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย

Conicle

Part II: Power Skill is Durable Skill ทีมงานจากบริษัทโคนิเคิลซึ่งประกอบด้วยคุณหมีและคุณแอร์จากทีม Academy ได้แนะนำเกี่ยวกับทักษะในยุคใหม่ว่าจะต้องมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และประกอบไปด้วยลักษณะต่อไปนี้

  • ต้องพัฒนาได้ สามารถถ่ายทอดได้ต่อไปได้
  • ส่งต่อไปได้ในสายงานที่แตกต่างกัน
  • สามารถที่วัดผลได้เสมอ

โดยมีการประมาณการอายุของ Skill ในแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • Perishable Skill จะอยู่ได้นานน้อยกว่า 2.5 ปี
  • Semi-Durable Skill จะอยู่ได้นาน 2.5 -7.5 ปี
  • Durable Skill จะอยู่ได้นานมากกว่า  7.5 ปี

Conicle

นอกจากนั้นยังมีแขกรับเชิญคนสำคัญคือ คุณบี อภิชาติ ขันธวิธิ Managing Director จาก QGEN Consultant และครูเปิ้ล สุดารัตน์ ศิริวรางกูร CEO จาก IDEO Empowerment มาร่วมแชร์ความคิดเกี่ยวกับ 4 Core Skill หลักสำคัญที่เป็น Durable Skill

ประเด็นที่หนึ่ง Management Self in Disrupt World ครูเปิ้ลได้ร่วมแชร์ว่า 

การไม่รู้จักทักษะการจัดการตนเองเพื่อรับมือการ Disrupt อาจทำให้เราต้องสูญเสีย Self-Direction หรือสูญเสียแนวทางของเราไป ดังนั้น สิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องมีคือ Self-Analysis Self-Awareness และ Self-Compassion คือต้องสามารถประเมิน วิเคราะห์การทำงาน และรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ประเด็นที่สอง Think like a Futurist คุณบีร่วมแชร์ว่า ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบตัวจะรวดเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราต้องเก่งเพื่อปัจจุบันและอนาคตต้องวางแผนการทำงานแบบ Agility มากขึ้น ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา และต้องนำ Data เข้ามาประกอบการตัดสินใจมากขึ้น

ประเด็นที่สาม Work with Diverse People ครูเปิ้ลแชร์ว่า เมื่อโลกเปลี่ยนเร็ว ทีมงานก็เปลี่ยนเร็วเช่นกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่หลากหลายจึงสำคัญมาก ในฐานะที่เราเป็นพนักงาน เราต้องพร้อมแปลงร่างและประกอบร่างอยู่ตลอดเวลา เราต้องสามารถจัดการ แก้ไข และป้องกันปัญหาให้ได้ เพื่อให้พร้อมติดต่อกับคนที่หลากหลาย และสามารถเข้าใจความคิดของเขาได้ แม้เขาจะไม่ได้พูดออกมา

ประเด็นที่สี่ Discover Possibilities in Business คุณบีร่วมแชร์ว่าต้องคิดให้มากยิ่งกว่าเดิม และแปลกใหม่กว่าเดิม กลับมามองดูว่าเป้าหลักองค์กรคืออะไร เติบโตอย่างเป็นตนเอง เติบโตอย่างถูกต้อง และมีความยิ่งยืน โดยไม่พาตนเองไปสู่ทางตัน โดยประเมินให้ได้ว่าการทำนายผลเพื่อวางกลยุทธ์นั้นเป็นสิ่งองค์กรเราสามารถทำได้ดีแค่ไหน และพัฒนาให้ทุกหน่วยงานในองค์กรจำเป็นต้องรู้

Conicle

ในมุมมองของการเริ่มต้นเพื่อพัฒนา Skill ของบุคลากรภายในองค์กร จากทั้ง 2 ท่าน คุณบีเชื่อว่า ต้องเริ่มต้นจากการสร้าง Self-Awareness ก่อน เพื่อให้รู้ว่าเรากำลังจะไปไหน เราเป็นใคร เรากำลังขาดเรื่องอะไร ส่วนของครูเปิ้ลคือ การต้องรู้เป้าหมายที่พิเศษของตัวเรา ต้องชัดเจน และสามารถนำไปผูกกับองค์กร ต้องอยู่กับความเป็นจริง รู้จักทางเลือกของตัวเราเอง ไม่ตามกระแส และรู้จักการพักผ่อน

