ช่วงราวๆ ปี 2021 กระแสของ Crytocurrency ถูกพูดถึงกันอย่างหนาหูมากๆ ตามการปรับตัวของ BitCoin ที่ทะยานขึ้นไปสู่ 2 ล้านบาท สร้างความสนใจให้กับผู้คนมากมายจนมีหลายคนกระโดดเข้ามาสู่วงการ Crypto มากขึ้นและก็ต้องได้ยินคำว่า Blockchain ไปพร้อมๆ กับคำว่า Crypto ด้วยเช่นกัน จากนั้นในช่วงเลือกตั้งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา คำว่า Blockchain ได้กลับมาอยู่ในความสนใจของทุกคนอีกครั้งเมื่อพรรคเพื่อไทยชูนโยบายแจกเงินดิจิทัลผ่านระบบ Blockchain จนหลายคนเริ่มสงสัยว่าทำไมต้องเป็น Blockchain แล้วสรุป Blockchain มันคืออะไร บทความนี้จะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจกับที่มาและคำว่า Blockchain กันมากขึ้น
Blockchain คืออะไร
Blockchain คือเทคโนการจัดเก็บข้อมูลและฐานข้อมูลแบบไม่พึ่งพาตัวกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใส น่าเชื่อถือ ตรวจสอบย้อนหลังได้ง่ายและไม่เสี่ยงต่อการถูกแก้ไขข้อมูลอย่างไม่ได้รับอนุญาตในภายหลัง
การเก็บข้อมูลของ Blockchain จะกระทำในรูปแบบของการจัดเก็บ Transaction หรือข้อมูลชุดหนึ่งไว้ใน Block คล้ายกับกล่องใบหนึ่ง จากนั้นปิดกล่องทำการเข้ารหัส Hash เอาไว้แล้วก็ทำแบบนี้ซ้ำๆ ต่อกันไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นลูกโซ่หรือ Chain นั่นเอง ซึ่งหากมองเป็นภาพใหญ่ จะพบว่าการที่เราจะกลับไปเปิดกล่องเพื่อแก้ไขข้อมูลนั้น นอกจากจะต้องถอดรหัสก่อนเปิดข้อมูลของ Block นั้น หากมีการแก้ไขข้อมูลโดนพละการหรือมีการไขรหัสของกล่องจะส่งผลให้เกิดผลตามมาใน Block ต่อๆ มาซึ่งจะทำให้รู้ว่าข้อมูลใน Block ไหนเกิดความผิดพลาดเพราะเหตุใด ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี Blockchain มีความปลอดภัยและโปร่งใสสูงมาก
ข้อดี ข้อเสียของ Blockchain
ด้วยความที่ Blockchain คือการกระจายให้อุปกรณ์ทุกเครื่องในเครือข่ายนั้นจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดียวกันทำให้ยากต่อการแก้ไขข้อมูลเนื่องจากต้องไล่แก้ไขข้อมูลทุกเครื่องในเครือข่ายเพราะแม้จะแก้ไขข้อมูลเครื่องใดเครื่องหนึ่งก็ไม่ได้ทำให้ข้อมูลทั้งหมดในระบบเปลี่ยนแปลงทั้งหมด นอกจากนี้ในส่วนของ transparency นั้น ระบบ Public Blockchain สามารถเพิ่มความโปร่งใสให้กับการเผยแพร่ข้อมูลได้ เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ ไม่มีการแอบแก้ไขข้อมูลย้อนหลังเนื่องจากหากมีการแก้ไขข้อมูลจะทำให้เกิดการ spot เจอความผิดพลาดได้ในที่สุดและยังสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่ามีการบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้องหรือไม่
แต่แม้ Blockchain จะมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการ Maintenance นอกจากนี้ยังข้อดีที่อาจจะกลายเป็นข้อเสียในช่วงแรกที่มีการ Implement ก็คือการที่จะ investigate สาเหตุที่เกิดขึ้นในระบบอาจจะทำได้ยากเนื่องจากมีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนมากกว่าปกติ
ตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้งาน
Blockchain กับสุขภาพ
จะดีแค่ไหนถ้าเราไปโรงพยาบาลแล้วไม่ต้องเสียเวลากับการลงทะเบียนกรอกประวัติใหม่กับโรงพยาบาลทุกครั้งหรือแม้แต่ประวัติการรักษาที่สามารถตรวจสอบได้จากทุกเครือโรงพยาบาลเพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง รวมทั้งข้อมูลสุขภาพของเราที่ถูกเก็บผ่าน Blockchain ผ่าน Smart Device อื่นๆ
Blockchain กับการเงิน
การทำธุรกรรมทางการเงินแม้จะมีการพัฒนาการที่ก้าวกระโดดอย่างมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้ามาของ Cryptocurrency ทำให้วงการธนาคารสั่นสะเทือนอยู่ไม่น้อยในฐานะที่เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมต่างๆ ที่ได้รับค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมเป็นหนึ่งในช่องทางสร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเวลาที่ Blockchain นั้นทำได้เร็วมากกว่าเดิม และมากกว่าการทำธุรกรรมผ่านตัวกลางอย่างธนาคารค่อนข้างมาก
Source: FINNOMENA , zipmex , Bitkub , Techsauce , moneybuffalo
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา