EU เตรียมถอดสิทธิประโยชน์ส่งออกสินค้าของกัมพูชา ล่าสุดขอให้จีนพร้อมสนับสนุนต่อ

สหภาพยุโรปเตรียมที่จะตัดสิทธิประโยชน์ทางการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปบางส่วน หลังจากที่กัมพูชามีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้ผู้นำกัมพูชาขอการสนบัสนุนจากจีนหลังจากนี้

Cambodia garment factory โรงงานกัมพูชา
อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาอาจได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ – ภาพจาก Shutterstock

สหภาพยุโรป (EU) เตรียมที่จะตัดสิทธิประโยชน์ทางการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปบางส่วน คาดว่าจะอยู่ในช่วงอาทิตย์ที่จะถึงนี้ หลังจากที่กัมพูชามีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาตลอดในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของการจำกัดเสรีภาพของผู้วิจารณ์รัฐบาลกัมพูชา การคุกคามสื่อสารมวลชน รวมไปถึงความพยายามจำกัดไม่ให้ฝ่ายค้านกัมพูชาแสดงความคิดเห็น เช่น จำคุก ฯลฯ

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะทำให้สินค้าส่งออกจากกัมพูชาหลายๆ ชนิดพบกับภาษีที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ที่เป็นอุตสาหกรรมส่งออกหลักของกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมา ในปี 2018 ที่ผ่านมา EU นำเข้าสินค้าจากกัมพูชาทั้งสิ้น 5,900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 185,000 ล้านบาท

สำหรับสิทธิประโยชน์ทางการส่งออกที่มอบให้กัมพูชานั้นอยู่ในเงื่อนไขที่สหภาพยุโรปมอบให้กับประเทศที่ยากจนและกำลังพัฒนาสามารถที่จะส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปโดยไม่โดนภาษีนำเข้าสินค้า ทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถพัฒนาประเทศได้ไวมากยิ่งขึ้น ซึ่งคล้ายๆ กับที่ไทยเคยได้ GSP ในอดีต

อุตสาหกรรมสิ่งทอในกัมพูชาที่ยังเติบโตได้ดีเนื่องจากมีค่าแรงที่ถูกเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้โรงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเหล่านี้ต่างย้ายไปในกัมพูชา โดยอุตสาหกรรมส่งออกเครื่องนุ่งห่มเหล่านี้คิดเป็น 1 ใน 3 ของ GDP ทั้งหมดของกัมพูชา

ถึงแม้ว่าสหภาพยุโรปจะเตรียมตัดตัดสิทธิประโยชน์ทางการส่งออก แต่ล่าสุดหนังสือพิมพ์ Khmer Times ได้อ้างอิงคำพูดจากที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ว่านายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ขอร้องให้จีนสนับสนุนอุตสาหกรรม
สิ่งทอในกัมพูชาต่อหลังจากโดนตัดสิทธิประโยชน์ นอกจากนี้ยังขอให้จีนเปิดตลาดสิ่งทอของกัมพูชาอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทั้ง 2 ประเทศได้ปรึกษาหารือเพื่อที่จะเตรียมทำเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างจีนและกัมพูชาด้วย

ที่มา – Yahoo News, News Strait Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