จากนั้นทีมงานจากโคนิเคิลได้แนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือที่จะช่วยในการออกแบบการเรียนรู้สำหรับองค์กร ด้วย Conicle Learning Design Model ซึ่งเป็นโมเดลสำหรับสร้างการเรียนรู้ถายในองค์กร ที่รวมเอาแนวคิดจาก Design Thinking, Agile และ Lean มาสร้างเป็นกระบวนการการออกแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมด้วย Learning Design Canvas แผนภาพที่ใช้เป็นครื่องมือสำหรับออกแบบการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำหนด วัตถุประสงค์ การวัดผล ผู้สอน ผู้เรียน และแนวทางการส่งมอบความรู้ที่ชัดเจน

ปิดท้ายด้วยคุณปูนได้มาเสริมบทสรุปด้วย 5 Tactic ในการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ที่ประกอบไปด้วย

1) การสำรวจ 4 Key Driver ภายในองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเรรียนรู้

  • Technology Integration  at work
  • Business Complexity 
  • Demographic Shift 
  • Healthy Work-Life 

2) การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาบุคคลให้ตรงกับทิศทางการพัฒนาขององค์กร ซึ่งมีแนวทางที่หลากหลาย จึงต้องกระจายอย่างเหมาะสมในทุก ๆ ด้าน โดยจะประกอบไปด้วย 

  • Role-Base
  • Objective-Base
  • Corporate Strategy & Business Trend
  • User Interest

3) กำหนดหน้าตาขององค์กร ทั้งจาก Need & Goal โดยจะต้องกำหนดทั้งในระดับขององค์กร และระดับของบุคคล โดยสามารถที่จะประเมินจากผลลัพท์ได้ (ด้วย C.A.K.E)

  • Capability
  • Attitude
  • Knowledge
  • Experience

4) ต้องลำดับความสำคัญของทักษะที่จำเป็น ด้วย Skillniverse (โดยจะเน้นที่ Core Skill เป็นสำคัญ)

  • Core Skill
  • Leadership Skill
  • Functional Skill

5) ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการและเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปิด gap สำคัญที่มีอยู่ในภายองค์กร ด้วยเครื่องมือ

  • Conicle Learning Design Model
  • Learning Design Canvas

Conicle

Part III: Q&A

คำถาม : วัดผลยังไงจึงรู้ว่า Durable Skill ของพนักงานดีขึ้น?
คุณปูน : เราสามารถวัดผลได้โดยสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงจากการทำงาน

คำถาม : ถ้าองค์กรไม่มี Sense of Urgency ทำอย่างไรจึงจะมี?
คุณบี : พนักงานแต่ละคนอาจมองไม่เห็นความฉุกเฉินที่มีอยู่ ดังนั้นจะต้องใช้ Leadership ในการผลักดัน กระตุ้นให้ทีมเกิดความสนใจ เพราะอาจมีสาเหตุมาจากการทำไม่ได้หรือไม่มีความรู้ในการทำ

คำถาม : พนักงาน Burnout ต้องทำอย่างไรจึงจะพัฒนาได้
ครูเปิ้ล : ต้องรักษาการ Burnout ให้ได้เสียก่อน ช่วงนี้จะยังไม่สามารถพัฒนาได้ ต้องประเมินให้แน่ชัดก่อน และต้องรักษาไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง และทำให้องค์กรสูญเสียบุคลากรไป 

Conicle

ติดตามข่าวสารกับ Conicle ได้ที่
Facebook  : https://www.facebook.com/conicleinc
Line Official Account : https://lin.ee/ZaTYvtS
Website : https://conicle.com/
สนใจระบบ LMS Platform สำหรับองค์กร : 089-871-1005 หรือ contact@conicle.com
สนใจหลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไป : https://coniclex.com/

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา