Bloomberg จัดอันดับไทย: เดือนกรกฎาคม 64 จัดการโควิดแย่กว่าที่เคยประเมินไว้

ก่อนหน้านี้ Bloomberg ก็จัดอันดับการรับมือโควิดจาก 53 ประเทศถึงความสามารถในการฟื้นฟูประเทศเพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยแบ่งเป็นคะแนนเป็นสามส่วนหลัก คือความสามารถในการกลับมาเปิดประเทศ สถานการณ์โควิด คุณภาพของชีวิต ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ก็จะมีแยกย่อยออกไปอีก

หลังการจัดเก็บข้อมูลและใช้คะแนนวัดผลของ Bloomberg เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า 3 อันดับแรกคือสหรัฐอเมริกา, นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์จาก 53 ประเทศ แต่เดือนกรกฎาคมนี้ระดับคะแนนเปลี่ยนแปลงเป็น อันดับ 1 นอร์เวย์ (ขึ้นมาจากเดิม 10 อันดับ) อันดับ 2 สวิตเซอร์แลนด์ (ขึ้นมาจากเดิม 1 อันดับ) และอันดับ 3 นิวซีแลนด์ (ลดลงจากเดิม 1 อันดับ ส่วนสหรัฐอเมริกาตกไปอยู่อันดับที่ 5 (ลดลงไป 4 อันดับ จากอันดับที่ 1)

การจัดอันดับความยืดหยุ่นของแต่ละประเทศในการรับมือโควิดนั้นจะทำเป็นประจำทุกเดือนเพื่อสำรวจสถานการณ์รับมือโควิด-19 ของแต่ละประเทศ ที่ส่งผลอย่างมากต่อสังคมและเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งก็พบว่ามีความผันผวนในหลายประเทศ มีทั้งอันดับที่เลื่อนขึ้นมาดีขึ้นและเลื่อนอันดับไปในระดับที่แย่ลง ยกตัวอย่างอันดับที่แย่ลงอย่างมากเช่น อังกฤษในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่อันดับ 25 (ลดลง 16 อันดับจากเดือนมิถุนายน) อิสราเอลอันดับที่ 17 (ลดลง 13 อันดับ) สเปนอันดับที่ 20 (ลดลง 14 อันดับ) นี่คือตัวอย่างคร่าวๆ ของการตกอันดับในหลายประเทศ

ข้อมูลนี้ก็ไม่ได้มีแค่ประเทศที่มีการจัดการโควิดแย่ลงเท่านั้น ยังมีหลายประเทศที่จัดการโควิดดีขึ้น เช่น เนเธอร์แลนด์ได้คะแนนอันดับที่ 14 (เพิ่มขึ้น 8 อันดับ) ไอร์แลนด์อยู่อันดับที่ 8 (เพิ่มขึ้น 19 อันดับ) เยอรมนีอันดับที่ 12 (เพิ่มขึ้น 16 อันดับ) ออสเตรียอันดับที่ 6 (เพิ่มขึ้น 19 อันดับ) เป็นต้น

ไทยตกจากอันดับที่ 39 เป็นอันดับที่ 41

มาดูไทยบ้าง ไทยอยู่อันดับที่ 39 ในเดือนมิถุนายน ตกมาอยู่ที่อันดับ 41 ในเดือนกรกฎาคม ถือว่าลดลงมา 2 อันดับ โดยมีคะแนนดังนี้

Bloomberg Resilience Score: Reopening Progress

  • คะแนนความยืดหยุ่นที่ Bloomberg จัดอันดับให้อยู่ที่ 52.6 คะแนนถือว่าเป็นอันดับคะแนนที่แย่ลง
  • อัตราส่วนประชาชนที่ฉีดวัคซีนแล้วครอบคลุม 11.5% (ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการวัคซีน) ผลที่ได้: แย่ลง
  • มีการล็อคดาวน์ที่แย่ลง 56 (สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้รับผลกระทบจากการใช้นโยบายจำกัดของรัฐบาลมากเพียงใด ชีวิตของประชาชนถูกดิสรัปจากสิ่งนี้มากเพียงใด) ผลที่ได้: ดีขึ้น
  • มีศักยภาพในการบิน -86.3% (อัตรากรเปลี่ยนแปลงของศักยภาพเที่ยวบินในประเทศในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019) ผลที่ได้: แย่ลงอย่างมาก
  • 196.5 (คะแนนที่มาจากจำนวนเส้นทางการเดินทางที่เปิดให้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศนั้นมีการเดินทางจากนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนเพียงใด ซึ่งเกี่ยวข้องกับเที่ยวบินไป-กลับ การตั้งข้อกำหนดให้มีการกักกันโรคด้วย) ผลที่ได้: แย่ลง

สถานการณ์โควิด-19 ในไทย

  • ไทยได้รับคะแนนอยู่ที่ 52.6 คะแนน
  • คนติดเชื้อต่อ 384 คนต่อ 100,000 คนใน 1 เดือน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • 0.9% คืออัตราการตายจากการติดเชื้อภายใน 3 เดือน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • จำนวนคนเสียชีวิต 59 คนต่อ 1 ล้านคน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • ผลตรวจเป็นบวกคิดเป็นอัตรา 3.6% (มีทิศทางที่ดีขึ้น)

คุณภาพชีวิตของประชาชน

  • การเคลื่อนย้ายของคน เช่นการเคลื่อนย้ายของคนไปออฟฟิศ ไปห้างค้าปลีกเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด ไทยได้คะแนน -15.9% (แย่ลง)
  • คาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปี 2021 ไทยได้คะแนน 2.1% (แย่ลง)
  • ระบบสาธารณสุขที่สะท้อนประสิทธิภาพในการรับมือโรคระบาด ทั้งมาตรการป้องกัน เช่น การรับวัคซีนในวัยเด็ก ไปจนถึงการดูแลผู้ป่วยหนัก เช่น โรคมะเร็ง ไทยได้ 72 คะแนน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นตัววัดความสุขหรือความกินดีอยู่ดีของประชากรที่วัดจากมาตรการ 3 ข้อสำคัญคือ อายุขัย การเข้าถึงการศึกษา และรายได้ต่อหัว ไทยได้ 0.78 คะแนน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)

[Quality of Life]
จากการจัดอันดับทั้งหมด 53 ประเทศ พบว่า สำหรับไทยพบว่าถูกจัดอันดับประเทศที่มีความยืดหยุ่นในการฟื้นตัวได้แย่ลง อัตราการฉีดวัคซีนแย่ลง มีการล็อคดาวน์ที่มีสภาพดีขึ้นกว่าเดือนมิถุนายน มีศักยภาพการบินแย่ลง มีการกำหนดเส้นทางการบินสำหรับประเทศที่เป็นขาเข้าประเทศและขาออกประเทศที่ได้รับวัคซีนที่แย่ลง

ส่วนสถานการณ์โควิดทั้งการติดเชื้อต่อ 100,000 คนมีอัตราที่ดีขึ้น อัตราการตายภายใน 3 เดือน จำนวนคนเสียชีวิต 59 ต่อ 1 ล้านคน และผลตรวจเป็นบวก มีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกันคุรภาพชีวิตของคนแย่ลง ทั้งเรื่องการเคลื่อนย้ายของคนในสังคมหมายถึงการเดินทาง การเติบโตทางเศรษฐกิจก็แย่ลง ส่วนมาตรการป้องกันโรคระบาดและการพัฒนามนุษย์อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น (ข้อมูลอัพเดตในวันที่ 27 กรกฎาคม)

จากทั้ง 53 ประเทศนี้พบว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุดเพราะอยู่ในอันดับที่ 53 มีคนเสียชีวิตรายวันมากกว่า 1,300 คนต่อวันและขาดแคลนทรัพยากร เหมือนกับประเทศฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ มาเลเซียที่อยู่อันดับต่ำเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะขาดความสามารถในการเข้าถึงวัคซีนด้วยส่วนหนึ่ง

ที่มา – Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา