Amzon Global Selling ตั้งเป้านำธุรกิจ SME ไทย สู่อีคอมเมิร์ชข้ามพรมแดน

อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง เผยกลยุทธ์สำหรับปี 2566 เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของธุรกิจไทยผ่านอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ในงาน “Amazon Global Selling Thailand Business Accelerator 2022  ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจไทยสร้างแบรนด์ในตลาดอื่น ๆ ทั่วโลกได้มากขึ้น 

ทีมอเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ในประเทศไทย ยังคงนำเสนอเครื่องมือและบริการที่เป็น นวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยให้ธุรกิจในประเทศไทยสร้างแบรนด์ให้เติบโตในระดับสากล งาน “Amazon Global Selling Thailand Business Accelerator 2022 

โดยให้ความสำคัญกับผู้สร้างแบรนด์ ผู้ผลิต และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีเป้าหมายเพื่อนำเสนอโอกาสให้แก่ธุรกิจไทย

ในการรวบรวมข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงลึกทักษะ และเครื่องมือที่จะสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับการ เติบโต ในด้านอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SME เกือบ 2 ล้านรายบนอเมซอน ที่เป็นผู้ประกอบการอิสระซึ่งคิดเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ขายบนร้านค้าของ อเมชอน

ภายในปี 2570 หากธุรกิจเหล่านี้ยังมุ่งสร้างตลาดในอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ส่วนแบ่งของยอดขายอีคอมเมิร์ซสำหรับ Micro-SMEs คาดว่าจะอยู่ที่ 31% ในปี 2565 และมีโอกาสที่ จะเพิ่มขึ้นเป็น 79% ภายในปี 2570

ในปีนี้จนถึงเดือนตุลาคม ผู้ขายชาวไทยสร้างยอดขายด้วยจำนวนผลิตภัณฑ์มากกว่า 5 ล้านชิ้นให้แก่ลูกค้าทั่วโลกผ่านร้านค้าบนอเมซอน

โดยนาย อนันต์ ปาลิต หัวหน้า อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า SME หลายรายที่กำลังขายสินค้า ออนไลน์กำลังเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสและการมีส่วนแบ่งตลาดจากการขายสินค้าอีคอมเมิร์ซข้า พรมแดนที่กำลังเติบโตอย่างเต็มที่ ดังนั้นธุรกิจไทยควรที่จะคว้าโอกาสเพื่อใช้ประโยชน์ในตอนนี้

“มีโอกาสมากมายในตลาดทั่วโลก และอเมซอนนำเสนอเครื่องมือและบริการที่สามารถช่วยให้ธุรกิจไทยสร้างรากฐานเพื่อเร่ง ยอดขายไปทั่วโลก กลยุทธ์ของเราที่จะช่วยให้ธุรกิจไทยประสบความสำเร็จในปีหน้า คือการแนะนำเครื่องมือ ทรัพยากร และเพิ่มการสนับสนุน เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการอิสระในการวางเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ และทำให้ให้อเมซอนเป็นหนึ่งในที่ ๆ ดีที่สุดในการสร้างแบรนด์ให้เติบโต เป้าหมายของเรายังรวมถึงความร่วมมือที่มากยิ่งขึ้นกับทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมความสำเร็จให้แก่ธุรกิจไทยในอนาคต”

โครงการริเริ่มหลัก 4 ประการ ได้แก่ 

1) สนับสนุนธุรกิจไทยในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลข้ามพรมแดนผ่านขนาดและทรัพยากร ระดับโลกของอเมซอน ในปัจจุบันอเมซอนครอบคลุมร้านค้า 22 แห่ง จัดส่งผลิตภัณฑ์ไปยังกว่า 200 ประเทศ และมีศูนย์จัดการ คลังสินค้ามากกว่า 400 แห่งทั่วโลก สิ่งเหล่านี้คือโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดที่ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ได้ 

2)บ่มเพาะผู้ประกอบการและสนับสนุนความสำเร็จของผู้สร้างแบรนด์ การขายทั่วโลกจะช่วยยกระดับโปรแกรมผู้ขาย และจะขยายโอกาส สำหรับผู้ชายในการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ 

3) เปิดตัวเครื่องมือและ บริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจไทย เช่น เครื่องมือเพื่อการสร้างแบรนด์ เช่น Brand Registry และ Brand Stores, Premium A+ Content เครื่องมือการเลือกสินค้า Product opportunity Explorer 

4) การมอบสิ่งจูงใจจากอเมซอน เพื่อให้ธุรกิจไทยเริ่มต้นบนเส้นทางอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เช่น การมอบสิทธิประโยชน์ด้วยมูลค่าสูงสุดถึง 50,000 เหรียญสหรัฐในการสนับสนุนผู้ขายรายใหม่ ซึ่ง ประกอบด้วย Fulfillment by Amazon และเครดิตสำหรับการโฆษณาสินค้าบน Amazon เพื่อช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเริ่มต้น เส้นทางอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ เจมี่ เบรนแนน หัวหน้า อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า “อเมซอนมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อประโยชน์ ของผู้ขายสินค้า โดยมุ่งเน้นที่การสร้างการเติบโตและโอกาสสําหรับธุรกิจในประเทศไทย ผ่านการสร้างความรู้ความเข้าใจและความ ร่วมมือต่าง ๆ เราได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น DITP เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนผ่านสู่อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และจะผลักดันความพยายามเหล่านี้ต่อไปในปี 2566 นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศไทยให้เข้า ร่วมในโครงการ Climate Pledge Friendly ของ Amazon เพื่อร่วมกันส่งเสริมรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ทั้งนี้ แนวโน้มการเติบโตของการขายสินค้าในตลาดโลก ข้อมมูลของผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 ระบุว่ามีธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเกือบ 2 ล้านแห่งทั่วโลกที่ขายขายสินค้าใน ร้านค้าของอเมซอน มากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าที่ขายในร้านค้าของอเมซอนมาจากคู่ค้าของเราซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การขายสินค้าบนอเมซอนช่วยสร้างงานมากกว่า 2.2 ล้านตำแหน่งทั่วโลก

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา