การบีบเค้นฮ่องกงของจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทจีนในฐานะผู้เปลี่ยนกฎที่ผิดสัญญามาตั้งแต่อังกฤษคืนเกาะฮ่องกง และบทบาทประชาชนฮ่องกงที่ต้องการอิสระในการเป็นตัวของตัวเอง ตลอดจนบทบาทของนานาประเทศที่บอยคอตต์จีนเพื่อสะท้อนให้รู้ว่าสิ่งที่จีนทำ ไม่ถูกต้อง
เหล่านี้ นำมาสู่ความพยายามผลักดันประเด็นดังกล่าวของประธานคณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศจากกลุ่ม CANZUK ที่ต้องการเห็นความเป็นธรรมเกิดขึ้น จึงเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติส่งทูตหรือผู้แทนไปสอดส่องประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในจีน
กลุ่ม CANZUK ประกอบไปด้วยประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมารัฐมนตรีต่างประเทศจาก 4 แห่งนี้รวมทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา Mike Pompeo เพิ่งจะปล่อยแถลงการร่วมเพื่อประณามการพยายามเลือกตั้งล่าช้าในฮ่องกงไป
กลุ่ม CANZUK ดังกล่าวอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศนิยมอังกฤษ ขณะเดียวกันก็เป็นเหล่าประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนด้วย ถือเป็นเครือข่ายการทูต การค้าที่เชื่อมโยง เรียกได้ว่าอยู่ในขอบเขตของเครือจักรภพที่ใช้ภาษาเหมือนกัน มีวิถีประชาธิปไตยแบบเดียวกันด้วย เรื่องนี้ Matt Kilocoyne รองผู้อำนวยการ Adam Smith Institute (ASI) สถาบัน Think Tank แห่งอังกฤษที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล Boris Johnson ระบุว่า CANZUK ก็ถือเป็นวงล้อมเครือข่ายอังกฤษ มีการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรนัก
กอปรกับความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีนที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จึงนำมาสู่ความพยายามสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่อาจเรียกได้ว่าเป็นชาติพันธมิตรกันมากกว่า คุ้นเคยกว่า และพยายามแสดงจุดยืนเพื่อแก้ไขปัญหาจากความขัดแย้งดังกล่าว ทั้งนี้ มีนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า หากสหรัฐฯ มีผู้นำใหม่เป็น Joe Biden เป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ จะเข้าร่วมมือภายใต้กรอบ CPTPP ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือที่โดนัลด์ ทรัมป์ถอนตัวออกไปหลังได้รับเลือกตั้ง
(Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP รียกอีกอย่างว่า TPP11 หรือ TPP-11 คือความตกลงการค้าที่ประกอบไปด้วย 11 ประเทศ ดังนี้ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งอังกฤษเคยประกาศว่าสนใจจะเข้าร่วมด้วย ความตกลงดังกล่าวพัฒนามาจาก TPP: Trans-Pacific Partnership ทั้ง 11 ประเทศนี้คิดเป็น 13.4% ของ GDP โลก หรือประมาณ 13.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 424.49 ล้านบาท )
อีกกรอบความร่วมมือหนึ่งที่เป็นความตกลงการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีจีนเข้าร่วมด้วยคือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP มี 10 ประเทศอาเซียน + ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ (กรอบความร่วมมือนี้ไม่มีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ส่วนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้คือสมาชิกที่อยู่ในกรอบ ASEAN+3 ก่อนหน้า และออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ คือประเทศที่อยู่ในกรอบ ASEAN+6 อยู่ก่อนหน้า)
Ali Wyne ผู้เชี่ยวชาญด้านอินโด-แปซิฟิกแห่ง Atlantic Council ในวอชิงตัน ดี.ซี ระบุว่า การรวมกลุ่ม CANZUK ดังกล่าวอาจจะช่วยขยายความอิสระในประเทศแถบอินโด-แปซิฟิกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อคัดง้างกับอำนาจจีนในภูมิภาคดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง
ที่มา – Nikkei Asian Reivew
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา