โจทย์ท้าทายสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด กรณีศึกษาจากสิงคโปร์ ที่ยังไปไม่ถึง

สิงคโปร์อาจได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความพยายามผลักดันสู่การเป็น Smart City เป็นฮับของ Tech Startup ชื่อดังทั้งหลาย แต่สิ่งหนึ่งที่สิงคโปร์ยังไม่ได้นำหน้ามากนัก คือการเป็นสังคมเงินสด หรือ Cashless Society โดยเฉพาะเมื่อเทียบประเทศจีน คำถามคือในเมื่อรัฐบาลก็สนับสนุน ประชาชนก็มีความสามารถปรับตัวกับสิ่งใหม่ อะไรทำให้สิงคโปร์ยังไปไม่ถึงจุดดังกล่าว

ตัวเลือกที่หลากหลาย และแต่ละระบบ “ไม่คุยกัน” ทำให้คนสิงคโปร์มีตัวเลือกจ่ายเงินเยอะมากจนสับสน

นักข่าวสิงคโปร์หลายคนได้ตั้งคำถามกับเรื่องนี้ และลองหาคำตอบ ก็ได้หลายมุมมองที่น่าสนใจ ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นกรณีศึกษาที่ดีสำหรับบ้านเรา ซึ่งมีความพยายามมุ่งสู่Cashless Society เช่นกัน

Rachael Boon จาก Strait Times บอกว่าผลสำรวจล่าสุด คนสิงคโปร์ 90% ยังเลือกใช้เงินสดเป็นช่องทางหลักในการจ่ายเงิน ซึ่งถือเป็นสิ่งท้าทาย Cashless อยู่แล้ว แต่มากกว่านั้นแพลตฟอร์มชำระเงินส่วนมาก ก็มีการชาร์จค่าธรรมเนียมในอัตราที่ร้านรายย่อยมองว่าสูง โดยบัตรเครดิตชาร์จ 3% เป็นมาตรฐาน ส่วน NETS แพลตฟอร์มกลางที่ธนาคารใหญ่ในสิงคโปร์ร่วมกันพัฒนา ก็ชาร์จ 1% ซึ่งสำหรับร้านค้ารายย่อย

ในเรื่องนี้ธนาคารหลายแห่งก็เริ่มโปรโมชันที่ให้ร้านค้าและผู้จ่ายเงิน สามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในช่วงนี้

ส่วน Derrick A Paulo จาก Channel News Asia มองว่า ผู้ให้บริการหลายรายพุ่งเป้าไปที่ศูนย์อาหาร (Hawker) เป็นจุดแรกในการสร้างการรับรู้ Cashless เพราะคนสิงคโปร์ล้วนใช้บริการ และหากทำสำเร็จที่นี่ ที่อื่นก็ไม่ยาก

อย่างไรก็ตามร้านอาหารหลายแห่งยังไม่ค่อยอยากใช้ระบบ Cashless มากนัก ร้านเครื่องดื่มแห่งหนึ่งบอกว่าบนระบบเงินสด เขาสามารถจบการขายได้ใน 30 วินาที แต่หากเป็น Cashless จะต้องเสียเวลาตรวจสอบหน้าจอของสองฝ่าย ซึ่งไม่ดีแน่ๆ โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนที่มีลูกค้าจำนวนมาก

ศูนย์อาหาร (Hawker) กลายเป็นหมุดหมายสำคัญของสถาบันการเงิน หากต้องการให้ Cashless เกิด

ในสิงคโปร์แพลตฟอร์มจ่ายเงิน Cashless ตอนนี้ก็มาหลายมาตรฐาน เรื่องนี้ยิ่งสร้างความยุ่งยากให้กับทั้งลูกค้าและร้านค้าด้วยเช่นกัน

สุดท้าย The Independent มองว่า หากสิงคโปร์ต้องการโปรโมต Cashless ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น วิธีการแบบจีน ก็คงต้องถูกนำมาใช้ ซึ่งมีหลายวิธีอาทิ

  • ให้สิทธิพิเศษในการนำเงินในบัญชี ที่ผูกกับ e-payment ไปลงทุนกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่ผลตอบแทนดี
  • ให้ส่วนลดกับร้านค้าเมื่อจ่ายด้วย e-payment
  • ให้ผลตอบแทนกับร้านค้า เช่นการคืนเงินเพิ่มเมื่อเป็น e-payment
ร้านข้าวมันไก่ ใน Hawker ที่สิงคโปร์ซึ่งผู้เขียนเจอ ก็รับแค่ Alipay สำหรับนักท่องเที่ยวจีน

บทความนี้สรุปในตอนท้ายว่า แม้ข้อดีของ Cashless จะเป็นความสะดวกสบาย ทั้งสองฝั่ง แต่เหตุผลแค่นี้อาจไม่พอที่จะจูงใจให้คนหันมายอมสะดวกสบาย จึงต้องมีผลตอบแทนเข้ามาช่วยด้วยนั่นเองหากต้องการผลักดันจริงๆ

ที่มา: Strait Times, Channel News Asia และ The Independent

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา