จีนก็แย่เหมือนกัน คนตกงานในเมืองเพิ่มขึ้น ปลายปีอาจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

อัตราการว่างงานคนจีนในเมืองหลวง มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากในเดือนเมษายน ราว 6.0% เพิ่มจากเดือนมีนาคมอยู่ที่ 5.9% Liu Aihua โฆษกสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ระบุ ภาพรวมเศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัว เริ่มกลับมาทำงานดังเดิมหลังเจอผลกระทบโควิด-19

Liu พูดถึงผลสำรวจพบว่า ปลายเดือนเมษายนมีแรงงานย้ายถิ่น (migrant workers) ที่กลับมาทำงานในเมืองราว 90% ของปีที่ผ่านมา ขณะที่ต้นเดือนมีนาคม พบว่าแรงงานย้ายถิ่นจากครัวเรือนที่ยากจนที่สุดในประเทศมีราวครึ่งหนึ่งของปีที่ผ่านมา

Chinese President Xi Jinping gives a speech during the Tsinghua Universitys ceremony for Russian President Vladimir Putin, unseen, at Friendship Palace on April 26, 2019 in Beijing, China. (Photo by Kenzaburo Fukuhara – Pool/Getty Images)

มาตรการ Lockdown ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดความเคลื่อนไหว ส่งผลให้สหรัฐฯ มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงถึง 14.7% ในเดือนเมษายน ถือว่าเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่จีนนั้น การระบาดของโควิด-19 อยู่ในอัตราที่สูงมากถึง 6.2% โดยคนที่อยู่ช่วงวัย 25 ปี – 49 ปี ว่างงานมากสุดในรอบสามเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 5.5% ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ ต่อพนักงานหนึ่งคนลดลงในเดือนเมษายน ราว 30 นาที – 44.3 ชั่วโมง

Bruce Pang หัวหน้าด้านการวิจัยเชิงมหภาค แห่ง China Renaissance ระบุว่า เขาคิดว่าแรงกดดันด้านการจ้างงานจะยังมีอยู่ต่อไป ปัจจัยที่ทำให้มีการจ้างงานใหม่ๆ ในจำนวนน้อยเนื่องจากอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตช้าลง ความต้องการสำหรับการส่งออกในจีนก็อ่อนแรงลงด้วย ขณะที่คนจบการศึกษาในปีนี้ถือว่ามีจำนวนที่สูงมาก

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจะประสบปัญหาต่อไป ซึ่งจีนก็ยังต้องเผชิญปัญหาที่เป็นแรงกดดันเรื่องการจ้างงานต่อ ซึ่งช่วงไตรมาสแรกนี้มีบริษัทจดทะเบียนปิดไป 460,000 แห่ง แต่ก็มีบริษัทเปิดใหม่อยู่ที่ 3.2 ล้านแห่ง แต่ถ้าเทียบกับปีที่ผ่านมา ก็ถือว่าอยู่ในอัตราที่น้อยลงราว 29%

การระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการจำกัดการเดินทางของผู้คนทั้งในแง่ธุรกิจและในแง่ของคนหางานทำซึ่งต้องพยายามหาทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย ทั้งนี้ บริษัทในเครือ Alibaba นี้ มีคนสมัครเข้าทำงานตำแหน่งผู้จัดการสูงกว่า 1 ล้านคน สำหรับทำงานเพื่อให้ pick-up สินค้าได้และจัดให้มีทั่วจีนราว 30,000 แห่ง อยู่ทั่วเมืองจีนกว่า 100 จุด ถือเป็นจุดกระจายสินค้าขนาดเล็กที่ไว้จัดจำหน่ายในชุมชน ในโรงเรียน ในอพาร์ทเมนท์ เป็นต้น แผนการดังกล่าวของ Alibaba ทำให้ต้องเพิ่มจำนวนสถานี ตามรูปแบบบริการใหม่ๆ ที่ทำเพิ่มขึ้น

ภาพจาก Shutterstock

ทั้งนี้ ทางการจีนจะให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องการว่างงานเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐด้วย Larry Hu หัวหน้าด้านเศรษฐศาสตร์แห่ง Macuarie กล่าวว่า แรงกดดันจากการว่างงานก็จะเป็นเหตุผลหลักที่น่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้

ที่มา – CNBC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมือง ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสืบค้นข้อมูล ชอบทำคอนเทนต์