Bluebik แนะเร่งทำ AI Transformation วิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงก้าวสู่ Data-Driven Organization

บลูบิค (Bluebik) แนะนำธุรกิจทำ AI Transformation ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัลเชิงลึกภายในองค์กรแบบเรียลไทม์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจที่มีความแม่นยำและคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ดีกว่าการตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณ (Gut Feeling) โดยต้องดำเนินการ 5 ด้าน เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Data-Driven Organization ประกอบด้วย

bluebik

  1. วางกลยุทธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์ให้เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ธุรกิจ (AI Strategy)
  2. ออกแบบกรณีศึกษาที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน (AI Use Case)
  3. วางโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Infrastructure)
  4. ปรับกระบวนการทำงานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Operations)
  5. สร้างความตระหนักและปรับวัฒนธรรมองค์กร (AI Culture)

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บอกว่า การทำ Digital Transformation ไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป นับจากนี้ต้องเริ่มสร้างความแตกต่างด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจได้ดีกว่ามนุษย์มายกระดับกระบวนการทำงานที่มีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน (AI Transformation) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การทำความสะอาดและกำจัดข้อมูลที่ไม่จำเป็น (Data Cleansing) และการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลพร้อมสำหรับการใช้งาน (Data Digitization) เพื่อช่วยวางกลไกของระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automation) ภายในองค์กรให้มีความฉลาดและเฉียบคมมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องตอบโต้หรือสั่งงานจากมนุษย์ในทุกครั้งที่มีการทำงาน โดยเฉพาะกระบวนการทำงานที่มีรูปแบบเดิมซ้ำๆ มีความเฉพาะเจาะจง หรือมีการกำหนดขั้นตอนและตัวแปรต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน

bluebik

สำหรับองค์กรที่ต้องการก้าวไปสู่การเป็น Data-Driven Organization ที่ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจและมีการวางผังโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเชื่อมโยงและบริหารจัดการบิ๊กดาต้านั้น ต้องเร่งเสริมศักยภาพด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กร (AI Transformation) เพื่อเพิ่มความแม่นยำและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน โดยต้องดำเนินการ 5 ด้าน ดังนี้

  1. วางกลยุทธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์ให้ชัดเจน(AI Strategy) และเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ (Business Strategy) ซึ่งจะเป็นการกำหนดบทบาทว่าจะนำ AI เข้ามาปรับใช้กับกระบวนการทำงานใดที่จะสามารถสร้างมูลค่าได้มากที่สุด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว
  1.  ออกแบบกรณีศึกษาที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน (AI Use Case) โดยพิจารณาว่าองค์กรมีรูปแบบธุรกิจอย่างไร แหล่งรายได้มาจากที่ใด มีต้นทุนการดำเนินงานเท่าใด และข้อมูลที่ได้จากแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย AI ได้หรือไม่ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการริเริ่มกรณีศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Feasibility Assessment) ที่สามารถแก้ไขข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจได้จริง และเป็นช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างรายได้
  1.  วางโครงสร้างพื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Infrastructure) เพื่อรองรับกระบวนการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน เนื่องจากจะช่วยให้การบริหารจัดการและพัฒนากรอบการดำเนินงานเกี่ยวกับ AI ในอนาคตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มหรือขยายระบบได้อย่างยืดหยุ่นในระยะยาว
  1. ปรับกระบวนการทำงานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Operations)ด้วยการวางนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน AI ภายในองค์กรให้ชัดเจนและสรรหาบุคลากรเฉพาะทางเข้ามารับผิดชอบงาน เพื่อให้สามารถนำ AI ไปยกระดับการดำเนินงานได้จริง อาทิ การกำหนดหลักการด้านจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติในการใช้ AI บนพื้นฐานของ ธรรมาภิบาล (Data Governance) และการผสานการทำงานของฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญด้าน AI – Data ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (MLOps)
  1.  สร้างความตระหนักและปรับวัฒนธรรมองค์กร (AI Culture) เพื่อให้พนักงานเกิดทัศนคติว่าศาสตร์ด้านข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะยกระดับกระบวนการทำงานให้มีความแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ทุกแผนกมีส่วนร่วมในการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย AI มาปรับใช้กับการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ หรือการตัดสินใจทางธุรกิจ ควบคู่กับการกระตุ้นให้พนักงานเร่งพัฒนาทักษะของตนเอง (Reskill – Upskill) เพื่อปรับบทบาทมาเป็นผู้กำหนดนโยบายและควบคุมฟังก์ชันต่างๆ ของ AI

bluebik

การทำ AI Transformation นั้นมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้องค์กรธุรกิจ บลูบิคสามารถพิจารณาแนวทางเพื่อให้การทำ AI Transformation ให้ประสบความสำเร็จผ่านบริการ ดังนี้

  1. ออกแบบยุทธศาสตร์ (StrategicPlanning) ในการนำปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้อย่างสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจผ่านการศึกษารูปแบบธุรกิจของลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อมองหาโอกาสที่จะนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ ให้กับองค์กร
  1. ขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างมีกลยุทธ์ (StrategicImplementation) จนสำเร็จลุล่วง โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (Data Infrastructure) ให้สามารถจัดเก็บได้อย่างเป็นระบบและง่ายต่อการนำไปใช้งาน และสร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Model) เพื่อให้เข้าใจว่าข้อมูลดังกล่าวจะสามารถสร้างความได้เปรียบให้องค์กรอย่างไรในอนาคต
  1. ปรับปรุงและพัฒนาแผนการดำเนินงานด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อช่วยสนับสนุนให้องค์กรที่มีกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ชัดเจนแล้วสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ (Strategic Support) พร้อมทั้งดูแลและควบคุมการขับเคลื่อนแผนงานนั้นจนสำเร็จลุล่วง

“การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้องค์กรเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงและมองเห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ อาทิ แนวโน้มความสนใจของลูกค้าในผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในอนาคต โดยจากประสบการณ์ของบลูบิคที่ได้เข้าไปช่วยขับเคลื่อนแผนงานด้านปัญญาประดิษฐ์ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งระบบงานหน้าบ้าน (Front-office) และระบบงานหลังบ้าน (Back-office) พบว่าหลายองค์กรมีอัตราการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10 – 50% และสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีนัยสำคัญ จนนำมาซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)  ที่ยอดเยี่ยม”

bluebik

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา