BUNLAI – 6 ข้อห้ามในการทำ Digital Transformation แบบไทยๆ | BI Opinion

โดย ปฐม อินทโรดม

จากการสำรวจของ Harvard Business Review ระบุว่าความตื่นตัวในการทำ Digital Transformation ทั่วโลกทำให้มีเม็ดเงินลงทุนในด้านนี้สูงถึง 1.3 ล้านล้านบาทในปี 2019 ที่ผ่านมา แต่น่าเสียดายว่าโครงการที่ประสบความสำเร็จมีเพียง 30% เท่านั้น ซึ่งนั่นเท่ากับว่าเม็ดเงินลงทุนถึง 9 แสนล้านบาททั่วโลกนั้นไม่อาจผลักดันให้องค์กรทำ Digital Transformation ได้สำเร็จตามเป้า

หันมามองบ้านเราแม้จะไม่มีใครสำรวจข้อมูลแต่เชื่อได้ว่าอัตราผู้ที่ประสบความสำเร็จราว 30% และล้มเหลว 70% ที่ฮาร์วาร์ดสำรวจมาคงไม่ห่างไกลจากประเทศไทยสักเท่าไรนัก แต่จะแย่สักหน่อยก็ตรงที่เราตื่นตัวเรื่องนี้กันมานานแต่ประเทศไทยกลับไม่สามารถสร้าง Digital Platform เป็นของตัวเองได้เลย

ทุกวันนี้เรายังคงฟังเพลงด้วย Spotify ดูหนังผ่าน Netflix แชร์เรื่องราวต่าง ให้เพื่อนผ่าน LINE และ Facebook เรียกแท็กซี่ด้วย Grab ดูแผนที่ผ่าน Google ฯลฯ นั่นคือใช้ชีวิตประจำวันบนแพลตฟอร์มต่างชาติร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม

ภาพจาก Shutterstock

องค์กรต่าง ทั้งภาครัฐและเอกชนของเราก็ยังคงติดขัดอยู่กับระเบียบขั้นตอนต่าง เอาแค่บัตรประชาชนที่ถกเกียงกันมาหลายปีแต่ทุกวันนี้เราก็ยังคงต้องถ่ายเอกสารบัตรประชาชนเพื่อใช้ทำรายการต่าง เหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้วยังไงยังงั้น

ทำไม Digital Transformation ของเราถึงยังไปไม่ถึงไหน วันนี้เราลองมาดู 6 พฤติกรรมในองค์กรที่เป็นอุปสรรคสำคัญขวางให้เราก้าวไปไหนไม่ได้สักที

ภาพจาก Shutterstock

1. Boss Dictated

หลายองค์กรเลือกทำ Digital Transformation โดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่ได้สอดคล้องอะไรกับธุรกิจหลักของตัวเองเลย แต่เป็นเพราะผู้บริหารหรือเจ้าของเห็นตัวอย่างจากต่างประเทศแล้วอยากทำบ้างทั้ง ที่ยังไม่เข้าใจเทคโนโลยีอย่างถ่องแท้ แต่อยากดูทันสมัยเท่านั้น

ในขณะที่แผนงานอื่น ที่คนในองค์กรช่วยกันคิดขึ้นมากลับไม่ได้รับความสนใจเพราะเจ้านายคิดว่ามันดูไม่เท่ ไม่น่าสนใจ ทำให้การปรับองค์กรต้องเป็นหมันตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่ม

เจ้านายแบบนี้หากมีเงินถุงเงินถังแบบ Elon Musk ก็อาจทำให้องค์กรไปถึงเป้าหมายได้ แต่ก็ต้องล้มเร็วลุกเร็วด้วยเช่นกัน

2. Unfinished Requirement

แม้บางองค์กรจะมองเห็นว่าควรเอาเทคโนโลยีใดมาใช้ แต่ใจร้อนอยากทำให้เร็ว จนไม่ทันออกแบบระบบให้รอบคอบรัดกุม ส่งผลให้ต้องเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงระบบ แก้ไข Requirement อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น ที่แย่คือบางครั้งเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจนลืมไปเลยว่าจุดตั้งต้นนั้นระบบนี้ต้องการทำอะไรเป็นหลัก

ปัญหาใหญ่เกิดจากองค์กรของไทยไม่ค่อยใส่ใจเรื่องรายละเอียดของกระบวนการสักเท่าไรนัก เราถนัดในการลงมือทำไปก่อนแล้วค่อยไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งมันทำให้ระบบของเรามีช่องโหว่มากเกินไป

ภาพจาก Shutterstock

3. New Project Unbounded

ดูเหมือนเป็นองค์กรบ้าพลังที่ทำอะไรใหม่ อยู่เสมอ แต่หลายครั้งเราจะพบว่าองค์กรแบบนี้ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่าง เพราะของเก่ายังไม่ทันเสร็จ โครงการใหม่จ่อเข้ามาอีกแล้ว จึงเหมือนกับจับจดเปลี่ยนไปทำอะไรใหม่ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลาแต่ไม่มีอะไรสำเร็จยั่งยืนเลย

การทำตามกระแสมีดีที่ทำให้องค์กรได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ตลอดเวลา แต่โครงการที่ทำก็ต้องผลักดันให้สำเร็จได้ตามแผนเพื่อจะได้ประเมินผลได้ถูกต้อง ไม่ใช่ทำแล้วหยุดเพื่อเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นอยู่เรื่อยเพราะเราจะไม่ได้ผ่านการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเลย

4. Legal & Regulation Base

เทคโนโลยีมักจะเป็นผู้ร้ายเสมอสำหรับฝ่ายธุรการและงานเอกสารทุกชนิด เพราะเมื่อเอาระบบใหม่ มาใช้แล้วเราก็มักเจอคำถามว่าจะยืนยันเอกสารได้ยังไง? จะเช็นอนุมัติตรงไหน? ใครจะอนุมัติขั้นตอนนี้? ใครจะตรวจสอบเอกสารนั้น? ฯลฯ

สุดท้ายแล้วเราจะเจอหลาย องค์กรที่พยายามปรับตัวตามกระแสดิจิทัลเต็มที่ แต่ไปไม่ถึงฝั่งฝันเพราะติดระเบียบขั้นตอน กฎกติกามารยาท มากมายจนถอดใจกันไปทั้งบริษัท ในขณะที่หลาย บริษัทหาทางเลี่ยงด้วยการตั้งเป็นบริษัทย่อยเพื่อหลีกเลี่ยงระบบระเบียบต่าง ที่ล้าสมัยเหล่านี้

5. Anti Newness

เป้าหมายของการใช้ระบบดิจิทัลก็คือการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลงให้มากที่สุด ลดงานซ้ำซ้อนลงให้มากที่สุด แต่เอกสารและขั้นตอนที่หายไปมันไม่เหมือนระบบเดิมที่เคยทำมาเป็นสิบ ปี บางคนในองค์กรจึงไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงใด เพียงเพราะเชื่อว่าทำแบบเดิมแหละดีแล้ว

แม้บางองค์กรจะไม่มีกฎระเบียบอะไรมากมายนัก แต่อาจมีคนขององค์กรที่ไม่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่อยากเปลี่ยนขั้นตอนการทำงาน ยิ่งเป็นคนหัวโบราณที่ไม่ชอบใช้เทคโนโลยีเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งไปกันใหญ่ เพราะคนกลุ่มนี้เชื่อว่าตัวเองทำดีที่สุดและคอยสมน้ำหน้าเมื่อระบบทำงานพลาด ทั้ง ที่ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากคนใช้ไม่เป็น

ภาพจาก Shutterstock



6. IT Superintendent

บางบริษัทเห็นอะไรที่เป็นดิจิทัลก็โยนไปให้ฝ่าย IT ทันที ยิ่งเป็น Digital Transformation ยิ่งดูไอที๊ไอที ดังนั้นฉันไม่เกี่ยวจึงเป็นคำตอบที่ง่ายที่สุด ซึ่งนำมาซึ่งข้อ 4 และข้อ 5 คือคิดอะไรมาก็ติดกฎ กติกา มารยาทไปเสียหมด บางครั้งขั้นตอนที่เปลี่ยนไปแม้จะทำให้เร็วขึ้นแต่ก็ไม่อยากเรียนรู้ใหม่จึงโวยวายล้มกระดานไปเสียดีกว่าจะได้ไม่ต้องปรับระบบอะไรให้วุ่นวาย

การปล่อยให้ฝ่าย IT เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความผิดพลาดตั้งแต่จุดเริ่มต้น เพราะ Digital Transformation เป็นเรื่องของทั้งองค์กรและผู้บริหารต้องกำกับดูแลด้วยตัวเอง

ข้อห้ามทั้ง 6 ข้อนี้เป็นตัวย่อที่จำง่าย ว่า BUNLAI ซึ่งหลาย องค์กรอาจใช้บางข้อกันอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว แต่หากใครใช้ครบทั้ง 6 ข้อแล้วก็คงต้องขออวยพรให้โชคดี

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา