ห้างสรรพสินค้า Central อายุครบ 70 ปี ได้เวลา rebrand ทำ Omnichannel ก้าวสู่ World Class

ธุรกิจในเครือ Central Group ทั้งหมดได้แยกย่อยออกเป็น 9 ธุรกิจ หนึ่งในพระเอกที่มีอายุครบ 70 ปี คือ ห้างสรรพสินค้า Central หรือ CDG (Cental Department store Group) ซึ่งทำรายได้ 130,000 ล้านบาทในปีนี้ แต่จะเป็นเพียงห้างขายของแบบเดิมๆ ไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นการ rebrand ครั้งนี้ จะอยู่บนแนวคิดทำให้ Central กลายเป็นบ้านหลังที่ 2

Central ต้อง Transform ตัวเองใหม่รับการเปลี่ยนแปลง

ยุวดี จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า ของ Central Group บอกว่า สิ่งที่ Central ได้ลงมือทำมาตลอดช่วงที่ผ่านมาคือ การ Transform ตัวเองจากห้างสรรพสินค้าขายของ ก้าวสู่การเป็น Lifestyle Center ให้ทุกคนในครอบครัวได้มาใช้ชีวิตเหมือนบ้านหลังที่ 2 ซึ่งอาจจะใช้เวลาอยู่ด้วยมากกว่าบ้านหลังที่ 1 ด้วย

ดังนั้นการออกแบบจะต้องมีชีวิตชีวามากขึ้น ตอบโจทย์การใช้ชีวิต มีสินค้าและบริการใหม่ๆ ทั้งหมดเรียกว่า การ rebrand เพื่อให้ทันสมัยมากขึ้น สิ่งที่จะเห็นได้ง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยน Logo ใหม่ จากตัวเขียนเป็น ตัวพิมพ์ที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

จากนั้นก็จะเป็นการ renovate ห้างเซ็นทรัลในหลายสาขา เช่น บางนา, ปิ่นเกล้า และกำลังทำที่พระราม 3 รวมถึงจะมีสาขาใหม่เปิดที่นครราชสีมา และภูเก็ต ทั้งหมดจะทยอดเกิดขึ้น อีกทั้งการเปิด Central.co.th โฉมใหม่ที่ดีกว่าเกิม

Omnichannel เป้าหมายของ เซ็นทรัล ผสานออนไลน์-ออฟไลน์

เรื่อง Omnichannel ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่เคยสัมผัสว่า จริงๆ แล้วการเชื่อมออนไลน์กับออฟไลน์เป็นอย่างไร ซึ่ง Central กำลังทำรูปแบบบริการเพื่อเชื่อมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ไม่ใช่ปัญหา จะเช็คสินค้าในห้างต่างสาขากัน ซื้อออนไลน์มานัดรับ หรือรอส่งที่บ้าน หรือจะซื้อออฟไลน์แล้วให้ไปส่ง ทำได้หมด

นอกจากเรื่องยอดขาย การทำตลาดแบบเจาะลึกด้วย Big Data จะเป็นอีกส่วนที่เกิดขึ้น ภายใต้แนวคิด สุด, ลึก, ส่วนตัว นั่นคือ ให้บริการได้สุดๆ ลงลึกในรายละเอียด และมีความเป็น Personalize หรือส่วนตัว ทั้งเรื่องเพศ อายุ และความสนใจ

แอปพลิเคชั่นใหม่ของ Central จะสามารถดาวน์โหลดได้ตั้งแต่วันนี้ (12 ก.ค.) เป็นต้นไปด้วย

ปัจจุบันยอดขายออนไลน์ของ Central ยังน้อยมากไม่ถึง 1% เป้าหมายคือเพิ่มให้ได้อย่างน้อย 5% ใน 3-5 ปี แต่สุดท้ายภาพรวมธุรกิจของ Central ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ต้องเติบโตขึ้น เช่นปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้กว่า 130,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 15% จากปีที่ผ่านมา แต่ต้องยอมรับว่ายังโตน้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้

เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้พรมแดน

ถ้านับธุรกิจในกลุ่ม CDG จะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย

Domestic มี เซ็นทรัล, เซ็นทรัลแอมบาสซี, เซน, โรบินสัน, มาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ และซูเปอร์สปอร์ต ตามมาด้วย

International Europe มีห้างสรรพสินค้าในยุโรป คือ LaRinascente, ILLUM, ALSTERHAUS, KaDeWe และ OBERPOLINGER

International Asia มี เซ็นทรัล อินโดนีเซีย

JV’s New Business มี ร้าน MUJI และ KOMONOYA

ธุรกิจในเครือของ CDG
ห้างสรรพสินค้า LUXURY ในหลากหลายประเทศ

ยุวดี บอกว่า ห้างสรรพสินค้า Central เป็นห้างแรกของคนไทยที่มีสาขาในต่างประเทศ โดยในยุโรป Central ได้ลงทุนซื้อกิจการและทำการ Renovate ปรับปรุงใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในห้างสรรพสินค้าในเมืองท่องเที่ยว หลายปีที่ผ่านมา รายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าหลังจากที่ปรับปรุงจนเสร็จและมีการเปิดอย่างเต็มตัว จะเห็นสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 50%

และเพื่อให้การใช้บริการห้างสรรพสินค้าในเครือเซ็นทรัลทั่วโลกมีความสะดวกบาย Central จึงพัฒนาแอปพลิเคชั่น AVDM หรือ AUX VILLES DU MONDE หรือ The Store of the City เป็นผู้ช่วย หรือ Concierge ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการช้อปปิ้งในห้าง ทั้งยุโรปและเอเชีย สามารถดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานได้เช่นกันทั้ง iOS และ Andriod

สัดส่วนรายได้ และการเติบโตของ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า Central ทั้งหมด

สรุป

ที่ผ่านมาการขยับในฝั่งออนไลน์ของห้างสรรพสินค้า Central ค่อนข้างช้า ด้วยการเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และการวางแนวทางด้านออนไลน์อาจยังไม่ชัดเจน การสร้าง Omnichannel ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง Journey ให้กับลูกค้าจึงยังไม่เกิดขึ้น ถ้าการครบรอบ 70 ปีและ rebrand พร้อม renovate หลายๆ ทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ขึ้นได้ รับรองว่า Central จะขยายความยิ่งใหญ่ไปได้อีกมหาศาล

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา