จีนห่วง คนรุ่นใหม่ไม่สนใจแต่งงาน: อัตราประชากรลด เสี่ยงขาดแคลนแรงงานระยะยาว

จีนพยายามลดต้นทุนการแต่งงานให้ต่ำลงและหันมาส่งเสริมให้มีอัตราการเกิดเพิ่มมากขึ้น นโยบายของจีนในการพยายามส่งเสริมให้มีการแต่งงานและการเกิดมากขึ้นนี้ก็เพื่อรับมือกับสังคมสูงวัยที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จีนกำลังเผชิญกับวิกฤตประชากรอย่างหนักและมันยังส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนด้วย เนื่องจากอัตราประชากรลดลง จำนวนแรงงานก็ลดลงตามไปด้วย

wedding แต่งงาน

ผลสำรวจสัมมะโนประชากรของจีนในปีนี้แสดงให้เห็นว่าอัตราประชากรมีระดับการเพิ่มจำนวนที่ช้าที่สุดในรอบทศวรรษ ด้านกระทรวงกิจการพลเรือนก็เปิดเผยว่า การแต่งงานที่ลดลงจะส่งผลต่ออัตราการเกิดและระดับพัฒนาการของเศรษฐกิจและสังคม จีนหวังว่าจะสร้างบรรยากาศที่ทำให้ผู้คนแต่งงานกันมากขึ้น แต่จำนวนการแต่งงานลดลงเป็นมา 8 ปีติดต่อกันแล้ว ไตรมาสแรกของปี 2021 ก็มีการแต่งงานเพียง 5.9 ล้านคน

ทั้งนี้ ผลการศึกษาจาก Jiaotong University ระบุว่า พบข้อมูลจากห้าจังหวัดในชนบทที่มีค่าเฉลี่ยของสินสอดสำหรับเจ้าสาวมีตั้งแต่เงินสดไปจนถึงที่อยู่อาศัยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นราว 50-100% อย่างน้อยราว 3 แสนหยวนหรือประมาณ 4.7 หมื่นเหรียญสหรัฐหรือราว 1.57 ล้านบาทในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา หรือเรียกว่าเป็นมูลค่าที่มากกว่ารายได้ครัวเรือนรายปีถึง 6 เท่า เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์มันแย่ลง อีกทั้งเมื่อดูในพื้นที่ทดลองที่มีการประกาศใช้นโยบายใหม่ พบว่าราคาสำหรับของขวัญหมั้นหญิงสาวมีราคาเพิ่มขึ้นจากปกติอยู่ที่ 1 แสนหยวน เพิ่มขึ้นจากเดิมมา 3 หมื่นหยวน

ความท้าทายสำหรับประเทศที่มีจำนวนของเพศไม่สมดุลอย่างจีน ที่มีจำนวนคนที่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากผลกระทบที่มาจากการดำเนินนโยบายลูกคนเดียวมาอย่างยาวนาน ทำให้ผู้ชายจำนวนมากในจีนยังครองสถานะโสดต่อไป แม้จะมีการปรับนโยบายลูกคนเดียวแล้วก็ไม่ได้ทำให้จำนวนของเพศชายและเพศหญิงสมดุลได้ในระยะเวลาอันสั้น มีการรายงานพบว่าเพศชายที่โสด อายุ 25-34 ปี มีราว 2.2 ล้านคน ขณะที่ผู้หญิงโสดในวัยเดียวกันมีเพียง 1.2 ล้านคน อีกทั้งผู้หญิงชาวจีนก็เลือกที่จะครองสถานะโสดมากกว่าเลือกที่จะแต่งงาน

แต่งงาน marry
ภาพจาก Shutterstock

ผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคมพบว่าคนหนุ่มสาวในเมืองชนบททางตะวันออกของจีน มีผู้หญิงราว 60% ที่คิดว่าการแต่งงานยังเป็นเรื่องจำเป็น ขณะที่ผู้ชายคิดว่าการแต่งงานเป็นเรื่องจำเป็นมากกว่าอยู่ที่ 82% จากผลสำรวจในหลายภูมิภาคและผลสำรวจแห่งชาติก็พบว่า ในปี 2010 มีผู้หญิงกว่า 80% มองว่าเรื่องแต่งงานเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่ผู้ชายมองว่าเป็นเรื่องจำเป็นราว 85%

เมื่อมีการสัมภาษณ์ผู้ชายวัย 35 ปีในพื้นที่ Ningling ที่มีการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับการแต่งงานใหม่ ก็แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเขาจะแต่งงานเขาจะฟังเสียงความต้องการจากตัวเอง ไม่ใช่ฟังจากรัฐบาลว่าควรจะต้องแต่งงานหรือไม่ แต่งงานเมื่อไร เขามองว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายไม่ได้ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยน

ที่มา – FT

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา