จากที่กระแส Startup บูมมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เชื่อกันว่าปี 2017 จะเป็น disruptive year เรียกว่าธุรกิจไหนที่ยังทำสิ่งเดิมๆ ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล มีโอกาสล้มหายตายจากไปได้ง่ายๆ
ว่าแล้วก็ลองไปดูกันดีกว่าในปี 2017 เทรนด์อะไรบ้างที่มาแรง และธุรกิจจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับ
1. ยกระดับความสัมพันธ์กับลูกค้า
การเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้แสดงให้เห็นแล้วว่าแบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากขึ้น การเก็บข้อมูลลูกค้า การทำ retargeting การทำตลาดแบบรายบุคคล เฉพาะเจาะจงตามความสนใจของลูกค้า
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ลูกค้าต้องการให้แบรนด์รู้และเข้าใจ นำเสนอได้ตรงกับความต้องการ ถ้าบริษัทไหนทำได้ จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า มากกว่าแค่ขายของ และจะกลายเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ความจงรักภักดี สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์
2. เก็บข้อมูลลูกค้าให้ดี ใช้ประโยชน์ให้ได้
การศึกษาลูกค้าต้องดูว่า ความต้องการ ความชื่นชอบ และใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ฟังดูง่ายแต่ทำจริงยาก เพราะแบรนด์ต่างๆ เริ่มมีการเก็บข้อมูลลูกค้าแล้ว (ถ้าใครยังไม่เก็บ ขอให้รีบเลย) แต่ปัญหาคือจะนำมาใช้อย่างไรและต้องนำมาใช้ประโยชน์ด้วย
ตัวอย่างเช่น ลูกค้าที่ใช้สายการบินไหนเป็นประจำ ถ้าสายการบินเก็บ “ลักษณะ” การใช้บริการ และสามารถให้บริการได้ตามที่ลูกค้าเป็น นั่นคือการสร้างประสบการณ์ส่วนตัวขั้นสุด และลูกค้าก็จะเลือกใช้บริการสายการบินนั้นอยู่เสมอ ส่วนสำคัญคือ การเก็บข้อมูล และนำมาใช้ ต้องรู้ว่าจะใช้เมื่อไร ใช้อย่างไร
3. ระบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพ
เรื่องของ AI และ Robot กำลังมาแรง อย่างน้อยที่สุดในแวดวงธุรกิจที่เห็นได้ชัดคือ chatbot ที่ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาอาจมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่ แต่เชื่อกันว่าในปีนี้ การพัฒนาให้ระบบมีความฉลาดมากขึ้น จะทำให้ chatbot มีความสามารถในการให้บริการได้มากขึ้น
ขณะที่ Social Media มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ แบรนด์ต่างๆ จึงหลีกเลี่ยงอยากที่จะติดต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางนี้ และนั่นทำให้ chatbot กลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่แบรนด์จะต้องหยิบมาใช้ประโยชน์ ซึ่งอนาคตจะเห็นการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้แบรนด์กับลูกค้าใกล้ชิดกันมากขึ้น
4. ระดมทุนผ่าน Crowdfunding
Crowdfunding เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจ มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยใช้ Crowdfunding เพื่อตรวจสอบสินค้าและบริการก่อนปล่อยออกสู่ตลาด
การใช้ Crowdfunding ไม่ใช่เพียงแค่สามารถระดมทุนได้เท่านั้น แต่ยังทำให้บริษัทได้เรียนรู้ ได้ฟังความคิดเห็นตรงๆ จากกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจ ถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นยอดเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น GE ยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์ ได้ก่อตั้งชุมชน co-creation และโรงงานขนาดเล็กมาเพื่อพัฒนาอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านใหม่ๆ ซึ่งถ้ามองอีกมุมหนึ่ง นี่คือการทำ Focus Group ด้านการตลาดนั่นเอง
5. ค้นหาจุดเด่น แล้วมุ่งไปทางนั้น
ทุกวันนี้บริษัทต่างๆ จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เหมือนเวลาที่เราไปหาหมอ เราก็อยากได้หมอเฉพาะทางที่สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ไม่ใช่แค่หมอทั่วๆ ไป ซึ่งในโลกธุรกิจก็เหมือนกัน
คำว่า one-size-fits-all ดูจะไม่ใช่แนวทางที่ธุรกิจควรจะมุ่งเน้น แต่ควรจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการรายบุคคลได้มากกว่า (นั่นคือพลังของดิจิทัล) ถ้าแบรนด์ต่างๆ สามารถตอบความต้องการของลูกค้ารายคนได้ นั่นคือ แบรนด์นั้นจะอยู่ในใจของลูกค้าตลอดไป
การจะทำแบบนี้ได้ แบรนด์ต้องรู้จักลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ดี วางกลยุทธ์ให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น Netflix ที่สามารถเลือกคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า และนำเสนอไปให้ มองให้ออกว่าลูกค้าต้องการอะไร ไม่ใช่นำเสนอทุกอย่างที่มีให้กับลูกค้าทุกคนเหมือนในอดีต
ที่มา: entrepreneur.com
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา