ธุรกิจคิดใหม่! BLA ชี้เทรนด์ Aging Society เมื่อคนไทยอายุยืนขึ้นประกันเลยสำคัญ

ไม่ว่าไปที่ไหน เราก็ได้ยินคำว่า สังคมสูงวัย หรือ ประเทศที่มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปเกินกว่า 7% ของประชากรทั้งหมด แน่นอนว่ามีผลกระทบมากมาย ว่าอนาคตไทยเราจะมีคนสูงวัย 4 คน ต่อวัยแรงงาน 1 คน แล้วใครจะจ่ายภาษีดูแลเรากัน ดังนั้นการดูแลตัวเองก็ต้องเตรียมเงิน และทรัพย์สินไว้ใช้หลังเกษียณ ประกันชีวิตเลยกลายเป็นตัวเลือกสำคัญในภาวะนี้

ภาพจาก Shutterstock

จับจุด Aging Society ดันโปรดักส์คุ้มครองออมเตรียมเกษียณ

.. จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต (BLA) บอกว่า ตองยอมรับว่าคนไทยเรามีอายุยืนยาวขึ้น อย่างเมื่อกลางปี 2561 ที่ผ่านมา ภาครัฐมีการปรับตารางมรณะ (ส่วนประกอบในการคิดเบี้ยประกันชีวิต) เพราะปัจจุบันคนไทยอายุขัยเฉลี่ยยาวถึง 74 ปี ถ้าแบ่งตามเพศได้แก่ ผู้หญิง 78 ปี และผู้ชายที่ 71 ปี

ส่วนหนึ่งก็เพราะเทคโนโลยีการรักษา การดูแลสุขภาพพัฒนาขึ้นดีขึ้น ทำให้คนอยู่ยาวขึ้น ต่อไปอาจจะมีอายุขัยเฉลี่ย 80 ปี!! แน่นอนว่าต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายส่วตัว ภาครับก็ต้องเตรียมตัวรับกับ Aging Society ที่เพิ่มขึ้นด้วย เพราะตอนนี้ครอบครัวคนไทยมีอัตราการเกิดแค่ 1.2-1.3% เท่านั้น สังคมไทยเลยจะกลายเป็น Super Aging 

คนไทยปัญหา คือ ลืมการออมเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งอาจจะเพราะภาพลักษณ์ของประกันที่ดูไม่ดี เราก็ต้องปรับตัวเรื่องนี้ และปรับให้ตัวแทนเรามีความรู้มากขึ้นพอที่จะตอบโจทย์ลูกค้าได้ ซึ่งการแข่งขันตลาดประกันชีวิตก็สูง เพราะภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้สร้างผลตอบแทนได้น้อยลง ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาคนก็สนใจน้อยลง แต่ตลาดในไทยยังมีช่องว่างให้เข้าถึง เช่นประกันอุบัติเหตุ คนไทยมีไม่ถึง 10% เราก็ต้องเล่นให้ถูกจุด”

ดังนั้นคนที่จะออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ จุดสำคัญคือช่วงระยะเวลาในการเริ่มออมเงิน ฟากบริษัทประกันชีวิต เราพยายามสร้างผลตอบแทนจากเบี้ยที่ลูกค้าส่งเข้ามา ซึ่งเราต้องพูดคุยกับผู้กำกับหวังว่าจะเพิ่มเพดานการลงทุนบางส่วนให้ผลตอบแทนสูงขึ้น และไปถึงลูกค้าได้มากขึ้น

ภาพจาก Shutterstock

ผู้บริหารใหม่-แผนงานใหม่-อนาคตไฉไลแน่ใน 3 ปี

.. จิรเศรษฐ  บอกว่า ธุรกิจประกันชีวิตยังสามารถเติบโตได้อีกเยอะ เพราะเรื่องความคุ้มครอง และหลักประกันในชีวิต คนไทยยังมีไม่ถึงครึ่งประเทศ ดังนั้นเลยกลายเป็นหน้าที่ของเราที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองลูกค้า เราต้องหาช่องทางใหม่ๆ ที่จะเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนาให้ดีขึ้นต่อเนื่อง

“หลังจากเข้ารับตำแหน่งที่ BLA เราก็เริ่มปรับแผนงานในหลายด้าน และตั้งเป้าหมาย 4 ด้าน คือ Be a Leader เป็นผู้นำตลาด Be a Professional เป็นผู้เชี่ยวชาญ Be Customer Centric มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางที่เราจะเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มได้มากขึ้น Be Innovative ปรับใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะแอพพลิเคชั่น เว็บไซด์หรือช่องทางใหม่ๆ เพื่อสื่อสารกับลูกค้า”

ภาพจาก Shutterstock

3 ปีนี้เราจะเห็นอะไรจาก BLA

3 ปีหลังจากนี้ หลักๆ สิ่งที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงคือ 1. เรื่องผลิตภัณฑ์จะเน้นไปที่แบบประกันระยะยาว ที่เป็นความคุ้มครอง และสุขภาพมากขึ้น จากอดีตที่เป็นประกันออมทรัพย์ที่เป็นระยะสั้น ส่วนหนึ่งเพราะต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้บริษัททำผลตอบแทนให้ลูกค้าได้ลดลง แต่ถ้าเป็นแบบระยะยาวบริษัทยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้ลูกค้าได้

2. ช่องทางการขายจะเปลี่ยนไป เพราะปัจจุบันช่องทางการขายหลัก คือ ช่องทางการขายผ่านธนาคาร อยู่ที่ประมาณ 70% ภายใน 3 ปีจะอยู่ที่ 40% เพราะเราไปเน้นช่องทางตัวแทนให้เติบโตขึ้นมาอยู่ที่ 40% จากปัจจุบันอยู่ที่ 20% และจะเน้นช่องทางการขายผ่านออนไลน์และอื่นๆ มาอยู่ที่ 20% จากปัจจุบันอยู่ที่ 10%

“เราจะสร้างตัวแทนมืออาชีพมากขึ้น ตอนนี้มีตัวแทนอยู่ที่ 16,000 คน ส่วนตัวแทนที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) อยู่ที่ 1,300 คน ต่อไปจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผ่านความร่วมมือกับ Partner ต่างๆ เช่น 3B Link อย่างธนาคารกรุงเทพ Nippon Life ฯลฯ และมีแอพฯ ต่างๆ จะเชื่อมโยงกันมากขึ้น”

ส่วนภายใน 3 ปีนี้เราน่าจะเห็น Unit Link (ประกันชีวิตพ่วงการลงทุนในกองทุนรวม) เกิดขึ้น ซึ่งเราสนใจอยู่ เพราะตัวแทนเราพร้อมแล้ว แต่ยังต้องทำระบบ การคุมความเสี่ยง ฯลฯ

สรุป

สังคมสูงวัยเกิดขึ้นแล้วไทย จะรอให้ภาครับมาดูแลเราตอนแก่ ….ไม่มีทาง ดังนั้นเลยกลายเป็นตลาดให้ประกันชีวิต และ BLA เข้ามาตอบสนองลูกค้า เช่น การออกแบบประกันที่ทำให้คนออมเงินได้มากขึ้น มีวินัยมากขึ้น และพร้อมที่จะใช้เมื่อเกษียณอายุไม่มีรายได้แล้ว แต่โจทย์ยากคือ ใครๆก็ ยี้ประกัน BLA ก็ต้องเพิ่มตัวแทนที่มีความรู้เพื่อให้คนกล้าที่จะซื้อ และซื้อแล้วดีพอ เหมาะสม ได้ใช้จริง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา