CIMBT ส่งดอกเบี้ยสูง 2% เมื่อฝากเงินบาทคู่เงินดอลลาร์ แถมทริคลงทุนในภาวะผันผวน

หลายคนคงเคย ฝากเงิน ออมหุ้น หรือลงทุนแบบอื่น แต่เมื่อทั่วโลกเชื่อมกันมากขึ้น เราก็มีทางเลือกการลงทุน หรือออมมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น อย่างเงินฝากรูปแบบดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD)

นับจากซ้ายมือ คนที่ 2 คุณภูดินันท์ คนที่ 3 คุณอดิศร

อยากได้ดอกเบี้ยสูง 2% มาลองฝากเงินดอลลาร์กันดีกว่า

อดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บอกว่า ใครๆก็อยากลงทุน อยากได้ผลตอบแทนเพิ่ม แต่บางคนไม่อยากเสียเงินต้น เงินฝากในสกุลเงินต่างประเทศก็กลายเป็นอีกทางหนึ่งที่เพิ่มผลตอบแทนได้มากขึ้น

ล่าสุดธนาคารมีโปรแกรมเงินฝากประจำพิเศษเงินบาท คู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐ มี 2 แบบ ได้แก่ ฝากประจำ 12 เดือน ดอกเบี้ย 2% ต่อปี และฝากประจำ 6 เดือน ดอกเบี้ย 1.80% ต่อปี ทั้ง 2 แบบต้องฝากขั้นต่ำ 500,000 บาท ฝากได้สูงสุด 5 ล้านบาท ต่อสกุลเงิน ต่อลูกค้า 1 ราย (ยอดคงค้างสกุลเงินต่างประเทศ รวมทุกประเภทเงินฝาก สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อราย)

และยอดเงินฝากต่อรายการต้องเท่ากันทั้ง 2 บัญชี เช่น ฝากเงิน 1 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินบาท และดอลลาร์สหรัฐ อย่างละ 500,000 บาท ต้องทำรายการฝากในวันเดียวกัน รับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาฝาก เริ่มฝากได้ตั้งแต่ 1 ..-31 ..61

ภาพจาก shutterstock_

ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่เรา ประมาณครึ่งนึงเป็นเงินฝาก เราเลยหาผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่าย  และให้ดอกเบี้ยสูงเพื่อจูงใจลูกค้า อย่าง FCD เพื่อให้ลูกค้าซึมซับ เข้าใจและเริ่มเรียนรู้ ขณะเดียวกันเป็นการเตรียมความพร้อมให้ลูกค้าเปิดรับการลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แต่อยู่ในวงที่จำกัด เราส่งสัญญาณว่าต้องกระจายการลงทุน รวมถึงขยายมุมมองในการลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเราคือ ลูกค้า Prefered ของ CIMB THAI ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารของธนาคาร (AUM) ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เมื่อมี FCD ถือเป็นการเรียนรู้การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

ภาพจาก shutterstock_

FCD หรือบัญชีเงินฝากต่างประเทศมีข้อดีอย่างไง จะขาดทุนไหม?

ภูดินันท์ เศรษฐนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจบริหารเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บอกว่า การมีบัญชี FCD เหมาะกับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินในสกุลต่างประเทศ เช่น ซื้อคอนโดมิเนียม เตรียมเงินลงทุน ค่าเทอมลูก ฯลฯ เดิมจะใช้เมื่อไรก็แลกเมื่อนั้น แต่ตอนนี้ก็เหมือนลูกค้ามีกระเป๋าเงินต่างประเทศให้เลือกซื้อเงินมาเก็บไว้เมื่อไรก็ได้ ก็วางแผนการใช้เงินได้ง่ายขึ้น

ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินบาทต่ำที่สุดในภุมิภาคเอเชียแล้ว เลยเป็นเทรนให้คนสนใจการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น FCD จะเป็นก้าวแรกให้ลูกค้าเข้าใจและเรียนรู้ เรื่องความผันผวนความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้น

ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ ปัจจุบันลูกค้าหลายคนมักจะลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งถ้าเราจะแนะนำลูกค้าต้องเริ่มที่สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตร ต่อเนื่องไปถึงกรลงทุนตรงในหุ้น หรือซื้อกองทุนรวมด้วยตนเอง

ภาพจาก shutterstock_

ภาวะตลาดทั่วโลกหวั่นไหว เราจะลงทุนยังไงดี ?

ภูดินันท์ บอกว่า นวโน้มค่าเงินบาทที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็วมาก สาเหตุเพราะสงครามการค้า (Trade War) ดูเหมือนจะแย่ลงกว่าที่คิดไว้ แต่ละประเทศแข่งกันตั้งกำแพงภาษี ทำให้คนกังวลและลดความเสี่ยงในพอร์ทการลงทุน โดยหันไปกลับไปหาทรัพย์สินที่เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ระยะนี้ค่าเงินบาทน่าจะอยู่ที่ 33.50-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งในช่วงปลายปี  สงครามการค้าจะมีการประนีประนอมมากขึ้น (เพราะมีการเลือกตั้ง Mid Termในสหรัฐฯ สหรัฐฯน่าจะไม่ยื้อให้เกิด สงครามการค้า) ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียอาจกลับมาแข็งค่าขึ้น

เราแนะนำให้ลดการลงทุนในกลุ่มที่เสี่ยงลง 10-20% แต่ไม่ว่าจะเริ่มลงทุนอะไรใหม่ๆที่น่าจะได้ผลตอบแทน (Yiled) สูงขึ้น แต่เสี่ยงมากขึ้น เช่น หุ้นกู้อนุพันธ์ ( แบบอิงดอกเบี้ยYiled ประมาณ 3.5-4.5% อิงหุ้น Yiled ประมาณ10%) หุ้นต่างประเทศ ควรเริ่มลงทุนในสัดส่วน 1-5% ของพอร์ทเรา เพื่อเรียนรู้ทำความเข้าใจกับมันก่อน แล้วค่อยลงทุนเพิ่ม

ภาพจาก shutterstock_

ดุษณี เกลียวปฏินนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์การออม ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย บอกว่า วิธีการจัดพอร์ทลงทุนต้องดูที่เรื่องพื้นฐาน อย่างความเสี่ยงที่รับได้ (สูง-กลาง-ต่ำ) ระยะเวลาในการลงทุน ซึ่งเราแนะนำให้ลูกค้าลงทุนในหุ้นแบบระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนซึ่งมักเป็นระยะสั้น

ส่วนช่วงนี้ภาวะตลาดทุนทั่วโลกมีความผันผวนมาก แนะนำให้ลูกค้าหลบฝน และจับตามองไปก่อน (Wait&See) ที่สำคัญอาจต้องลดสัดส่วนการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงลง เช่น สัดส่วนลงทุนหุ้นไม่ควรเกิน 30% ของพอร์ทลงทุนปกติ แต่ยังเข้าซื้อหุ้นบางตัวที่พื้นฐานดี เช่น อุตสาหกรรม Consumer  ท่องเที่ยว ทว่าต้องดูให้ดี เพราะหลายตัวราคาตกลงมามาก ในขณะที่พื้นฐานยังดีอยู่

และเป็นจังหวะที่ดีที่จะเริ่มทยอยซื้อ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) วิธีการส่วนตัวที่เราแนะนำคือ ถ้าปีนี้ลูกค้าต้องซื้อ LTF หรือ RMF จำนวน 100,000 บาท ให้แบ่งเงิน 50% มาทยอยซื้อทุกเดือนในจำนวนเท่าๆกัน และอีก 50% มาจับช่วงเวลาที่คิดว่าถูกแล้วซื้อ (กองทุนรวมแนะนำพวก Set 50)

สรุป

CIMBT เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าฝากเงินได้ดอกเบี้ยสูง 2% ทั้งเงินบาท-ดอลลาร์สหรัฐ เริ่มต้น 500,000 บาท ส่วนเทรนลงทุนแนะนำ Wait&See หรือทยอยซื้อหุ้นเฉพาะตัวที่มีพื้นฐานดี เพราะช่วงนี้ราคาลงมาเยอะ แต่ถ้า LTF-RMF ทยอยซื้อทุเดือนได้แล้ว แต่ก่อนที่จะลงทุนในอะไรก็ตามต้องดูความต้องการตัวเองให้ดี

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา