ผลประกอบการ ธนาคารกรุงเทพ-กรุงศรีอยุธยา-ทีเอ็มบีธนชาต ประจำปี 2565

มาแล้ว ฤดูรายงานผลประกอบการธนาคารทั้งหลายของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีฯ และธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ประจำปี 2565

BBL, Krungsri, TTB

ธนาคารกรุงเทพ กำไรเพิ่มขึ้น 10.6% หรือ 29,306 ล้านบาท

ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิสำหรับปี 2565 จำนวน 29,306 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 24.4% ของปริมาณเงินให้สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2.42% สอดคล้องกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ย

ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง 30.0% รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงจากธุรกิจหลักทรัพย์และบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวม ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมจากการอำนวยสินเชื่อและบริการการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ธนาคารเตรียมตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตคาดว่าจะเกิดขึ้น 32,647 ล้านบาท ลดลง 4.4% จากปีก่อน

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,682,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% มีเงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 จำนวน 3,210,896 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากสิ้นปี 2564

อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับากอยู่ที่ 83.5% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ 19.1%, 15.7% และ 14.9% ตามลำดับ อยู่ในระดับสูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

คาดการณ์ ปี 2566

เศรษฐกิจไทยยังคงเชิญความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ท่ามกลางดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก ความไม่แน่นอนจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังยืดเยื้อ แต่การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 20 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% เทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19

BBL

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กำไรเพิ่มขึ้น 20% หรือ 30,713 ล้านบาท

เงินให้สินเชื่อของกรุงศรีเติบโตทั่วถึง ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ปี 2565 กำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติในปี 2565 จำนวน 30,713 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.9% หรือ 5,104 ล้านบาท จากปี 2564 ปัจจัยหลักมาจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ สอดคล้องการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปรับตัวดีขึ้น กำไรสุทธิจากการขายหุ้นของบริษัท เงินติดล้อ ลดลง 9.1% หรือ 3,081 ล้านบาท

เงินให้สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น 3.1% หรือจำนวน 59,033 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2564 เพิ่มขึ้นครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัว 3.8% และ 5.3% ตามลำดับ

เงินรับฝาก เพิ่มขึ้น 1.4% หรือจำนวน 25,553 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม ปี 2564 มีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวดีขึ้นจาก 3.24% เป็น 3.45% ในปี 2564

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากการดำเนินงานตามปกติ ลดลง 4.6% หรือ 1,561 ล้านบาท จากปี 2564 หากรวมรายการพิเศษจากกำไรเงินลงทุนขายหุ้นของเงินติดล้อ ปี 2564 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 12,288 ล้านบาทหรือ 27.4%

อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้อยู่ที่ 43.8% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานตามปกติ (ไม่รวมกำไรจากการขายหุ้นเงินติดล้อ) ที่ 43.2% ในปี 2564 ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อยู่ที่ 2.32% เมื่อเทียบกับ 2.20% ปี 2564 ส่วนอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ในระดับแข็งแกร่ง 167.4% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคารอยู่ที่ 17.97% ลดลงจาก 18.53% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564

คาดการณ์ ปี 2566

ปี 2566 มีหลายตัวแปรด้านความเสี่ยง ทั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย แต่การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะยังคงเป็นแรงสนับสนุนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย กรุงศรีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ในอัตรา 3.6% ในปี 2566

Krungsri

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (TTB) กำไรเพิ่มขึ้น 36% หรือ 14,195 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง มีกำไรสุทธิรวม 14,195 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากปี 2564 ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังดูแลได้ดี โดยอัตราส่วนหนี้เสียอยู่ที่ 2.73% ลดลงจากปีที่แล้วและต่ำกว่ากรอบที่วางไว้

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 เงินฝากอยู่ที่ 1,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% จากไตรมาสก่อน และ 4.5% จากปี 2564 ด้านสินเชื่ออยู่ที่ 1,376 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 1.3% เนื่องจากมีการชำระหนี้คืนจากธุรกิจรายใหญ่ ทั้งปียังคงเพิ่มขึ้น 0.4% YTD เป็นผลมาจากการเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวัง เน้นที่สินเชื่อรายย่อยเป็นหลัก นำโดยสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

รายได้มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 4 อยู่ที่ 13,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% QoQ หนุนโดยการเติบโตของสินเชื่อรายย่อยและการบริหารต้นทุนทางการเงินหลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 4,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.7% QoQ จากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น ปี 2565 ธนาคารมีรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 65,852 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% จากปีก่อนหน้า ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 29,952 ล้านบาท ลดลง 4.1% YoY อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงอยู่ที่ 45% ลดลงจาก 48% ของปี 2564

TTB

ที่มา – BBL, Krungsri, TTB

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา