แบงก์ชาติมองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว แม้ปีนี้ GDP ต้องหั่นเหลือ 2.8% แต่คาดว่าปี 2567 จะโต 4.4% จากแรงส่งนโยบายรัฐ

วันนี้ (11 ต.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย Monetary Policy Forum ครั้งที่ 3 ปี 2566 โดยระบุว่า ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน (ม.ค. -ก.ย. 2566) มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 20 ล้านคน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ราว 5.7 ล้านคน ขณะที่อัตราการว่างงานและเสมือนว่างงานยังลดลงมาก เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 ปี 2563

ทั้งนี้แม้ปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวขึ้นแล้ว แต่ทางธปท. มีการปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยลงจากเดิมที่ 3.6% ลงมาสู่ระดับ 2.8% โดยสาเหตุที่การขยายตัวชะลอลงในปีนี้เนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศ และข้อมูลในไตรมาส 2 หมวดบริการปรับตัวลดลง (ยอดขายฐาน VAT หมวด Hotel & restaurant) โดยเครื่องชี้การบริดภคและภาคบริการอื่นๆ ยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตาม มองว่าแรงส่งหลักยังมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะต่ำกว่าที่ประเมินไว้เล็กน้อยจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่นักท่องเที่ยวสัญชาติอื่นยังฟื้นตัวดี

ทั้งนี้ ทางธปท. มองว่า ปี 2567 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น โดย GDP อยู่ที่ 4.4% (ปรับเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์เดิมที่ 3.8%) โดยการขยายตัวจะสูงขึ้นจากหลายแรงขับเคลื่อน และมีแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม มีตัวเลขประมาณการปี 2567 ที่เพิ่มขึ้นธปท. ได้แก่

  • อุปสงค์ในประเทศจะเพิ่มขึ้น 4.1% (จากเดิมคาด 3.2%) โดยมีการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 4.6% (จากเดิมคาด 2.9%)
  • การอุปโภคภาครัฐอยู่ที่ 1.4% (จากเดิมคาด 1.1%)
  • ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้นที่ 6.3% (จากเดิมคาด 5.5%)
  • มูลค่าการส่งออกสินค้า เพิ่มขึ้น 4.2% (จากเดิมคาด 3.6%)

ธปท. มองว่าการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวช่วงต้นปี 2567 ตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกและอุปสงค์สินค้าโลกที่ทยอยฟื้นตัว และยังมีนอกจากนี้แรงขับเคลื่อนหลักเป็นภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง
ขณะที่ตัวเลขประมาณการอื่นๆ ในปี 2567 จะทรงตัวหรือปรับลดลงเล็กน้อย

ด้านเงินเฟ้อ ช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. 2566 อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงและปัจจัยด้านอุปทาน รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และมองว่าช่วงที่เหลือของปีนี้จะยังคงอยู่ในระดับต่ำจากบานที่สูงและปัจจัยเฉพาะ

ทั้งนี้ แนวโน้มเงินเฟ้อปี 2567 อาจปรับเพิ่มขึ้นจากปีนี้ แต่ในภาพรวมเงินเฟ้อระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยต้องติดตามความเสี่ยงด้านสูง ได้แก่

  • แรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของเศรษฐกิจและ นโยบายภาครัฐ
  • ปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่อาจรุนแรงกว่าคาด และอาจทำให้ผู้ประกอบการ ส่งผ่านต้นทุนเพิ่มเติม ซึ่งยังทำให้แนวโน้มราคาอาหารโลกและไทยอยู่ในระดับสูง

ขณะที่ปัจจัยความเสี่ยงด้านต่ำ ได้แก่

  • เศรษฐกิจโลกที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด
  • มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐที่อาจมากกว่าที่คาด เช่น มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมันขายปลีก

ขณะเดียวกัน ธปท. ยังขยายความถึงการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับ การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว ทั้งนี้ การด าเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณา ให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่อาจได้รับ แรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ

โดยการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่

  • แรงส่งจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ
  • ผลกระทบเงินเฟ้อจากนโยบายรัฐอื่นๆ
  • ความต่อเนื่องการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ
  • ความผันผวนในตลาดการเงิน

หมายเหตุ: ทั้งนี้ใช้ประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจประเมิน ณ วันที่ 27 กันยายน 2566

ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา