เอเซีย พลัส คาดหุ้นไทยวันนี้อยู่ในกรอบแคบ 1,520-1,535 จุด จับตาความผันผวนโลก-การเมืองไทย 

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ระบุว่า วันนี้ (18 ส.ค.) คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบแคบ 1,520–1,535 จุด โดยฝ่ายวิจัยฯ เชื่อว่ามีโอกาสผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกเนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) อายุ 10 ปี ไม่ได้เร่งขึ้นแรงและยังต่ำกว่าสหรัฐมาก อยู่ที่ 2.7% อีกทั้งยังคาดหวังตลาดหุ้นมีโอกาสซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้น จากความคาดหวังว่าจะสามารถมีรัฐบาลใหม่ในการโหวตในวันที่ 22 ส.ค. นี้

กรณีที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งออกนโยบายหาเสียงที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะดัน GDP Growth ของไทยโต 5%YoY ในปี 2570 ผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ กระเป๋าตังค์ Digital 10,000 บาท, ค่าแรงงานขั้นต่ำ 600 บาท/วัน, ปริญญาตรีจบใหม่ ข้าราชการไทยทุกคน 25,000 บาท/เดือน, ลดค่าไฟ ค่าน้ำมัน ทันที, รถไฟฟ้า กรุงเทพฯ 20 บาทตลอดสาย ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยหนุนให้ภาคการบริโภคกลับมาคึกคัก และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลในอดีต พบว่า GDP Growth ของไทยในช่วงที่โต เกิน 5% จะทำให้ผลตอบแทนของ SETIndex เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงถึง37%

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน โดยสำนักเศรษฐกิจต่างๆ ประเมิน GDP Growth ของไทยปีนี้ คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 3.5%YoY ทำให้ในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ของปีนี้ (3Q ที่เหลือของปีนี้) GDP จะต้องขยายตัวเฉลี่ย 3.8%YoY และ 2.3%QoQ

ขณะที่สัปดาห์หน้า ( 21 ส.ค.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ จะมีการรายงานตัวเลข GDP ของไทยช่วงไตรมาส 2 ปี 66 โดย Bloomberg คาด GDP Growth ของไทยในไตรมาสที่ผ่านมาจะโต 3.0%YoY และ 1.3%QoQ ซึ่งจะช่วยหนุนให้ดัชนี GDP ของไทยดีดตัวขึ้นมามากกว่า 100 จุด สะท้อน ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวกลับมายืนเหนือช่วงก่อนโควิด ทั้งนี้ GDP ในระดับ ดังกล่าว ยังน้อยกว่าการขยายตัวเฉลี่ยที่ฝ่ายวิจัยฯ ได้ประเมินไว้

อย่างไรก็ตาม ด้านตลาดหุ้นโลกยังเผชิญกับความผันผวนโดยแรงกดดันหลักๆ เกิดจาก Bond Yield 10 ปี ของ สหรัฐ ขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 16 ปี ที่ 4.3% และยังปรับตัวขึ้นมา เร็วหรือเกินกว่า 50 bps. ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ปัจจัยดังกล่าวกดดันให้บริษัท จดทะเบียนต้องแบกรับต้นทุนจากเงินกู้ที่สูงขึ้น และตามกลไก MEYG ยังจะกดดัน ให้ตลาดหุ้นสหรัฐถูกซื้อขายบน P/E ที่ถูกลง หรือมีโอกาสย่อตัวลง 8% ถึง 11% ถือเป็น Sentiment เชิงลบต่อภาพรวมตลาดหุ้นโลก 

ที่มา – บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส 

อ่านเพิ่มเติม

 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา