เจาะลึกกลยุทธ์ Ananda New Blue คิดนอกกรอบ ทำลายข้อจำกัด สู่อนาคตธุรกิจอสังหาฯ ของอนันดาฯ

Ananda

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จนหลายคนอาจคิดว่าโควิด-19 เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ฉุดรั้งการเติบโต แต่อย่างไรก็ตามในช่วงนี้เราได้เห็นมูฟเม้นท์สำคัญจากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายที่ปรับกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เพิ่งจะเปิดเผยแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2565 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ สิ่งที่น่าสนใจคือกลยุทธ์ในการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ของอนันดาฯ ที่เรียกว่า Ananda New Blue ที่พร้อมทำลายข้อจำกัดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมองว่าข้อจำกัดคือแรงผลักดันสำคัญสู่อนาคต

เมื่อเจาะลึกประเด็นสำคัญที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากคลิปวิดีโอแสดงวิสัยทัศน์ของอนันดาฯ จะเห็นได้ว่า อนันดาฯ เน้นย้ำถึงการคิดนอกกรอบ ไม่อยู่นิ่ง และมองข้อจำกัดเป็นสิ่งผลักดันการเติบโตในอนาคต นอกจากนี้อนันดาฯ ยังคงเชื่อมั่นในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยว่ามีศักยภาพในการเติบโตอีกครั้ง

ในบทความนี้ Brand Inside จึงอยากชวนอ่านเกมอสังหาริมทรัพย์ ติดตามวิสัยทัศน์ เจาะลึกกลยุทธ์ของอนันดาฯ ที่คิดเรื่องอสังหาริมทรัพย์แบบนอกกรอบ ไม่กลัวข้อจำกัดใดๆ

อนันดาฯ ยังเชื่อมั่นในวิถีชีวิตคนเมือง

ก่อนอื่นต้องขอย้อนความกันก่อนว่า ที่ผ่านมาอนันดาฯ ขึ้นชื่อว่าเป็นเบอร์ 1 ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนเมือง โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้า ที่มีมากกว่า 40,335 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าโครงการกว่า 153,617 ล้านบาท

วิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจของอนันดาฯ ในปี 2565 ก็ยังคงให้ความเชื่อมั่นกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะแนวโน้มในการฟื้นตัวจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ทำให้ส่งผลดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน

นอกจากนี้เมื่อมองไปถึงวิถีชีวิตของคนเมือง อนันดาฯ ยังมั่นใจว่าชีวิตของคนเมืองกลับมาแน่ (Urban Life is Back) เพราะการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ยังคงมีความจำเป็น และไม่ได้หายไปไหน คนเมืองยังต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต การอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ รวมถึงการเดินทางที่สะดวกสบายอยู่เช่นเดิม

อนันดาฯ มองว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กลางเมืองยังคงมีศักยภาพ และโอกาสในการเติบโต ซึ่งหากวิเคราะห์ไปถึงโอกาสที่ว่านี้ คงต้องเจาะลึกไปยังสถิติการขยายตัวของโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ จะพบว่า ในปัจจุบันโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ มีทั้งสิ้น 128 สถานี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 320 สถานี ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนเมืองยังมีโอกาสอยู่อีกมาก

แน่นอนว่าแม้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม ทั้งในพื้นที่กลางกรุงเทพฯ หรือคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้าจะมีโอกาสกลับมาเติบโตต่อไปในอนาคต แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป อนันดาฯ เองก็ต้องคิดนอกกรอบ สร้างความแตกต่างเพื่อทำลายข้อจำกัด ปรับตัวเข้ากับความต้องการของผู้บริโภค และสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

Ananda

การคิดนอกกรอบเพื่อทำลายข้อจำกัดของธุรกิจอสังหาริมทรัยพ์แบบเดิมๆ สู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์อนาคต เป็นสิ่งที่อนันดาฯ เรียกว่า Ananda New Blue ซึ่งเราจะได้เห็นจากโครงการใหม่ๆ ที่จะเปิดตัวในปี 2565 คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 28,000 ล้านบาท

เจาะลึก Ananda New Blue กลยุทธ์คิดนอกกรอบทำลายขีดจำกัดธุรกิจอสังหาฯ

Ananda New Blue เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่ของอนันดาฯ ที่ตีโจทย์ว่าต้องเข้าใจลูกค้าอย่างตรงจุด และชัดเจน เนื่องจากอนันดาฯ ได้วิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าในเชิงลึก และพบว่าคนแต่ละกลุ่ม แต่ละช่วงวัย มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และความต้องการที่แตกต่างกันไป เช่น กลุ่มลูกค้าในวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มครอบครัว

Ananda

ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้กลยุทธ์ Ananda New Blue คือ อนันดาฯ สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ตรงใจ และตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากวิเคราะห์ดูแล้ว กลยุทธ์ Ananda New Blue จึงเหมือนเป็นการสร้างความได้เปรียบท่ามการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกได้ว่ามีความรุนแรงในระดับ Red Ocean สู่การเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่กว้างขึ้น โดยใช้ความเข้าใจในการสร้างความต่างที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต ด้วยแบรนด์ใหม่ วิธีการออกแบบ รวมถึงนวัตกรรมการบริการที่เข้าใจว่าลูกค้าแต่ละกลุ่ม แต่ละช่วงวัยมีความต้องการต่างกันอย่างไร

หากจะลงลึกในรายละเอียดของกลยุทธ์ Ananda New Blue จะพบว่าไม่ใช่เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมกับลูกค้าเท่านั้น แต่นับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจที่ครอบคลุมรอบด้านของอนันดาฯ เลยทีเดียว 

ตัวอย่างของกลยุทธ์ Ananda New Blue ที่คิดคิดนอกกรอบ ทำลายขีดจำกัด คือการเปิดตัวที่อยู่อาศัยที่เป็นแบรนด์ใหม่ และเซกเม้นท์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่นแบรนด์ โคโค่ พาร์ค (COCO PARC) ที่อยู่อาศัยที่สร้างความต่างด้วยบริการตามมาตรฐานโรงแรม 5 ดาว ของเครือดุสิตธานี ซึ่งผู้อยู่อาศัยหาไม่ได้จากแบรนด์อื่นๆ

ส่วนอีกแบรนด์หนึ่งคือ คัลเจอร์ (Culture) ที่ต้องการให้เป็นที่อยู่อาศัยในสังคมร่วมสมัย เน้นความยั่งยืน และเป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ โดยจับกลุ่มคนเมืองที่ต้องการที่อยู่อาศัยในแนวคิดใหม่ ใกล้ชิดธรรมชาติ และสร้างสรรค์

Ananda

ทำลายขีดจำกัดธุรกิจอสังหาฯ ด้วยเทคโนโลยี

ไม่ใช่แค่การคิดนอกกรอบเพื่อสร้างความต่างในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มเท่านั้น เพราะอนันดาฯ ยังนำกลยุทธ์ Ananda New Blue มาใช้สร้างความต่างตั้งแต่ประสบการณ์ในการซื้อบ้านเลยทีเดียว โดยลูกค้าสามารถเยี่ยมชมโครงการ และจองบ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน Ananda iStore ตลอด 24 ชั่วโมง

หลังจากที่ลูกค้า ได้กลายมาเป็นลูกบ้านของอนันดาฯ แล้ว อนันดาฯ ยังมองไปไกลถึงบริการหลังการขายที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกบ้านโดยใช้เทคโนโลยีอีกด้วย

เทคโนโลยีที่ว่านี้คือ COCORO  APP แอปพลิเคชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกบ้านของอนันดาฯ ช่วยบริการ และแก้ปัญหาเรื่องบ้าน ทั้งการจองพื้นที่ส่วนกลาง รับสิทธิพิเศษ สะสมคะแนน รวมถึงมีระบบชำระเงินภายในแอป เหมือนมีผู้ช่วยเรื่องบ้านเป็นของตัวเอง

นอกจากนี้กลยุทธ์ Ananda New Blue ยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการทำธุรกิจที่จะสร้างรายได้ และการเติบโตอย่างมั่นคงของอนันดาฯ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะโอกาสในการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ของอนันดาฯ นั่นคือการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ (Recurring Income) เป็นอีกขาหนึ่งของ Ananda New Blue ที่มีรายได้จากเซอร์วิสอพารท์เม้นท์ ซึ่งจะสามารถเปิดบริการได้ครบ 5 แห่งในปี 2565

สถานะการเงินแข็งแกร่ง พร้อมทำลายขีดจำกัดสู่อนาคต

นอกจากกลยุทธ์การทำธุรกิจในอนาคตของอนันดาฯ ที่คิดนอกกรอบจนเกิดเป็น Ananda New Blue แล้ว จะพบว่าอนันดาฯ ยังคงเติบโตได้อย่างมั่นคง ทั้งในแง่ของยอดขาย และยอดโอน ตลอดทั้งปี 2564

เมื่อเจาะไปที่ตัวเลขในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน อนันดาฯ สามารถทำยอดขาย และยอดโอนเติบโตได้มากถึง 20% ตลอดระยะเวลา 3 เดือน และในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2564 นี้ คาดว่าจะรักษาระดับการเติบโตไว้ได้ที่ตัวเลข 2 หลักเช่นเดิม ส่วนด้านยอดขายสามารถทำได้ที่  4,104 ล้านบาท และยอดโอนกว่า 2,557 ล้านบาท

ส่วนด้านปัจจัยภายในของอนันดาฯ เองนั้น ยังนับว่ามีความแข็งแกร่งอยู่มาก ด้วยกระแสเงินสดหมุนเวียนราว 5,000 ล้านบาท และยังมีแผนที่จะออกหุ้นกู้มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม 2565 นี้ด้วย ทำให้อนันดาฯ ยังคงมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ที่จะเปิดตัวในอนาคต โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น มิตซุย ฟูโดซัง, บีทีเอส กรุ๊ป, เพรซิเดนท์ ดี เวนเจอร์, ดุสิตธานี, สแครทช์ เฟิร์สท์  และดิ แอสคอทท์ เป็นต้น

Ananda

สรุป

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความท้าทายอยู่เสมอ Ananda New Blue จึงกลายเป็นมูฟเม้นท์สำคัญของอนันดาฯ ที่สร้างความแตกต่าง ทำลายขีดจำกัดไปสู่อนาคต ด้วยการทำความเข้าใจความแตกต่าง เรียนรู้ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง เกิดเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น สะท้อนถึงการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของอนันดาฯ ที่ไม่มีกรอบ และข้อจำกัดในการเติบโต

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://anan.ly/3Hj1qjc

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา