เปิดมุมมอง บัณฑูร ล่ำซำ หลังลงจากตำแหน่งที่ KBANK กังวลความสามารถในการแข่งขันของคนไทย

บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณของธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงเรื่องต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม แต่ความกังวลใหญ่คือเรื่องความสามารถในการแข่งขันของไทยหลังจากนี้

Banthoon Lamsam (บัณฑูร ล่ำซำ)

บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยมุมมองหลังลาออกจากประธานบอร์ดของธนาคาร โดยหลังจากนี้จะเน้นงานสำคัญคือเรื่องการฟื้นฟูป่าที่จังหวัดน่าน ขณะเดียวกันก็ได้เตือนถึงเรื่องความเสี่ยงที่มีรอบตัวอยู่ตลอดเวลา โดยยกถึงเรื่องวิกฤติ COVID-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยทันที แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะดีกว่าในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งก็ตาม

นึกถึงอดีตปี 40

ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึง วิกฤติ COVID-19 ทำให้ย้อนไปถึง 20 ปีที่แล้ว วิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศล่มสลาย แต่ประเทศไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ประทานพระราชดำรัสให้แก่คนไทยทั้งประเทศในช่วงวันที่ 4 ธันวาคม ทรงกล่าวถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และทรงตรัสถึงในเรื่องปัญหา และทางออก รวมไปถึงการเตรียมตัวในการรับมือวิกฤติ

บัณฑูร ยังได้เล่าถึงพายุต่างๆ เช่น ภัยจากเศรษฐกิจ การทะเลาะกันของผู้คน ภัยจากธรรมชาติ พูดถึงเศรษฐกิจขึ้นมาเยอะ ว่าพายุมาได้จากโรคระบาด และยังมีพายุจากเรื่องอื่นๆ ว่าประเทศไทยนั้นสามารถที่จะรับมือจากพายุเหล่านี้ได้หรือเปล่า

เศรษฐกิจไทย

สำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น บัณฑูร มองว่า จากที่ดูๆ มาตรการของรัฐบาลที่ใส่ลงไปแล้วก็ถือว่ายังมีมาตรการป้องกันเศรษฐกิจไปแล้ว 1 ชั้น ถือว่าดีกว่าในปี 2540 แต่จะรับมือได้หรือไม่ยังไม่แน่ใจ เพราะต้องรอให้เจอวิกฤติก่อน แต่ต้องรอดูว่า COVID-19 จะลากยาวแค่ไหน ซึ่งบัณฑูรมองว่ายังมีความหวังที่จะสกัดได้

ขณะที่ธุรกิจของธนาคารกสิกรไทยนั้น บัณฑูร ได้กล่าวว่า ธนาคารกลับมาได้ดี แต่จริงๆ ไม่ใช่เช่นนั้นหรอก ความเสี่ยงมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าความเสี่ยงถ้าหากทำจนเกินตัวอาจทำให้ธนาคารเสียหาย แต่ครั้งนี้ธนาคารพาณิชย์รับมือได้ เพราะมีทุนสำรองไว้

บัณฑูร ได้กล่าวถึงสิ่งที่กังวลสุดคือ หลังจากนี้ประชาชนก็ต้องกลับมาทำมาหากิน แต่เรื่องใหญ่ที่สุดคือวิธีทำมาหากินหลังจากนี้ และประเทศไทยจะแข่งขันยังไงหลังจากนี้ ถือว่าเป็นพายุตัวใหม่ เพราะไม่งั้นแล้วธนาคารก็อยู่ไม่ได้ ขณะที่งบวิจัยและพัฒนาก็มีน้อยลงหลังจากนี้ มองว่าบริษัทใหญ่ๆ ยังมีงบที่ทำได้

สำหรับวิกฤติ COVID-19 บัณฑูร มองว่าระบบการเงินจะตึงตัว แต่ยังเชื่อว่ารับมือได้

Banthoon Lamsam (บัณฑูร ล่ำซำ)

น่านโมเดล

เรื่องของการเกษตร บัณฑูร ยังได้กล่าวว่า ต้องหาความรู้ใหม่ในการทำการเกษตร ไม่ใช่แค่เรื่องปลูกป่าอย่างเดียว ป่ากับคนต้องอยู่ให้ด้วยกัน ขณะเดียวกันก็ต้องหาองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหาจังหวัดน่าน ขณะเดียวกันก็มองว่าหลายๆ ที่ยังใช้วิธีเดิมๆ ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ทำประกันราคาแบบเดิมๆ เกษตรกรก็ยังจนเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังได้กล่าวเสริมว่าโครงการที่จังหวัดน่านทำได้เพราะรัฐเปิดทางให้ทำ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมองว่าการรักษาป่าที่จังหวัดน่านเป็นงานท้าทายที่สุด

ชีวิตหลังนายธนาคาร

ขณะที่ชีวิตหลังจากก้าวลงจากตำแหน่งประธานบอร์ดนั้น บัณฑูร กล่าวว่า เป็นฉากใหม่ของชีวิตหลังจากเป็นนายธนาคารกว่า 40 ปี ซึ่งพอสมควรแก่เวลา และมั่นใจในทีมงานชุดบริหารตอนนี้ ขณะเดียวกันก็มองธนาคารเป็นผู้สนับสนุนโครงการที่บัณฑูรจะทำหลังจากนี้ นอกจากนี้ยังกล่าวติดตลกว่าก็ยังป้วนเปี้ยนแถวๆ ธนาคารบ้าง มองว่าไม่มีบัณฑูรธนาคารก็ยังบริหารไปได้ มีความสุขที่ส่งต่อตำแหน่งให้

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประธานบอร์ดคนใหม่นั่นก็คือ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีท่องเที่ยวฯ โดยมองว่าประธานคนใหม่อย่างกอบกาญจน์นั้นเก่งมาก มีประสบการณ์ด้านเอกชนและรัฐมาแล้ว นอกจากนี้ยังมองเรื่องการมีคุณธรรมจริยธรรมที่มีอยู่ในตัวของกอบกาญจน์

ทางด้านของ ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการคนใหม่นั้น มองว่าเป็นคนใจดี มีคนรัก มีความเฉียบคมในเรื่องการจัดการ และเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะรับบทบาทนี้ นอกจากนี้ยังมองว่าธนาคารกสิกรไทย มีบุคคลากรที่มีคุณภาพ และมองว่าการลงจากตำแหน่งตอนนี้ถือว่าท้าทายมาก เป็นช่วงเวลาที่ได้ทดสอบฝีมือจริงๆ

นอกจากนี้ยังได้ฝาก 4 ข้อให้ผู้บริหารคนใหม่ของธนาคารว่า อย่ามั่ว อย่าไม่คำนวณ อย่าชุ่ย อย่าเหยียบเท้ากัน

เรื่องอื่นๆ

  1. บัณฑูร กล่าวว่า ประธานกิตติคุณเป็นแค่ฉายา ไม่ได้มีงานทำ ขอขอบคุณธนาคารที่ยังยกย่อง ถ้าหากธนาคารจะปรึกษาอะไรก็ถามได้ ไม่ได้นั่งประชุม ไม่ได้ไปร่วมฟัง ปล่อยให้คนรุ่นใหม่ทำงานไป
  2. เขาเองได้ชี้ถึงรัฐบาลต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ถ้าแก้วิธีเดิมไม่ได้ต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา
  3. บัณฑูร ได้กล่าวว่าไม่เล่นการเมืองแน่นอน แต่ถ้าถามว่าจะทำงานกับภาคการเมืองไหมก็คงทำ
  4. มองว่าสิ่งที่ธนาคารสนับสนุนเรื่ององค์ความรู้ที่ต่อยอดได้คือเรื่องของไอที สามารถไปช่วยเรื่องทำมาหากินได้ในอีกรูปแบบหนึ่งได้
  5. มองข้อด้อยของ KBANK เหมือนสถาบันการเงินอื่นๆ คือ ประมาท วางแผนไม่รัดกุม ถ้าหากหลงระเริงแต่ความสำเร็จ และทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็จะไม่ยั่งยืนในทางธุรกิจ
  6. ขณะที่นิยายเล่มใหม่อาจมีเล่าถึงเรื่องที่ทำในจังหวัดน่าน ความท้าทายบริบทใหม่ของการทำมาหากินของประชาชน เรื่องการแบ่งผลประโยชน์แบบเกลี่ยๆ ไป

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Content Writer ที่สนใจในเรื่องของตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ กลุ่ม TMT (Technology, Media, Telecom) การควบรวมกิจการ (M&A) นโยบายทางเศรษฐกิจของไทยและต่างประเทศ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยทางธุรกิจที่น่าสนใจ