แบงก์ชาติชี้ 3 ความเสี่ยงเศรษฐกิจ “สงครามการค้า-ดอกเบี้ยโลกขาขึ้น-เสถียรภาพการเงิน”

เมื่อเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2561 GDP โตที่ 3.3% ต่ำที่สุดในรอบปี ทำให้หลายฝ่ายมองว่า GDP ไทยปีนี้จะโตแค่ 4.3% จากเดิมที่มองว่าจะโตถึง 4.5% ว่าแต่แบงก์ชาติที่เป็นหน่วยงานด้วยเศรษฐกิจของไทยจะมองเรื่องนี้อย่างไร ปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องจับตามองในอนาคต

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปออกงานสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ได้จัดงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2561 (TEA Annual Forum 2018) และร่วมพูดในหัวข้อ “ยุคปฏิวัติข้อมูลและเทคโนโลยี กับก้าวต่อไปของประเทศไทย” เล่าถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและความเสี่ยงในอนาคตอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเด็น

สงครามการค้าสหรัฐฯ – จีนพาโลก (ตึง) เครียด

ผู้ว่าธปท. บอกว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ตึงเครียดส่งผลให้บรรยากาเศรษฐกิจทั่วโลกตึงเครียดเช่นกัน แม้ตอนนี้เรายังไม่เห็นภาพการผลิต การส่งออก และการค้าโลกชะลอตัว แต่ในระยะยาวจะเห็นชัดเจนขึ้น ซึ่งไทยจะได้รับผลกระทบไปด้วยใน 2 รูปแบบ คือผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าบางรายการที่สหรัฐฯ​ ประกาศมาตรการภาษี เช่น เครื่องซักผ้า โซลาร์เซลล์ และกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตทั้งระบบ

ขณะเดียวกันในทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อเกิดสงครามการค้าขึ้น รูปแบบการค้าของโลกก็จะปรับตัว หรือที่เรียกว่า Trade Diversion มีผลด้านบวกคือสินค้าที่สหรัฐอเมริกาเคยนำเข้าจากจีน จะหาทางนำเข้าจากประเทศอื่นแทน โดยตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ไทยล่าสุดแสดงให้เห็นว่ามีสินค้าบางชนิดที่มีคำสั่งนำเข้าเพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนด้านลบ คือ สินค้าจีนที่เคยส่งไปยังสหรัฐฯ จะหาทางระบายสินค้าเหล่านี้ไปยังประเทศอื่นๆ แทนทำให้การแข่งขันการส่งออกเพิ่มขึ้น

“สงครามการค้าไม่ได้กระทบเฉพาะผู้ส่งออกไทย แต่จะมากระทบกับผู้ผลิตที่ขายในประเทศด้วย อย่างเหล็ก แม้เราจะไม่ได้ส่งออกเยอะ แต่ผู้ผลิตภายในประเทศจะได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ตลาดของเหล็กจีนแทน มาแข่งขันด้านราคา อันสุดท้ายเป็นผลข้างเคียงที่อาจจะเป็นผลบวกคือสงครามการค้าที่ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต ผู้ประกอบการต้องคิดใหม่จากเดิมที่ผลิตในจีนทั้งหมด แต่ตอนนี้พอเป็นเป้าและจะเป็นเป้าไปอีกนาน เขาก็ต้องเริ่มคิดกระจายแหล่งผลิตออกไปที่อื่นด้วย EEC ของเราก็สอดรับกับกระแสนี้ เป็นการสร้างห่วงโซ่การผลิตระดับภูมิภาคใหม่ แต่อาจจะใช้เวลาสักพัก”

ภาพจาก Shutterstock

ตลาดการเงินโลกอ่อนไหวง่ายแนะเอกชนคุมสภาพคล่องให้ดี

หลังวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 10 ปีที่แล้วทำให้ทั่วโลกเลือกดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายกว่าปกติ (เช่น การอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยต่ำเพื่อดึงให้คนเอาเงินมาลงทุน ฯลฯ) จนปัจจุบันสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีของโลกสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนโลกที่จะตึงตัวขึ้น

ขณะเดียวกันภาวะการเงินตึงตัวขึ้นเพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว อย่างสหรัฐฯ ที่ Fed (ธนาคารกลางสหรัฐฯ) เริ่มปรับนโยบายการเงินใหม่เป็นประเทศแรก ดอกเบี้ยของตลาดการเงินปรับตัวขึ้นตามไปบ้าง รวมไปถึงประเทศไทยโดยไม่ต้องรอให้ธนาคารกลางอื่นๆ ปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ตาม ขณะที่ธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) และธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มพูดถึงการปรับทิศทางนโยบายการเงินใหม่

อย่างไรก็ตามตลาดการเงินในปัจจุบันมีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก ถ้าเอกชนขาดการบริหารสภาพคล่องที่ดีก็อาจจะมีปัญหาทั้งทางด้านต้นทุนและสภาพคล่องในอนาคตได้

การคงดอกเบี้ยต่ำกระทบเสถียรภาพการเงิน

ต้นทุนของการคงดอกเบี้ยต่ำเป็นระยะเวลานานเริ่มส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพการเงิน เช่น นักลงทุนระเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรเป็น หรือการย้ายการออมเงินไปยังสหกรณ์ออมทรัยพ์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร แต่ไม่ได้ถามว่านำเงินไปทำอะไรถึงสามารถให้ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารได้ค่อนข้างมาก

“สิ่งแรกที่เรียนๆในหลักเศรษฐศาสตร์คือไม่มีของฟรีในโลก การดำเนินนโยบายย่อมจะมีต้นทุนของมันอยู่ โดยการใช้ดอกเบี้ยต่ำเป็นระยะเวลานานก็เริ่มให้เกิดพฤติกรรมที่ประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเติบโตจากหนี้มากขึ้น และสร้างความเปราะบางในระยะยาว หรืออาจจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมาวิกฤตทุกครั้งจะดึงความเป็นอยู่ของประชาชนถอยหลังไปหลายปีมากๆและเป็นสิ่งที

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

จากนักข่าวการเงินหนังสือพิมพ์ธุรกิจย่านประชาชื่น ผันตัวเข้าโลกออนไลน์ ความท้าทายครั้งใหม่คือการเล่าเรื่องเงินให้เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง