ชิมช้อปใช้ 10 วันแรก 10 ล้านราย ไม่ผ่านเกณฑ์วันละ 2 แสนราย จะให้ลงทะเบียนจนกว่าจะครบ!

ลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเผย มาตรการ “ชิมช้อปใช้” ในช่วง 10 วันแรก มีผู้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เต็มตามโควตา 1 ล้านรายทุกวัน แต่มีผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านวันละประมาณ 2 แสนราย ดังนั้น ระบบจะเปิดให้ลงทะเบียนต่อเนื่องจนกว่าจะครบ 10 ล้านราย 

การตรวจสอบสิทธิ์ผู้ลงทะเบียน 7 วันแรกสิ้นสุดแล้ว มีผู้ได้รับสิทธิ์ 5,538,368 ราย 

  • ผู้ลงทะเบียน 6 วันแรกได้รับ SMS ยืนยันสิทธิ์แล้วจำนวน 4,723,592 ราย 
  • อีก 814,776 รายจะได้รับภายในวันนี้ (2 ตุลาคมที่ผ่านมา)

ทั้งนี้ มีผู้เข้ายืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว 3,902,443 ราย 

  • ยืนยันตัวตนสำเร็จ 2,719,267 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอปพลิเคชัน 821,149 ราย 

ในการใช้จ่าย 5 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 706,450 ราย ใช้จ่ายรวมประมาณ 628 ล้านบาท

  • ใช้จ่ายผ่าน g-Wallet ช่อง 1 (คือรับเงินสนับสนุน 1,000 บาท) ประมาณ 621 ล้านบาท
  • ใช้จ่ายผ่านร้าน “ช้อป” ร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน ร้านธงฟ้าประชารัฐกว่า 50% ประมาณ 330 ล้านบาท 
  • ใช้จ่ายผ่านร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่ม มียอดค่าใช้จ่ายประมาณ 98 ล้านบาท

  • ใช้จ่ายผ่านร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ ฯลฯ ยอดค่าใช้จ่ายประมาณ  10 ล้านบาท 
  • ร้านค้าทั่วไป มียอดใช้จ่ายประมาณ 183 ล้านบาท 
  • ร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาประมาณ 142 ล้านบาท หรือ 22% จากค่าใช้จ่ายทั้งหมด

  • ใช้จ่ายผ่าน g-Wallet ช่อง 2 (รับเงินคืน 15% ของยอดจ่ายจริง รับสูงสุด 4,500 บาท วงเงินใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน) มีผู้ใช้สิทธิ์แล้วจำนว 2,962 ราย มียอดค่าใช้จ่ายประมาณ 7.5 ล้านบาท เฉลี่ยรายละ 2,532 บาท ใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ประมาณ 5 ล้านบาท ร้าน “ชิม” และร้าน “ใช้” ประมาณ 1 ล้านบาท

มีประมาณการใช้จ่าย พบว่า จังหวัดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด 10 อันดับแรก ดังนี้

  1. กรุงเทพฯ 87 ล้านบาท 
  2. ชลบุรี 48 ล้านบาท 
  3. สมุทรปราการ 29 ล้านบาท 
  4. ระยอง 20 ล้านบาท 
  5. ปทุมธานี 20 ล้านบาท 
  6. พระนครศรีอยุธยา 19 ล้านบาท 
  7. ลำพูน 18 ล้านบาท 
  8. เชียงใหม่ 17 ล้านบาท 
  9. นครปฐม 17 ล้านบาท 
  10. นนทบุรี 15 ล้านบาท 

กลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด

  • อยู่ในช่วงอายุ 22 – 30 ปี ประมาณ 35% 
  • รองลงมาคือช่วงอายุ 31-40 ปีประมาณ 30%

กระทรวงการคลังชี้แจงเรื่องปัญหาการยืนยันตัวตน (ที่เรามักจะเห็นคนแสดงความคิดเห็นกันอย่างหนาแน่น กรณีที่ยืนยันตัวตนเท่าไรก็ไม่สามารถทำได้ จนต้องทำหน้าแบบเดียวกับที่ถ่ายภาพตามบัตรประชาชนนั้น) ก.คลังชี้แจงว่า ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับแสงที่สว่างมากเกินไปหรือผิดตำแหน่งขณะถ่ายรูป 

ถ่ายรูปผ่านแอปพลิเคชันตกแต่งภาพ ทำให้ภาพไม่เหมือนจริง ซึ่งธนาคารกรุงไทยได้ติดตามให้คำแนะนำไปแล้วกว่า 5,000 รายที่ยืนยันตัวตนไม่สำเร็จ ขณะนี้ ธนาคารกรุงไทยอยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบการยืนยันตัวตนให้เร็วขึ้น คาดว่าจะใช้เวลา  1-2  วัน

ที่มา – แถลงข่าวความคืบหน้ามาตรการชิม ช้อป ใช้ข่าวกระทรวงการคลัง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา