หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% แต่ครั้งนี้แบงก์ชาติปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลงเกือบทุกตัว ทั้ง GDP ฯลฯ แต่การปรับลงครั้งนี้เศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร
แบงก์ชาติรับเศรษฐกิจไทยโตต่ำประเมิน หั่น GDP ปี 62 เหลือ 3.8% จาก 4%
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของแบงก์ชาติ บอกว่า เศรษฐกิจไทยมีทิศทางขยายตัว แต่อาจจะเติบโตชะลอกว่าที่ประเมินไว้เมื่อ ธ.ค. 2561 เพราะเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยในต่างประเทศ ทั้งความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น เช่น เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง วัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (ขาลง) และมาตรการกีดกันทางการค้าของจีน อาจส่งผลให้การส่งออกไทยโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ปัจจัยในประเทศไทยหลักๆ มาจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่งล่าช้า แต่ไทยยังมีปัจจัยบวกหลายด้าน เช่น
- การบริโภคภาคเอกชนน่าจะดีขึ้น เพราะรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น
- การลงทุนภาคเอกชนที่น่าจะขยายตัวเพราะต่างชาติย้ายฐานการผลิตมาในไทย รวมถึงความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ในโครงสร้างพื้นฐาน
จิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย บอกว่า เมื่อการคาดการณ์ GDP ต่ำลงอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของกิจการ เพราะบางบริษัทจะวางแผนงานการผลิตสินค้าจาก GDP ที่คาดการณ์ตั้งแต่ต้นปี หาก GDP จะปรับลดลงบริษัทต้องปรับตัวให้ทัน ส่วนรายย่อยจะได้รับผลกระทบจากเรื่องเงินเฟ้อมากกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับราคาสินค้าในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามธนาคารกรุงไทย ยังมองว่า GDP ไทยปี 2562 จะอยู่ที่ 3.9%
EIC ชี้เมื่อแบงก์ชาติมองเศรษฐกิจโตช้า ปีนี้อาจจะขึ้นดอกเบี้ยอีกแค่ 1 ครั้ง
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) บอกว่า ใบภาพรวมเชื่อว่า กนง.ตั้งใจจะลดระดั
“จังหวะเวลาที่ กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างเร็วที่
สรุป
การขยับดอกเบี้ยของแบงก์ชาติบางครั้งกลายเป็นการชี้นำตลาด เช่น เมื่อปลายปี 2561 ธปท.ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้ธนาคารพาณิชย์ ขยับดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นไปด้วย ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ชาติไทยมาจากทิศทางการขึ้น-ลงดอกเบี้ยของแบงก์ชาติในประเทศอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามถ้าแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจะเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจดูดีขึ้นแล้ว อาจจะเป็นผลดีทางอ้อมก็เป็นได้
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา