ผลการคัดเลือกผู้ประกอบการกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร หรือ Duty Free สนามบินสุวรรณภูมิ และการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึง Duty Free ของสนามบินภูมิภาค 3 แห่ง ที่ภูเก็ต, เชียงใหม่ และ หาดใหญ่
KING POWER ผู้ประกอบการรายเดิมชนะการคัดเลือกทั้งหมด เป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ได้ดำเนินกิจการทั้งหมดต่อไป โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้มีการประชุมคณะกรรมการ และมีมติอนุมัติให้ KING POWER ได้เป็นผู้รับสิทธิ
KING POWER เสนอผลตอบแทน 2.3 หมื่นล้านบาท ระยะเวา 10 ปี 6 เดือน
สำหรับผลตอบแทนที่ KING POWER เสนอคือ 15,419,000,000 บาท (Minimum Guarantee) เป็นผลตอบแทนขั้นต่ำรายปี กำหนดอายุสัญญา 10 ปี 6 เดือน ระหว่าง 28 ก.ย. 63 – 31 มี.ค. 74
ส่วนการอนุมัติการคัดเลือกผู้ประกอบการกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร 3 สนามบินภูมิภาค คือ ภูเก็ต, เชียงใหม่ และ หาดใหญ่ KING POWER ชนะการประมูล เสนอผลตอบแทน 2,331,000,000 บาทต่อปี กำหนดอายุสัญญา 10 ปี 6 เดือน ระหว่าง 28 ก.ย. 63 – 31 มี.ค. 74
การอนุมัติการคัดเลือกผู้ประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร สนามบินสุวรรณภูมิ KING POWER ชนะการประมูล เสนอผลตอบแทน 5,798,000,000 บาทต่อปี กำหนดอายุสัญญา 10 ปี 6 เดือน ระหว่าง 28 ก.ย. 63 – 31 มี.ค. 74
เมื่อรวม 3 สัมปทานที่ KING POWER ชนะการประมูล ทอท. จะได้รับผลตอบแทนรวม 23,548,000,000 บาทต่อปี
ผู้ประกอบการ Duty Free ไทย ยังมีรายเดียว
ก่อนหน้านี้สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ได้พยายามยื่นหนังสือถึง ทอท. ขอให้มีการทบทวนรายละเอียดการประมูลผู้ประกอบการ Duty Free โดยเสนอว่า ทอท. ควรได้รับค่าตอบแทนจากสัมปทานประมาณ 30-40% ซึ่งเป็นระดับที่ Duty Free ทั่วโลกจัดส่งให้กับสนามบิน เพราะ ผู้ประกอบการ Duty Free ไม่ต้องสร้างอาคารห้างสรรพสินค้าเอง ไม่ต้องหาลูกค้า เพราะเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาอยู่แล้ว
อีกทั้งควรมีการแยกย่อยสัมปทานในสนามบินหลัก โดยเฉพาะ สุวรรณภูมิ ให้มีมากกว่า 1 รายเพื่อสร้างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการผูกขาดเพียงรายเดียว และควรกำหนดระยะเวลาสัมปทานให้สั้นลงเหลือ 5-7 ปี เพราะ 10 ปีเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป
แต่สุดท้ายข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่ได้รับการทบทวนแต่อย่างใด
อ่านรายละเอียดการประมูล 3 สัมปทาน
รายละเอียดการยื่นข้อเสนอ การดำเนินงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ที่ สนามบินสุวรรณภูมิ วันที่ 1 – 18 เม.ย. 62 มีผู้สนใจซื้อเอกสาร 5 ราย
- บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด
- บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
- บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
- บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
แต่มีผู้มายื่นซอง 3 ราย
- บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด
- บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการดำเนินงานในนามกิจการร่วมค้าการบิน
กรุงเทพ ล็อตเต้ ดิวตี้ฟรี (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด และบริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด - บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการดำเนินงานในนามกิจการร่วมค้า ประกอบด้วย บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED
วันที่ 27 พ.ค. มีการนำเสนอผลงาน และวันที่ 31 พ.ค. ได้เปิดซอง ซึ่งผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดคือ KING POWER และวันที่ 19 มิ.ย. บอร์ด ทอท. ได้อนุมัติผล กำหนดอายุสัญญา 10 ปี 6 เดือน ระหว่าง 28 ก.ย. 63 – 31 มี.ค. 74 อันดับการเสนอผลตอบแทน มีดังนี้
- อันดับ 1 บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิที่คะแนนสูงสุด คือ 94.30 คะแนน และเสนอ
ค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 15,419,000,000.- บาท - อันดับ 2 กิจการร่วมค้าการบินกรุงเทพ ล็อตเต้ ดิวตี้ฟรี (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) คือ 83.10 คะแนน และ
เสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 8,516,653,333.- บาท - อันดับ 3 บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการดำเนินงานในนามกิจการร่วมค้า ประกอบด้วย บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED คือ 78.85 คะแนน และเสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 7,255,000,000.- บาท
ทอท.อนุมัติผลการคัดเลือกผู้ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ทอท.ได้จำหน่ายเอกสารการยื่นข้อเสนอการดำเนินงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ทั้ง 3 สนามบิน ระหว่างวันที่ 5 – 25 เม.ย. 62 มีผู้สนใจซื้อเอกสาร รวมทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่
- บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด
- บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
มีผู้มายื่นข้อเสนอ 3 ราย
- บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด
- บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการดำเนินงานในนามกิจการร่วมค้าการบิน กรุงเทพ ล็อตเต้ ดิวตี้ฟรี (ท่าอากาศยานภูมิภาค) ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด และบริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด
- บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการดำเนินงานในนามกิจการร่วมค้า ประกอบด้วย บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED
5 มิ.ย. กำหนดนำเสนอผลงาน 10 มิ.ย. เปิดซองเสนอค่าตอบแทน 19 มิ.ย. บอร์ด ทอท. อนุมัติผลการคัดเลือก
- อันดับ 1 บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิที่คะแนนสูงสุด คือ 96.10 คะแนน และเสนอ
ค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 2,331,000,000.- บาท - อันดับ 2 บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการดำเนินงานในนามกิจการร่วมค้า ประกอบด้วย บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED คือ 86.72 คะแนน และเสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 2,012,000,000.- บาท
- อันดับ 3 กิจการร่วมค้าการบินกรุงเทพ ล็อตเต้ ดิวตี้ฟรี (ท่าอากาศยานภูมิภาค) คือ 84.74 คะแนน และ
เสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 2,108,635,888.- บาท
การอนุมัติผลการคัดเลือกผู้ประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ทอท.ได้จำหน่ายเอกสารการยื่นข้อเสนอระหว่างวันที่ 1 – 18 เมษายน 2562 โดยมีผู้สนใจซื้อเอกสาร รวมทั้งสิ้น 4 ราย ได้แก่
- บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด
- บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
มีผู้ยื่นข้อเสนอ 2 ราย
- บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด
- บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
29 พ.ค. กำหนดนำเสนอผลงาน 31 พ.ค. เปิดซองค่าตอบแทน 19 มิ.ย. บอร์ดอนุมัติผล
- อันดับ 1 บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิที่คะแนนสูงสุด คือ 95.20 คะแนน และเสนอ
ค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 5,798,000,000.- บาท - อันดับ 2 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) คือ 80.81 คะแนน และเสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนปีละ 3,003,000,000.- บาท
ทอท. ยืนยันว่า ให้ความสำคัญกับการควบคุมราคาอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีเงื่อนไขระบุว่า จะมีการควบคุมราคาอาหารและเครื่องดื่มของผู้ประกอบการรายย่อยไม่ให้สูงเกิน 20% เมื่อเทียบกับราคาในท้องตลาด
source: AOT
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา