ผบห.ช่อง 3 เผยช่องทีวีดิจิตอลอาจลดลง หันไปจับธุรกิจเพลง-ขายลิขสิทธิ์ละครให้ตปท.

ผบห.ช่อง 3 เผยช่องทีวีดิจิตอลอาจลดลง  หันไปจับธุรกิจเพลง-ขายลิขสิทธิ์ละครให้ตปท. ส่วนรายได้รายการข่าวเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน

ในโลกของธุรกิจสื่อโทรทัศน์นับได้ว่า ช่อง 3 เองก็เป็นเจ้าใหญ่ในด้านนี้ ครองเรทติ้งในทุกหัวมุมเมืองทั้ง กรุงเทพ เเละปริมณฑลมาตลอด เเม้ว่าช่วงหนึ่งของการประมูลทีวีดิจิตอลช่อง 3 จะขาดทุนจนต้องปิดช่องไป จากการประเมินที่ผิดพลาด เเต่ไม่นานช่อง 3 ก็กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยรายการข่าว อย่างเรื่องเล่าเช้านี้ ที่ได้มือเล่าข่าวอย่าง สรยุทธ สุทัศนะจินดา มานั่งเล่าข่าวในทุกเช้าของทุวัน เเละรายการโหนกระเเสที่ไม่ว่าจะเชิญเเขกรับเชิญคนไหนมาก็สร้างปรากฏการณ์ได้ทุกช่วง

Brand Inside มีโอกาสสัมภาษณ์กับคุณ คุณสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์  กรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจโทรทัศน์  ในเรื่องของการเติบโตของธุรกิจทีวีช่อง 3  เป้าหมายธุรกิจในอนาคต เเละ สถานการณ์ทีวีดิจิตอล

สถานการณ์โควิด ทำรายได้จากละครลดลง รายได้จากรายการข่าวเพิ่มขึ้น 

ที่ผ่านละครของเราได้รับผลกระทบอย่างมาก เเละเเผนงานต่างๆไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ เนื่องจากไม่สามารถออกกองไปถ่ายทำละครได้ ด้วยการระบาดของโควิด เราจึงจำเป็นที่จะต้องนำละครมารีรัน ทำให้รายได้ที่มาจากละครไม่ได้เพิ่มขึ้น สวนทางกับรายการข่าวในช่องที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์โรคระบาดที่คลี่คลายลง เราก็สามารถถ่ายทำละครใหม่ๆได้เเล้ว จึงเป็นสัญญาณที่ดี 

รายได้หลักมาจากละคร รองลงมาคือข่าว 

คุณสุรินทร์ เปิดเผยว่า รายการข่าวของเรากลับมาได้รับความนิยมจากประชาชนอีกครั้ง ไม่ว่จะเป็นเรื่องเล่าเช้านี้ เเละรายการโหนกระเเส ทำให้เรทติ้งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ช่วงเวลาขายโฆษณามีมากเเละทำราคาขายโฆษณาได้ดี 

ขณะที่รายได้รวมทั้งจากโฆษณา การเช่าพื้นที่ขายโฆษณาของผลิตภัณฑ์ต่างๆ รายได้หลักยังคงมาจากละคร 55% ส่วนรายได้จากข่าว 30% นอกนั้นเป็นรายได้จากส่วนอื่นๆอีก 25% 

ส่วนรายได้ของทีวีรวมทั้งหมด 88% อีก 12% มาจากเเพลต์ฟอร์มอื่น  

จับธุรกิจด้านพลง ผลิตละครขายลิขสิทธิ์ 

ต้องยอมรับว่าผู้ชมในบ้านเรา มีพฤติกรรมในการรับชมสื่อต่างๆเปลี่ยนไป คนดูละครก็เปลี่ยนไป เราจึงคิดว่าเรามีนักเเสดงที่สามารถร้องเพลงไ้ด้ ประกอบกับเรามีบริษัททำเพลง แชนเดอเลียร์มิวสิก (Chandelier Music) ซึ่งเป็นค่ายเพลงของไทยในเครือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2556 ซึ่งสามารถทำเพลงประกอบละคร เเละยังขายลิขสิทธิ์ได้อีกด้วย 

เป็นธุรกิจ Music Business ของเราที่ได้ผลตอบรับดี อย่างละคร บุพเพสันนิวาส เราไม่คิดมาก่อนว่าละครจะได้รับความสนใจ จนเป็นที่พูดถึง พอละครได้รับความสนใจ เพลงประกอบละครก็ได้รับความนิยมตามมา ก็มีคนมาซื้อลิขสิทธิ์เพลงเราเพื่อนำไปร้อง Cover ต่างๆ 

ซึ่งในปีหน้าคิดว่าสถานการณ์การระบาดโควิด19 น่าจะดีขึ้นกว่านี้ จึงวางเเผนที่จะให้มีคอนเสิร์ตช่อง 3 สัญจร จัดกิจกรรมมีทเเอนด์กรี๊ดระหว่างดาราเเละเเฟนคลับ เหมือนที่เคยจัดมาก่อนหน้านี้ 

หันมาจับธุรกิจผลิต Content ขายให้ต่างประเทศ 

เราอยากให้ธุรกิจของเราเป็นมากกว่า Television Company คือ เป็นผู้ผลิต Content ละคร ผลิตรายการวาไรตี้ ขายลิขสิทธิ์ให้ต่างประเทศ เราตั้งเป้าไว้ว่า อยากบุกตลาดเมืองจีน หรือเเถบประเทศเพื่อนบ้านของเรา เราไม่สามารถทำละครเเนวเดิมได้ เราต้องมองตลาดโลก 

มองว่าการทำละครในปัจจุบัน ต้องคำนึงถึงว่าเราจะนำละครเรื่องนั้นๆไปต่อยอดทางธุรกิจได้อย่างไร เเต่ใช่ว่าเราจะทำละครขายประเทศ 100% ก็ไม่ใช่ บางเรื่องเราก็ยังผลิตตอบสนองคนดูในเมืองไทยด้วย ซึ่งกระบวนการนี้ต้องคิดเเละวางเเผนมาตั้งเเต่ก่อนเริ่มผลิตละคร 

ซึ่งจะทำละครขายในประเทศหรือจะขายต่างประเทศ ต้นทุนการผลิตถูกคิดรวมไปเเล้วตั้งเเต่ก่อนเริ่มผลิต เพราะฉะนั้น หากนำละครไปขายต่างประเทศขายได้เท่าไร ก็กำไรเท่านั้น มองว่าเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจ 

ฉายละครใน Streaming ต่างๆ 

หลังจากที่นำละครลงใน Streaming Netflix ผลตอบรับก็ถือว่าดี เห็นได้จากละครที่ติด Top ในประเทศเเละต่างประเทศ ซึ่งก็ยอมรับว่ามันสวนทางกับเรทติ้งของทีวี เเต่ก็เป็นเเนวทางที่เห็นได้ว่าต่างประเทศก็มาดูละครของเรา 

การวัดเรทติ้งรูปเเบบใหม่ส่งผลต่อรายได้

ตราบใดที่เรทติ้งยังเป็นตัวขึ้นลง ก็ส่งผลต่อการปรับราคาขายโฆษณา รายการในกลุ่มข่าวยังเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมของช่อง เรทราคาต่างๆเราสามารถควบคุมให้สูง หรือ ต่ำได้ ตามเรทติ้ง เพราะฉะนั้นเรายังให้ความสำคัญกับทั้งรายการข่าวเเละละคร 

ยกตัวอย่าง รายการโหนกระเเส มีช่วงโฆษณาเข้ามามากขึ้นกว่าเดิม ปรับช่วงเวลาให้นานกว่าเดิมได้ เพราะรายการขายได้ คนดูชอบ 

มีนักวิเคราะห์มองว่า ช่อง 3 ได้เปรียบหากในอนาคตมีการวัดเรทติ้งแบบ Cross-Platform Ratings ส่วนตัวผมก็คิดว่า เราต้องพัฒนาเรื่อง Streamimg ขึ้นเพื่อตอบสนองฐานคนดูของเราทั้งในเเละต่างประเทศ

3 plus application

ทิศทางคนดูทีวีเปลี่ยนไป เดิมที Content ต่างๆไปลงใน platform ที่อื่น เเต่ปัจจุบันเราก็สร้าง 3 plus application ซึ่งเป็น feature ที่สำคัญของเรา บนสื่อออนไลน์ เป็น Business Model ที่เราสร้างเเละพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนดูละคร เเฟนรายการข่าว เราอยากทำ Original Content ในรูปแบบของการสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก เพื่อได้รับชมคอนเสิร์ตเเบบ Private กับศิลปินที่ชื่อชอบ ดาราที่ตัวเองเป็นเเฟนคลับ หรือทำละครในเเบบที่ ทีวีออกอากาศไม่ได้ เเต่สามารถออนเเอร์ในออนไลน์ได้ ซึ่งวางเเผนว่าการสมัครสมาชิกจะไม่จำกัดอยู่เเค่ในประเทศไทย ต่างชาติก็สามารถสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกได้เช่นกัน  เเต่ขณะนี้ด้วยทรัพยากรของเราที่มีจำกัดจึงยังไม่สามารถทำได้ในตอนนี้ เเต่อนาคตเราวางเป้าไว้ว่าสิ่งเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นให้ได้  

ข้อมูลฐานสมาชิกของเราตอนนี้ 10.6 ล้านคน มีคนเข้ามาชมประมาณ 5.5 ล้านคน ส่วนคนที่สมัครสมาชิกแบบเสียเงิน ยังต่ำกว่าเเสนคน

สถานการณ์ทีวีดิจิตอล

เมื่อถามถึงประเด็นสถานการณ์ทีวีดิจิตอลในบ้านเรา คุณสุรินทร์ มองอย่างไร ในฐานะที่เคยอยู่ช่องใหญ่ เเล้วไปนั่งบริหารช่องย่านถนนวิภาวดี ก่อนกลับมารับตำแหน่งที่ช่องเดิมอีกครั้ง คุณสุรินทร์ อมยิ้มก่อนตอบว่า ทีวีดิจิตอลในบ้านเรา อาจมีบางเจ้าต้องบอกลา เนื่องจากช่องทีวีในบ้านเรามีมากเกินไป ถึง 15 ช่อง คนไม่ดูรายการทีวีถึง 15 เค้กก้อนเดิมเเต่จำนวนในการเเบ่งสัดส่วนมากขึ้น ธุรกิจไม่มีกำไร เเละคนจะเลือกดูรายการที่ตัวเองชอบ ในต่างประเทศช่องรายการก็ไม่ได้มากอย่างบ้านเรา 

เมื่อถามว่า เเล้วมีจำนวนกี่ช่องถึงจะเหมาะสม คุณสุรินทร์ บอกว่า ก็ควรกลับไปเท่าเดิม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา