ทำความรู้จัก ‘CANZUK’: พันธมิตรอังกฤษปิดล้อมจีน ผ่านเครือข่ายความร่วมมือในอินโด-แปซิฟิก

การบีบเค้นฮ่องกงของจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทจีนในฐานะผู้เปลี่ยนกฎที่ผิดสัญญามาตั้งแต่อังกฤษคืนเกาะฮ่องกง และบทบาทประชาชนฮ่องกงที่ต้องการอิสระในการเป็นตัวของตัวเอง ตลอดจนบทบาทของนานาประเทศที่บอยคอตต์จีนเพื่อสะท้อนให้รู้ว่าสิ่งที่จีนทำ ไม่ถูกต้อง 

เหล่านี้ นำมาสู่ความพยายามผลักดันประเด็นดังกล่าวของประธานคณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศจากกลุ่ม CANZUK ที่ต้องการเห็นความเป็นธรรมเกิดขึ้น จึงเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติส่งทูตหรือผู้แทนไปสอดส่องประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในจีน

ภาพจาก Shutterstock

กลุ่ม CANZUK ประกอบไปด้วยประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมารัฐมนตรีต่างประเทศจาก 4 แห่งนี้รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา Mike Pompeo เพิ่งจะปล่อยแถลงการร่วมเพื่อประณามการพยายามเลือกตั้งล่าช้าในฮ่องกงไป 

กลุ่ม CANZUK ดังกล่าวอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศนิยมอังกฤษ ขณะเดียวกันก็เป็นเหล่าประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนด้วย ถือเป็นเครือข่ายการทูต การค้าที่เชื่อมโยง เรียกได้ว่าอยู่ในขอบเขตของเครือจักรภพที่ใช้ภาษาเหมือนกัน มีวิถีประชาธิปไตยแบบเดียวกันด้วย เรื่องนี้ Matt Kilocoyne รองผู้อำนวยการ Adam Smith Institute (ASI) สถาบัน Think Tank แห่งอังกฤษที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล Boris Johnson ระบุว่า CANZUK ก็ถือเป็นวงล้อมเครือข่ายอังกฤษ มีการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรนัก  

กอปรกับความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีนที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงนำมาสู่ความพยายามสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่อาจเรียกได้ว่าเป็นชาติพันธมิตรกันมากกว่า คุ้นเคยกว่า และพยายามแสดงจุดยืนเพื่อแก้ไขปัญหาจากความขัดแย้งดังกล่าว ทั้งนี้ มีนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า หากสหรัฐฯ​ มีผู้นำใหม่เป็น Joe Biden เป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะเข้าร่วมมือภายใต้กรอบ CPTPP ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือที่โดนัลด์ ทรัมป์ถอนตัวออกไปหลังได้รับเลือกตั้ง

Boris Johnson
LONDON, ENGLAND – MAY 11: London Mayor and MP for Uxbridge and South Ruislip, Boris Johnson, arrives at Downing Street on May 11, 2015 in London, England. Prime Minister David Cameron continued to announce his new cabinet with many ministers keeping their old positions. (Photo by Carl Court/Getty Images)

(Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP รียกอีกอย่างว่า TPP11 หรือ TPP-11 คือความตกลงการค้าที่ประกอบไปด้วย 11 ประเทศ ดังนี้ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งอังกฤษเคยประกาศว่าสนใจจะเข้าร่วมด้วย ความตกลงดังกล่าวพัฒนามาจาก TPP: Trans-Pacific Partnership ทั้ง 11 ประเทศนี้คิดเป็น 13.4% ของ GDP โลก หรือประมาณ 13.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 424.49 ล้านบาท )  

อีกกรอบความร่วมมือหนึ่งที่เป็นความตกลงการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีจีนเข้าร่วมด้วยคือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP มี 10 ประเทศอาเซียน + ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ (กรอบความร่วมมือนี้ไม่มีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ส่วนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้คือสมาชิกที่อยู่ในกรอบ ASEAN+3 ก่อนหน้า และออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ คือประเทศที่อยู่ในกรอบ ASEAN+6 อยู่ก่อนหน้า)

Ali Wyne ผู้เชี่ยวชาญด้านอินโด-แปซิฟิกแห่ง Atlantic Council ในวอชิงตัน ดี.ซี ระบุว่า การรวมกลุ่ม CANZUK ดังกล่าวอาจจะช่วยขยายความอิสระในประเทศแถบอินโด-แปซิฟิกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อคัดง้างกับอำนาจจีนในภูมิภาคดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง

ที่มา – Nikkei Asian Reivew

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา