AVG Thailand เผยเทรนด์การทำตลาดให้โดนใจชาวจีนผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับสมาร์ทโฟนตั้งแต่เด็ก จนถึงรุ่นอาม่า อากง Social Commerce มาแรงสุด!
อยู่หมัดแน่ ถ้ามี 4 เทรนด์นี้
AVG Thailand ดิจิทัลเอเยนซี่ที่เชี่ยวชาญในการทำตลาดในประเทศจีน มีพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มใหญ่ๆ ในจีนทั้ง Alibaba, Tencent และ Baidu ได้เผยถึงเทรนด์ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งในจีน สำหรับแบรนด์ที่ต้องการทำตลาดในจีน หรือจับตลาดคนจีน
ซึ่งในยุคนี้ประเทศจีนถือว่าเป็นโอกาสมหาศาลของแบรนด์ไทย ปัจจุบันไทยส่งออกไปจีนมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านเหรียญ คิดเป็น 12.4% ของการส่งออกของไทยทั้งหมด และจีนเองก็มาลลงทุนในไทยเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ในอนาคตจะขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแน่นอน
ชฎากร ธนสุวรรณเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท AVG Thailand ได้มองการทำตลาดในประเทศจีนไว้ว่า
“การทำตลาดในจีนมีความแตกต่างจากประเทศอื่นมา เพราะสื่อในจีนไม่ได้ User Friendly กับคนลงสื่อมากนัก ไม่เหมือนการลงสื่อในเฟซบุ๊ก หรือกูเกิ้ล ไม่ได้คำนึงว่าจะมีต่างชาติมาลงสื่อ ทำในแพลตฟอร์มมีแต่ภาษาจีน ทำให้ต้องอาศัยคนเชี่ยวชาญในการเข้าใจตาด และพฤติกรรมคนจีนจริงๆ”
ชฎากรได้สรุปดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งเป็น 4 เทรนด์ในการทำตลาดในจีน ได้แก่
1. Social Commerce มาแรง คนจีนใช้โซเชียล มีเดียเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซ
ถ้าพฤติกรรมคนไทยที่มีการซื้อของออนไลน์ด้วยการดูจาก Instagram แล้วแคปเจอร์รูปมาคุยต่อในไลน์ แล้วปิดการขายด้วยการโอนเงินนั่นคือ Social Commerce แต่ในจีนได้ทำการเชื่อมต่อไปมากกว่านั้นเยอะ แพลตฟอร์มยอดนิยมคือ WeChat ที่เป็นทุกอย่างให้นจีนทั้งแชท โซเชียล มีเดีย และเพย์เมนต์
คนจีนมีการใช้ WeChat ทั้งหมด 900 ล้านยูสเซอร์ จากประชากรทั้งหมด 1,300 ล้านคน ซึ่งพฤติกรรมของคนจีนใช้ WeChat ในการซื้อของจนเป็นชีวิตประจำวัน ผลสำรวจได้บอกว่าคนใช้ WeChat 31% เคยซื้อของผ่าน WeChat โดยที่แบรนด์จะมี Official Account ในการสื่อสาร และเป็นช่องทางการขาย
เทรนด์นี้ได้รับอิทธิพจากพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนจีนด้วย เนื่องจากจีนมีการผลิตมือถือเอง ทำให้พฤติกรรมการใช้เน็ตเริ่มากมือถือเลย มีการใช้ตั้งแต่รุ่นเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ มีการช้อปปิ้งผ่านมือถือเป็นเรื่องปกติ
เพราะฉะนั้นแบรนด์ต้องมีการทำคอนเทนต์บนโซเชียล มีเดียที่น่าสนใจ และมีช่องทางที่เชื่อมต่อไปการซื้อขายได้ เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสการขายได้ดียิ่งขึ้น
2. Social Search มาแรงแซง Search Engine
คนจีนไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อเพื่อนอย่างเดียว แต่ใช้ในการหาข้อมูลอีกด้วย โดยเฉพาะผ่านสมาร์ทโฟนจนเกิดปรากฎการณ์ Social Search ที่มีการหาข้อมูลแบรนด์ คำแนะนำ และโปรโมชั่นผ่านโซเชียลมีเดีย
โซเชียลมีเดียยอดนิยมก็ยังคงเป็น WeChat และ Weibo สิ่งที่คนจีนหาข้อมูลนั้นจะเริ่มจากการหาจาก Friend Circle หรือดูว่าเพื่อนๆ พูดถึงแบรนด์อย่างไร แสดงว่ากลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อคนจีนอย่างมาก รองลงมามีการค้นหา Article หรือคอนเทนต์ของแบรนด์, Official Account, Novel, Music และสติ๊กเกอร์
WeChat มี Official Account สำหรับแบรนด์รวม 8 ล้านแอคเคาท์ มีหลากหลากลุ่มธุรกิจ ซึ่งช่องทางนี้จะเป็นส่วนช่วยสร้างตัวตนให้แบรนด์ ใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค เวลามีการค้นหาข้อมูลก็จะเจอเครื่องมือนี้ในการคุยกับลูกค้า และปิดการขายได้
3. Influencer ยังฮิต โกยรายได้ถล่มทลาย
การตลาดรูปแบบของ Influencer Marketing ไม่ได้แค่ฮิตในไทย แต่ที่จีนก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่แบรนด์นิยมใช้สำหรับโปรโมท และรีวิวสินค้า จนปัจจุบัน influencer แต่ละคนครีเอตงานได้มีคุณภาพ มีโปรดักชั่นที่ดีมากขึ้น ไม่ใช่แค่การถ่ายรูปคู่สินค้าแล้วลงโซเชียลมีเดีย
เช่น แบรนด์เมเบอลีนได้เลือก Influencer รายหนึ่ง ได้มีการ Live โปรโมทลิปสติก กลายเป็นว่าสามารถขายสินค้าได้มากมาย
โซเชียลมีเดียที่ Influencer เลือกใช้มากที่สุดยังคงเป็น Weibo, WeChat และแอพพลิเคชั่นวิดีโอต่างๆ
แต่เทรนด์สำคัญอีกอย่างหนึ่งใกล้เคียงกับเมืองไทยก็คือ Micro influencer หรือคนธรรมดาทั่วไปมีส่วนช่วยในการโปรโมท ในไทยจะเห็นได้จากในทวิตเตอร์ที่มีการรีวิวสินค้าด้วยประโยคสั้นๆ แต่ได้ผล
ในจีนก็เช่นกัน แบรนด์เริ่มใช้กลยุทธ์ในการดึงดูดคนทั่วไปในการร่วมกิจกรรม จนได้ใช้สินค้า อาจะเป็นการถ่ายรูปคู่ลง ติดแฮชแท็ก แล้วได้สินค้าใช้ฟรี เมื่อเพื่อนๆ เห็นว่ามีการใช้ ก็มีการเชื่อถือต่อๆ กัน
4. Cross Border Trading สั่งซื้อข้ามประเทศมากขึ้น
เนื่องจากปัจจุบันคนจีนในเมืองรองมีรายได้มากขึ้น ทำให้มีงบสำหรับซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น เริ่มอยากใช้สินค้าดีๆ มองสินค้าากต่างประเทศ มีการซื้อสินค้าจาก Tmall ที่เป็นสินค้าจากต่างประเทศ
สินค้าไทยก็ได้รับความนิยมอย่างมาก เชื่อมั่นในสินค้าไทย สินค้ายอดนิยมที่คนจีนซื้อมากที่สุดจากใน Tmall ก็คือ หมอนยางพารา ข้าวหอมมะลิ ขนมขบเคี้ยว และเครื่องสำอาง
ส่วนเทรนด์สินค้าที่มีการค้นหามากที่สุด ได้แก่ ทุเรียนหมอนทอง ข้าวหอมมะลิ ทุเรียน วีซ่า และซิมแฮปปี้ ส่วนสินค้าที่เเป็นดาวรุ่งก็คือกลุ่มเครื่องสำอาง สกินแคร์ เพราะเกาหลีเคยเข้ามาทำตลาดจนคนจีนติดใจเครื่องสอางสไต์เกาหลี แต่เมื่อจีนมีปัญหากับเกาหลีก็เกิดการแบนสินค้า ทำให้สินค้าไทยได้รับความนิยมมากขึ้น แบรนด์ไทยต้องใช้โอกาสนี้ในการบุกตลาดให้ได้
สรุป
– การทำตลาดในประเทศไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลย เพราะพฤติกรรมคนจีน วัฒนธรรมค่อนข้างซับซ้อน รวมถึงการใช้สื่อต่างๆ ที่เป็นสื่อเฉพาะในประเทศ ทำให้ต้องศึกษาทำการบ้านอย่างดี
– แต่ตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ มีโอกาสสูงมาก แบรนด์ควรทำสินค้าให้มีคุณภาพ วางจุดยืนให้แข็งแรง และวางการตลาดให้ดี จึงจะได้ใจคนจีนได้
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา