แบงก์ชาติปรับลดเงินเฟ้อเหลือ 1-3% รับมือเศรษฐกิจโลกและไทยที่ผันผวน ไม่แน่นอนสูง

คณะกรรมการนโยบายการเงินและรัฐมนตรีคลังมีข้อตกลงร่วมกัน กำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1-3% เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลาง และสำหรับปี 2563 

ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติปรับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั่วไปใหม่ เริ่มใช้ 2563 นี้ โดยเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่คือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแบบช่วง 1-3% เปลี่ยนจากเป้าหมายเดิมที่มีค่ากลางที่ 2.5% ±  1.5% ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2558

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

การปรับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อใหม่ 

1.ปรับลดเป้าหมาย เพื่อให้สอดคล้องเศรษฐกิจการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป อัตราเงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มต่ำลงจากปัจจัยโครงสร้าง

  • (1) เปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง หรือปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมัน สินค้าเกษตร และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
  • (2) การขยายตัวของธุรกิจ e-commerce ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นจากผู้ขายปรับราคาสินค้าขึ้นยาก
  • (3) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีรายได้หลังเกษียณลดลง จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจึงทำให้การบริโภคสินค้าและบริการในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงในระยะต่อไป
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
  1. เปลี่ยนมาใช้เป้าหมายแบบช่วง (ไม่มีค่ากลาง) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้นโยบายการเงินสามารถดูแลเสถียรภาพด้านราคา ควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกและไทยผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูง
ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ปรับเกณฑ์การสื่อสารผ่านจดหมายเปิดผนึก (open letter) กนง. สามารถแสดงความรับผิดชอบและสื่อสารกับสาธารณ์ชนได้ทันการณ์ ไม่ต้องรอถึงสิ้นปีปกิทิน

เกณฑ์ใหม่ กนง. จะออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทุก 6 เดือน หากอัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย ถ้าไม่ออกนอกกรอบเป้าหมาย ไม่ต้องมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีฯ

เกณฑ์เดิม จะมีจดหมายเปิดผนึกเมื่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีปฏิทินออกนอกกรอบเป้าหมาย 

การปรับลดเป้าหมายนโยบายการเงินในครั้งนี้ ไม่ด้เป็นการส่งสัญญาณว่าแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินจะเปลี่ยนไปจากเดิม ยึดหลักเดิมคือ ยึดหลัก data dependent พิจารณาข้อมูลรอบด้าน ปรับนโยบายเพื่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงจากที่เคยประเมิน

รักษาสมดุลการดูแลเป้าหมายนโยบายการเงินทั้ง 3 ด้าน การรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลาง ดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเงินเฟ้อ คือภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน 

หน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือกระทรวงพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ ดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้บริโภค ธนาคารแห่งประเทสไทย ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ระดับต่ำและไม่ผันผวน 

เงินเฟ้อเกิดจาก 

  • ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น เรียกว่า Demand-Pull Inflation รวมถึงสินค้าในตลาดมีไม่พอ ผู้ขายจึงปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
  • ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น Cost-Push Inflation หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนสูงได้ ผู้ผลิตจะปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย
ภาพจาก Shutterstock

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ

  • ผลต่อประชาชน
  • รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง
  • อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง 
  • ผลต่อผู้ประกอบการ/ นักธุรกิจ
  • สินค้าราคาแพงขึ้น ยอดขายลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ชะลอการผลิต ลดการลงทุนและลดการจ้างงาน คนตกงานมากขึ้น 
  • ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เมื่อเทียบราคาสินค้าส่งออกกับประเทศอื่น 
  • ผลต่อประเทศ
  • ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ ลงทุนชะลอลง ศักยภาพในการผลิตของประเทศชะลอตาม
  • ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนจะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ เกิดความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศ เช่น หนี้ครัวเรือน 

ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา