ตลาดความงามกลุ่ม CLMV โอกาสเติบโตสำหรับผู้ประกอบการไทย

ตลาดความงามในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 7.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2.51 แสนล้านบาท)1 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 7.6 %  มูลค่าการส่งออกมากถึง 2.59 พันล้านเหรียญสหรัฐ (83,036.8 ล้านบาท) โดยมีอาเซียน ญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลีย เป็นตลาดสำคัญ

ธุรกิจความงามของไทยในตลาดอาเซียนมีมูลค่ามากถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ2 โดยเฉพาะประเทศกลุ่มซีแอลเอ็มวี (CLMV) กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ซึ่งขณะนี้มีสินค้าความงามของไทยวางขายอยู่ในตลาดกว่า 40% และความร่วมมือเชิงรุกของทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการผลักดันให้ประเทศกลุ่มซีแอลเอ็มวีศูนย์กลางห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ยุคใหม่แห่งเอเชียและโลก ส่งผลให้ตลาดกลุ่มซีแอลเอ็มวีมีความน่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย

ประเทศกลุ่มซีแอลเอ็มวีมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว GDP per capita เติบโตโดยเฉลี่ย 5.6% ต่อปีในช่วงปี 2010 -2017 ประชากรมีรายได้และกำลังซื้อสูงขึ้น ชนชั้นกลางมีสัดส่วนมากขึ้น การขยายตัวของเมืองสอดคล้องกับสัดส่วนของประชากรที่อาศัยในเมืองที่เพิ่มขึ้น และโครงสร้างของประชากรเด็กและวัยทำงาน ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจความงาม

ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและออร์แกนิคเป็นเทรนที่มาแรงทั่วโลก รวมทั้งภูมิภาคอาเซียน และกลุ่มซีแอลเอ็มวี โดยเฉพาะเวียดนามมีความต้องการสินค้าด้านความงามเพิ่มขึ้น 300% 3 ภายในระยะเวลา 5 ปี สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รายงานว่าในปี 2554 เวียดนามนำเข้าเครื่องสำอางมูลค่า 515 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมาในปี 2559 มูลค่าเครื่องสำอางนำเข้าสูง 2.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ข้อมูลจากยูโรมอนิเตอร์ ปี 2560 ผลิตภัณฑ์ความงามสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องในเวียดนาม มีมูลค่าการเติบโต 11.5% คิดเป็นมูลค่า 1.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปีในช่วง ปี 2560 – 2065 และมีมูลค่า 2.18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2065 กรมศุลกากรเวียดนามรายงานยอดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากไทยในปี 2560 มีมูลค่า 82.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และผลิตภัณฑ์ความงามจากธรรมชาติที่นำเข้าจากไทยกำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคเวียดนาม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ระดับกลาง

เศรษฐกิจเมียนมาขยายตัวขึ้นจากการผ่อนปรนการคว่ำบาตร คาดการณ์ว่าจำนวนชนชั้นกลางจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในปี 2563กลุ่มข้าราชการจำนวน 1.5 ล้านคนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการที่รัฐบาลเพิ่มเงินเดือน 50% โครงสร้างประชากรเมียนมามากกว่าครึ่งมีอายุน้อยกว่า 30 ปี ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตของธุรกิจเครื่องสำอาง ข้อมูลจากสมาคมเครื่องสำอางเมียนมาเปิดเผยรายงานว่า ในเมียนมานำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศ 90% อีกทั้งพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามเปลี่ยนแปลงไปมากใน 2-3 ปีหลัง จากเดิมผู้บริโภคเป็นกลุ่มชนชั้นกลางวัยกลางคน แต่ปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่นและสูงอายุก็นิยมใช้สินค้าความงามเพื่อเสริมความงาม และเพื่อสุขภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน

แม้ตลาดกัมพูชายังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก แต่ถือว่าน่าจับตาเนื่องจากการไหลเข้าของแหล่งเงินทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นทุกปี4 นอกจากนี้ สินค้าอุปโภคบริโภคมีไม่มากนัก ส่วนมากนำเข้ามาจากไทย จีน และเวียดนาม ผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสกินแคร์ เครื่องสำอาง หรือครีมกันแดด ล้วนนำเข้าจากประเทศไทย โดยยอดการนำเข้าในปี 2557 อยู่ที่ประมาณ 404 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2556 เป็น 4.06 ล้านเหรียญสหรัฐ

นางสาวพีรยาพัณณ์  พงษ์สนาม ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการอาวุโส บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า “ตลาดซีแอลเอ็มวีขยายตัวอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างประชากร และความร่วมมือระหว่างรัฐ นับเป็นสัญญาณที่ดีในการที่จะทำให้กลุ่มซีแอลเอ็มวีเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่คุณค่ายุคใหม่แห่งเอเชียและโลกได้ไม่ยาก พฤติกรรมและลักษณะทางกายภาพของลูกค้าที่มีความคล้ายคลึงกับคนไทย รวมถึงความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการขนส่งต่ำ นอกจากนี้ลูกค้ากลุ่มซีแอลเอ็มวียังให้ความเชื่อถือในแบรนด์สินค้าไทยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ กอรปกับไทยมีสมุนไพรที่มีความเฉพาะตัว เทคโนโลยีการผลิต และการบรรจุหีบห่อที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้สินค้าไทยได้รับความนิยมจากลูกค้า พร้อมกันนี้แบรนด์สินค้าไทยยังมีโอกาสในการสร้างการรับรู้ให้แพร่หลายมากขึ้นจากการที่นักท่องเที่ยวกลุ่มซีแอลเอ็มวีเดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทย และได้ทดลองใช้สินค้า โดยใน 5 ปีที่ผ่านมากลุ่มนักท่องเที่ยวซีแอลเอ็มวีมีจำนวนเพิ่มขึ้น11.2% ต่อปี2 และได้ช้อปปิ้งสินค้าไทย โดยเฉพาะเครื่องสำอางและเครื่องดื่ม 33% ของการใช้จ่ายทั้งหมดระหว่างการท่องเที่ยว(ศูนย์ข้อมูลกสิกรไทย) ขณะที่เศรษฐกิจโลกในยุคสงครามการค้ามีความผันผวน ทำให้ไทยได้รับผลกระทบในฐานะที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่คุณค่า ผู้ประกอบการจึงควรเริ่มมองหาโอกาสธุรกิจในตลาดอาเซียน และกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีทีที่กำลังเติบโตนี้ด้วยเช่นกัน”

ศักยภาพธุรกิจความงามและสุขภาพในตลาดซีแอลเอ็มวี และอาเซียนเป็นโอกาสที่กำลังเติบโต สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจ สามารถมาหาโอกาสธุรกิจได้ที่งานบียอนด์ บิวตี้ อาเซียน แบงค็อก งานเทรดโชว์อันดับหนึ่งในด้านการแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านความงามและสุขภาพที่ครบวงจรที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 โดยแบ่งการจัดแสดงสินค้าออกเป็น 2 โซนคือ BBAB Supply Chain สำหรับนักธุรกิจที่มองหาผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางตั้งแต่ต้นน้ำ และBBAB Finished Products สำหรับนักธุรกิจที่มองหาสินค้าความงามพร้อมจัดจำหน่ายซึ่งเป็นปลายน้ำ

ในปี 2562 นี้ยังมีโซนพิเศษ Beauty Made in Thailand สำหรับธุรกิจเครื่องสำอางไทยโดยเฉพาะ ภายใต้ความร่วมมือจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย ในการจัดแสดงสินค้า และคุณค่าของแบรนด์ ผ่านวัฒนธรรมไทยไปสู่ผู้เข้าร่วมงานจากประเทศต่างๆ พร้อมกันนี้ผู้ประกอบการจะมีโอกาสในการเจรจาธุรกิจ และแลกเปลี่ยนความรู้กับบริษัทนำเข้าและส่งออกสินค้าความงามชั้นนำทั้งภายในประเทศไทยและต่างประเทศ ในปีนี้คาดว่าจะมีกว่า 80บริษัทจากกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีเข้าร่วมชมงาน อีกทั้งยังมีโอกาสได้สร้างเครือข่าย หรือความสัมพันธ์กับหน่วยงานด้านเศรฐกิจในประเทศซีแอลเอ็มวี อาทิ สมาคมเครื่องสำอางเมียนมาร์ สมาคมเครื่องสำอางลาว สมาคมน้ำมันหอมระเหยและเครื่องสำอางอโรมาเวียดนาม บริษัทนำเข้าและส่งออกสินค้าอุปโภคและบริโภคชั้นนำ ห้างสรรพสินค้า กลุ่มธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง กลุ่มธุรกิจโรงแรมและสปา

Beyond Beauty ASEAN – Bangkok 2019 จะจัดขึ้นในวันที่ 19 – 21 กันยายน 2562 ณ อาคาร 9 – 12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.beyondbeautyasean.com

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา