บริหารธุรกิจสไตล์ “บุญชัย โชควัฒนา” ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจยุคสงครามการค้าโลก

นับว่าเป็นคนที่มีประสบการณ์การบริหารธุรกิจมาอย่างโชกโชน สำหรับ “บุญชัย โชควัฒนา” นำทัพสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือสหพัฒน์ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ผ่านมาอีก 10 ปีวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ กระทั่งมายุคนี้สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีน 

บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือสหพัฒน์ เล่าว่า การทำธุรกิจคงปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและนอกประเทศเป็นเรื่องปกติ

ก้าวมาสู่ยุคที่ 3  กับวิกฤตเศรษฐกิจจากสงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีน นับว่าเป็นคลื่นลูกใหญ่โดยเกิดจากการริเริ่มภาษีศุลกากรกับสินค้าที่ค้าขายระหว่างประเทศจีนและสหรัฐ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561

สหรัฐตั้งภาษีศุลกากร 25% ต่อสินค้าจีนมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพิกัดอัตราใหม่ของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ จีนจึงตอบโต้ด้วยการตั้งภาษีศุลกากรขนาดเท่ากันต่อผลิตภัณฑ์ของสหรัฐ

ภาพ: Shutterstock

“จากสงครามการค้าหรือวิกฤตเศรษฐกิจยุคที่ 3 นั้น กระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน คาดการณ์ว่าปี 2563  เศรษฐกิจโลกจะดิ่งลงยิ่งกว่าปี 2562”

มุมมองของผมในสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทย จีดีพีของประเทศปี 2562 คงไม่เติบโตสักเท่าไร และคาดการณ์ว่าปี 2563 ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ดีคืออยู่ในภาวะทรง แต่คงไม่ได้ดีไปกว่าเดิมแน่นอน

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือสหพัฒน์

เผยสูตรแนวทางการบริหารธุรกิจ

  • สหพัฒน์มุ่งการบริหารธุรกิจลดต้นทุนจากซัพพลายเชนหรือตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การผลิตจากโรงงานจนถึงการส่งถึงมือลูกค้า
  • การรัดเข็มขัดกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทิ้งไป
  • หาหนทางในการเพิ่มยอดขาย
  • การลงทุนธุรกิจต้องมีความรอบคอบ และต้องคุ้มค่าในระยะยาว
  • การออกสินค้าใหม่ลงสู่ตลาดนั้น ต้องให้ถูกที่ถูกทางและมีความแม่นยำ

คงเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะสินค้าอุปโภคบริโภคยังเป็นของจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นแม้เศรษฐกิจจะไม่ดี เราต้องเดินหน้าออกสินค้าใหม่

ปี 2563 สหพัฒน์จะใช้ 5 แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและยืนหยัดให้ได้ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ไม่ดีมากนัก

ย้อนรอยวิกฤตเศรษฐกิจไทย

  • วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน

สถานการณ์ในประเทศไทยเกิดจากการลอยตัวค่าเงินบาท ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท จาก25 บ./ดอลลาร์สหรัฐ (ก.ค.2540) ขยับมาสูงถึง 56 บ./ดอลลาร์ (สูงสุด ม.ค. 2541)

ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน หรือ บ้านจัดสรร เป็นต้น ต่างพากันปิดกิจการลง พนักงานถูกปลดออก มีหนี้สินเกิดขึ้นมหาศาล

  • วิกฤตแฮมเบอร์ หรือปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ต่ำกว่ามาตรฐาน (ซับไพร์ม) เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2550

ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยชะลอตัว ซึ่งมีผลทำให้การส่งออกของไทยชะลอลงด้วย อีกทั้งยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งและต้นทุนการผลิตสูงขึ้นก็ตาม

การส่งออกที่ชะลอตัวกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่ขยายตัวมากนัก ไม่ว่าจะเป็น การบริโภคและการลงทุนในประเทศไทยที่ยังคงไม่ฟื้นตัว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้น

  • วิกฤตเศรษฐกิจจากสงครามการค้าระหว่างอเมริกาและจีน

บุญชัย เล่าว่า วิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ เริ่มส่งผลกระทบแล้วให้กับเศรษฐกิจในประเทศไทยแล้ว อย่างบริษัทนิปปอนสตีล สตีล โพรเซสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม NIPPON STEEL จากประเทศญี่ปุ่น ออกประกาศขอให้พนักงานหยุดงานชั่วคราว

เริ่มที่จะมีสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี ภาคการส่งออกไม่ดี โรงงานเริ่มผลิตน้อยลงหรือปิดกิจการ ย่อมส่งผลกำลังการซื้อของผู้บริโภค การบริโภคภายในประเทศไม่ขยายตัว

สรุป

สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีน เริ่มส่งเศรษฐกิจอย่างชัดเจนแล้ว ยิ่งเมื่อเข้าสู่ 2563 เศรษฐกิจโลกจะยิ่งดิ่งลง ขณะเดียวกันองค์กรหลายแห่งต้องเผชิญกับความท้าทายการดิสรัปชั่น การบริหารจัดการด้านต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ประกอบกับกำลังการซื้อของผู้บริโภคที่ไม่ค่อยสู้ดี อัตราการบริโภคสินค้ามีแนวโน้มลดลง นั่นคือโจทย์ใหญ่ของธุรกิจในปีชวด ที่จะบริหารงาน การลงทุน หรือการทำตลาดอย่างไรไม่ให้ธุรกิจชวดรายได้ ด้วย 5 แนวทางที่ทำให้สหพัฒน์ยืนหยัดและผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาถึง 3 ยุค

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา