กนง. มีมติเอกฉันท์ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 2% ต่อปี มีผลทันที
คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติเอกฉันท์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2% ต่อปี มีผลทันที
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็ฯสำคัญ ด้านการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง
อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ในบริบทเศรษฐกิจขยายตัวดี การส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้ประกอบการอาจปรับตัวสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านอุปทาน
กนง. เห็นว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
📌 เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง
จาก 3.6% เป็น 3.8% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลบวกต่อการจ้างงานและรายได้แรงงาน เป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกทยอยฟื้นตัวตามที่ประเมินไว้ คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นต่อไป แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะชะลอลงบ้างแต่มีทิศทางขยายตัว
📌 อัตราเงินเฟ้ามีแนวโน้มปรับตัวลดลง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย คาดว่าจะอยู่ที่ 2.5% และ 2.4% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ แรงกดดันจากค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันจะทยอยคลี่คลาย ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะทรงตัวที่ 2.0% ในปี 2566 และ 2567
📌 ระบบการเงินเงินมีสเถียรภาพ ภาวะการเงินผ่อนคลาย
ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ ธนาคารมีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองเข้มแข็ง ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ฐานะการเงินของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนยังเปราะบางและอ่อนไหวต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง
ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนคลายลง ต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนปรับสูงขึ้น สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนของภาคเอกชน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับอ่อนค่า ส่วนหนึ่งมาจากทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ การอ่อนค่าของเงินหยวน ความไม่แน่นอนทางการเมืองไทย กนง. จะติดตามความผันผวนในตลาดเงินอย่างใกล้ชิด
กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านสูง จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ที่มา – BoT
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา