ให้ 3 คำกับ BTS “พัง แพง พอ” แล้วหุ้นเขากระทบอะไรไหม?

หลังจากรถไฟฟ้าบนดินที่พาดผ่านใจกลางกรุงเทพอย่าง BTS เสียในชั่วโมงเร่งด่วนติดต่อกันถึง 3 วัน (จันทร์ที่ 25 – พุธ 27 มิ..2561) คนทำงานก็เดือดร้อนกันไปทั่ว ไม่ว่าจะไปทำงานสายกว่า 2-3 ชม. บางคนเร่งด่วนจนต้องไปพึ่งวินมอเตอร์ไซด์ที่คิดเงินมหาโหด ยังไม่รวมกับรถที่ต้องติดบนถนนนานกว่าปกติ

เรียกได้ว่าผลกระทบทั่วถึงทุกคน แต่หุ้นของ BTS ได้รับผลกระทบอะไรไหม?   

ภาพจาก Shutterstock

รถไฟฟ้าพังหุ้น BTS แทบไม่กระทบ

ปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนายการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) บอกว่า จากความขัดข้องในการให้บริการรถไฟฟ้า ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS) น้อยมาก เพราะตัวหุ้นผสมมาจากหลายธุรกิจ รถไฟฟ้าเป็นธุรกิจส่วนเดียวเท่านั้น ตอนนี้เราก็รอดูข้อมูลอื่นเพื่อมาพิจารณาเพิ่มเติมอยู่

ส่วนราคาหุ้นที่ตกลงวันละเล็กวันละน้อยหลายวันที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากภาวะตลาด เพราะภาพรวมราคาหุ้น BTS ยังปรับลดน้อยกว่าราคาหุ้นหลายตัวในตลาด

ภาพจาก Shutterstock

แต่การที่รถไฟฟ้า BTS เสีย เบื้องต้นเราประเมินว่ารายได้ของธุรกิจรถไฟฟ้าจะลดลง 174.2 ล้านบาท จากที่มองว่าจำนวนผู้โดยสารลดลง 50% ในช่วง 6 วัน (24-29 มิ.ย.) และคาดการณ์ว่าจะกระทบกับกำไรสุทธิของ BTS ในปีนี้(เม.ย. 2561 – มี.ค.2562)ประมาณ 1.6%

ทว่าปีนี้ยังมองว่ากำไรสุทธิของ BTS ยังโตตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.72 พันล้านบาท และมีกำไรต่อเนื่องถึงปีถัดไป (เม.ย.2562- มี.ค. 2563)คาดว่าจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3.99 พันล้านบาท เพราะเห็นพัฒนาการที่ดีจาก Platform ธุรกิจของบริษัท (ที่สำคัญคือธุรกิจรถไฟฟ้า, สื่อ และ อสังหาริมทรัพย์) รวมถึงรายได้จากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลืองคาดว่าจะอยู่ที่ 2.0-2.5 หมื่นล้านบาท

เรายังคง คำแนะนำซื้อ และให้ราคาเป้าหมายช่วงเม.. 2561 – มี..2562ใหม่ที่ 11.20 บาท

ภาพจาก Shutterstock

ในขณะที่ปัจจัยลบจากสถาการณณ์ความขัดข้องของ BTS มี 3 ข้อ คือ 1. คาดว่าบริษัทจะรับรู้รายได้ลดลงประมาณ 6 วัน (ระหว่างวันที่ 24-29 มิ..) 2) อาจมีค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว (เช่น ค่าใช้จ่ายพนักงาน, เงินช่วยเหลือผู้ใช้บริการ) 3 ) การลงทุนในอนาคตเพื่อปกป้องระบบ

ภาพจาก Shutterstock

คนกรุงเซ็ง BTS “แพง” ขึ้นตลอด ว่าแต่ทำไมต้องแพง?

แหล่งข่าวจากธุรกิจขนส่งมวลชนบอกว่า สาเหตุที่ราคาค่าโดยสาร BTS แพงกว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน MRT อยู่ที่เกณฑ์ที่ตั้งไว้แต่แรก ซึ่ง MRT มีส่วนที่ภาครัฐสนับสนุน ค่าโดยสารเลยถูกกว่า อย่างไรก็ตามถ้า BTS เลือกที่จะลดราคาลงก็น่าจะเป็นผลดีให้คนใช้งานมากขึ้น รายได้ก็ยังเติบโตได้เช่นกัน

ขณะเดียวกันถ้า BTS เข้าร่วมในตั๋วร่วม หรือ บัตรแมงมุม บัตรที่สามารถใช้ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า ฯลฯในบัตรเดียว จะทำให้ค่าโดยสารถูกลงเพราะสามารถทำเป็น Common fair เช่น รัฐสามารถกำกับค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าแต่ละสายได้ถูกลง ฯลฯ โดยรูปแบบนี้มีที่ฮ่องกงใช้อยู่ ในขณะที่ญี่ปุ่นแม้มีรถไฟฟ้าเป็นสิบสาย แต่ค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าแต่ละสายที่เชื่อมกันก็ถูก ทำให้ค่าโดยสารไม่แพง

นอกจากนี้ยังมีสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารให้ถูกลงได้อีกหลายแบบ เช่น Flat rate (แบบคงที่) หรือเก็บค่าโดยสารตามโซน จะสนับสนุนให้ประชากรอยู่ในโซนมากขึ้นด้วย

ภาพจาก Shutterstock

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไม BTS ไม่เข้าร่วม บัตรแมงมุม มาจาก 2 เรื่อง 1. การป้องกันผลประโยชน์ของ BTS เพราะเมื่อมีคนเอาเงินมาใส่ทิ้งไว้ในบัตรโดยสารที่เป็น E-wallet แบบหนึ่ง แม้ว่า BTS จะเอาเงินก้อนนี้ไปใช้ไม่ได้ (ตามกฏของธนาคารแห่งประเทศไทย) แต่สามารถใช้ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินที่แช่อยู่ในนี้ได้ ซึ่งไม่ใช่น้อย

และ 2. BTS มีธุรกิจ Non-transit คือธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่น ธุรกิจอื่นๆ บนบัตรแรบบิท ซึ่งลงทุนไปเยอะ 

ภาพจาก Shutterstock

พอ” เถอะปัญหา กสทช. ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หลังการประชุมเพื่อแก้ปัญหา BTS ขัดข้อง ระหว่าง กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น TOT DTAC (Total Access Communication) และ Bangkok Mass Transit System (BTS.BK/BTS TB) เมื่อเย็นวันที่ 27 มิ..

มีข้อสรุปว่า กสทช. แนะนำให้ BTS ใช้คลื่นย่านควาทถี่ 2480-2495MMHz แทนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น  เพราะคลื่น 2370-2400MHz ที่ TOT และ DTAC ใช้อยู่ห่างจากคลื่น 2400MHz ที่ BTS ใช้สำหรับระบบอาณัติสัญญาณพอ ซึ่งทาง TOT จะหยุดใช้คลื่น 2300MHz ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชั่วคราวจนกว่า BTS จะเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อย้ายคลื่นความถี่เสร็จเรียบร้อย

ซึ่ง BTS จะดำเนินการเสร็จภายในวันที่ 29 มิ.. และให้บริการปกติในวันที่ 30 มิ.. มีข่าวว่าสัปดาห์หน้า BTS เตรียมออกข้อสรุปว่าจะชดเชยให้ ผู้โดยสารอย่างไร

 

สรุป

แม้ BTS จะสร้างความขัดข้องให้คนส่วนใหญ่ของกรุงเทพ แต่ส่วนของบริษัททั้งกำไรสุทธิ และราคาหุ้นแทบไม่ได้รับผลกระทบ กลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่า BTS ผูกขาดตลาดอย่างไรแต่จะมีการพัฒนาอะไรให้ดีขึ้นไหม …. คนกรุงเทพยังคงหวังต่อไป หวังว่ารัฐบาลจะขยับมากำกับเรื่องคุณภาพชีวิตของเราบ้าง

ที่มา efinancethai บล. KGI

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา