ถ้าจีนเริ่มต้อนรับ Google เข้าประเทศ จุดยืนของทั้ง 2 ฝั่งจะเป็นอย่างไร ?

ใครที่เคยไปจีนคงรู้ว่า เว็บ หรือเทคโนโลยีจากต่างชาติที่เราคุ้นเคยอย่าง Facebook Youtube Google ฯลฯ ใช้ที่จีนไม่ได้ เพราะทางรัฐบาลไม่เปิดให้ใช้ แต่ตอนนี้เหมือนรัฐบาลจีนจะเริ่มเปิดทางให้ Google กลับไปให้บริการในจีน เพราะอะไรกัน?

ภาพจาก shutterstock

ลือทั่ว จีนเตรียมเปิดทาง Google ให้บริการในประเทศ

ข้อมูลจาก People’s Daily สื่อในจีนเมื่อวันจันทร์ (6 ส.ค.) ที่ผ่านมาระบุว่า คณะรัฐบาลของจีน เริ่มเปิดใจให้ Google ซึ่งอาจจะนำสู่บริการของ Google ในประเทศจีน แต่ภายในวันอังคาร (7 ส.ค.) ข่าวที่ว่านี้ก็ถูกเอาลงจากเว็บไซด์โดย the Chinese Communist Party mouthpiece’s Facebook page

นอกจากนั้นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คนสงสัยกันว่า Google จะได้กลับมาให้บริการในจีน เพราะว่ามีข่าวอีกเช่นกันว่า Google กลับมาศึกษาและพิจารณาเรื่องข้อจำกัดในการให้บริการระบบการหาข้อมูล (Search engine)ในจีน

ภาพจาก shutterstock

Google ตั้งมีศูนย์วิจัย AI ในปักกิ่งแล้ว

ต้องยอมรับว่าแม้ Google จะถอนตัวรื่องระบบการหาข้อมูล (Search engine) จากจีนไปเมื่อ 8 ปีก่อน แต่ตอนนี้ก็มีหลักฐานว่ายังมีความสัมพันธ์อันดีกับจีนอยู่ เพราะ ปัจจุบันสามารถจัดตั้งศูนย์วิจัยด้าน AI (artificial intelligence) ตั้งอยู่ในปังกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวงของจีน

ในขณะที่ Facebook ที่นอกจากปัจจุบันจะไม่สามารถใช้งานได้ในจีน ยังไม่สามารถตั้งศูนย์นวัตกรรมในจีนได้ แม้จะมีการขออนุญาตไปที่ภาครัฐแต่คำขอก็ถูกเพิกถอนไปแล้ว

ภาพจาก shutterstock

ทำไมครั้งก่อน Google ถึงถอนตัวออกจากจีน ?

เมื่อปี 2010 Google ดึงระบบ search engine เพราะมีข้อร้องเรียนจากรัฐบาลว่าละเมิดเงื่อนไขของทางรัฐบาล ซึ่งการถอนตัวครั้งนั้นจนถึงตอนนี้ก็ผ่านไป 8 ปี ถือว่า Google พลาดโอกาสทองในการทำธุรกิจไปเยอะเช่นกัน

เนื่องจากจีน เป็นประเทศที่มีอัตราการใช้มือถือ และอินเตอร์เน็ตสูงที่สุดในโลก ซึ่งจีนถือว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนเทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI  ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

สรุป

แม้ว่าประเทศใหญอย่างจีน เลือกที่จะสร้างของคล้ายๆ กับบริการที่ได้รับความนิยมในโลก (เช่น Facebook Youtube ฯลฯ) แต่ในการแข่งขันปัจจุบัน แค่ธุรกิจที่อยู่ไม่ประเทศอาจจะไม่สามารถโตได้เต็มที่ ต้องมีการเรียนรู้จากองค์กรภายนอกที่มีประสบการณ์ตรงเรื่องนี้อย่าง Google

ที่มา Nikkei Asian Review

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา