กรณีศึกษา! ดราม่า “หญิงแย้” ทำคอนเทนต์ออนไลน์ ไม่ต้องแรงขนาดนั้นก็ปังได้

เมื่อยุคนี้คนไทยชอบกระแสอะไรแรงๆ การทำคอนเทนต์จึงเน้นแรงๆ เพื่อสร้างเรตติ้งที่ดี แต่อย่าลืมว่าที่คนดูจริงๆ คือเนื้อหาของรายการ กลายเป็นกรณีศึกษาชิ้นใหม่ในวงการคอนเทนต์ออนไลน์ที่ไม่ต้องแรง ก็อยู่รอดได้

ดราม่า แซวโอปป้าเกินขนาด

กลายเป็นดราม่ามื้อโตเมื่อพริตตี้สาว “หญิงแย้” จัดรายการ “โตแล้วแรดได้” ที่เผยแพร่ทางยูทูปส่วนตัว ตอนนี้เป็น EP 3 นินทาโอปป้าเกาหลี แต่ปัญหาจะไม่เกิดถ้าการนินทาที่ว่านี้ไม่ใช่การเม้าแบบน่ารักๆ ขำๆ แต่เป็นการพูดถึงหน้าตาไปในเชิงเหยียด

โอปป้าที่หญิงแย้พูดถึงก็คือ “กงยู” สาวไทยได้ยกตำแหน่งสามีแห่งชาติไปแล้ว โดยหญิงแย้ได้พูดถึงมีใจความประมาณว่า “ไม่หล่อสำหรับแย้ รู้สึกไม่หล่อไม่มีสเน่ห์ หน้าเค้าบูดๆเบี้ยวๆหน้าแบบไม่หล่ออ่ะ หน้าเหมือนคนกำลังทำศัลยกรรมกำลังตอกๆ อยู่ แล้วหมอมีธุระเลยไม่ได้กลับมาทำต่อ…” และยังมีการพูดถึงศิลปินเกาหลีอีกมากมาย

ทำเอาเหล่าแฟนคลับรับไม่ได้กับพฤติกรรมดังกล่าว จนทวิตเตอร์ร้อนเป็นไฟ มีการติดแฮชแท็ก #โตแล้วแรดได้ กว่า 3 แสนครั้ง ติดอันดับ 2 ที่มีการพูดถึงมากที่สุด ในขณะที่คนในวงการอย่าง “โอปอล์” และ “ปุ๊กกี้” ได้ออกมาเขียนทวิตเตอร์เกี่ยวกับกระแสดังกล่าวเช่นกัน ทั้งในการปกป้องกงยู และประเด็นเกี่ยวกับการล้อเลียนหน้าตา

โอปอล์

ปุ๊กกี้ ปวีณ์นุช

ทั้งนี้มีคุณครูลูกกอล์ฟก็ได้แสดงความคิดเห็นต่อการทำรายการด้วย

ภายหลังหญิงแย้ได้ลบคลิปวิดีโอดังกล่าว พร้อมปล่อยวิดีโอแสดงความขอโทษทุกคนเป็นที่เรียบร้อย แต่ดูเหมือนว่าดราม่าจะยังไม่จบง่ายๆ แน่นอน

ไม่ต้องแรงก็ปังได้

ความน่าสนใจของประเด็นนี้คือการทำคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ในยุคสมัยนี้ จะสังเกตได้ว่าทั้งละคร รายการต่างๆ ล้วนทำให้มีดราม่า มีบทแรงๆ เพื่อเรียกกระแสการพูดถึง เรียกเรตติ้งสูงๆ

ยิ่งคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง “YouTube” หรือ “LINE TV” ที่ในตอนนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น มีรายการออนไลน์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มนี้ยิ่งทวีความร้อนแรงกว่าคอนเทนต์ที่ฉายในทีวีทั่วไปได้ เพราะไม่ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ ทำให้ได้เห็นการพูดคำหยาบคายทั้งรายการ

การทำคอนเทนต์แรงๆ จริงอยู่ว่าเป็นการจุดกระแสได้รวดเร็ว ยิ่งคนไทยชอบอะไรที่เฮฮาอยู่แล้วยิ่งแจ้งเกิดได้ง่าย โดยได้เห็นรายการออนไลน์ประสบความสำเร็จมากมายอย่าง Paloy’s diary, ตือสนิท, ล้างตู้เย็น, นอนบ้านเพื่อน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งรายการเหล่านี้มีคำหยาบแทรกบ้าง แต่ไม่ได้มีเนื้อหารุนแรงอะไร

จริงๆ ก่อนหน้านี้มีประเด็นดราม่าเรื่องการพูดจาเหยียดในรายการออนไลน์มาแล้ว โดยสาวพลอย หอวังพูดถึงนักร้องสาวเทเลอร์ สวิฟท์ในเชิงไม่ดีในรายการ jailbreak ฉายทาง LINE TV

สรุป

– จากดราม่าที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงวงการคอนเทนต์ออนไลน์ว่าการทำรายการให้ดัง ไม่จำเป็นต้องพูดจาแรงๆ เสมอไป แค่จับจุดความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ และสร้างเนื้อหาดีๆ ก็มีคนติดตาม
– การที่มีดราม่าเกิดขึ้น อาจจะกระทบต่อรายการไปในอนาคตก็ได้
– การทำคอนเทนต์ในยุคนี้ต้องคิดให้ละเอียดรอบคอบ เพราะเป็นยุคที่แชร์ไว เกิดง่ายก็ดับง่ายเช่นกัน

ขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา