สูตรสำเร็จการบริหารทรัพยากรบุคคลของ “อำพลฟูดส์” ผู้ผลิตกะทิชาวเกาะ มอบสวัสดิการ “ความสุข” สร้างองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนกว่า 3 ทศวรรษ
เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกะทิชาวเกาะ เล่าว่า ธุรกิจของอำพลฟูดส์ดำเนินการมากว่า 3 ทศวรรษ ธุรกิจของเราส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ทางเกษตรกรรม มีสินค้ามากกว่า 1,000 รายการ
สำหรับวิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์ มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมอาหารไทยสู่ตลาดโลก ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
และสิ่งที่ทำให้บริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีรายได้ปัจจุบันเกือบแตะ 3,000 ล้านบาท มาจากการให้ความสำคัญการบริหารทรัพยากรบุคคลหรือพนักงานขององค์กร เพราะถ้าไม่มีพวกเค้าในวันนั้น ก็จะไม่มีเราในวันนี้
ตลอดระยะกว่า 30 ปี เราดูแลพนักงานกลุ่มอำพลฟูดส์กว่า 1,300 คน ยึดหลักความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ เราทำงานกันเหมือนครอบครัว แต่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ อำพลฟูดส์มอบสวัสดิการต่างๆ หลากหลายรูปแบบให้กับพนักงาน ทั้งการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การตรวจสุขภาพประจำ
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้องค์กรเผชิญกับความท้าทาย เกิดการลาออกจากบุคคลากรที่เป็นคนรุ่นใหม่ถึง 20%
ปัจจัยที่ทำให้บุคคลเหล่านี้ลาออกสูง มาจากพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ มองถึงความก้าวหน้า แต่ต้องการสร้างสมดุลการใช้ชีวิตระหว่างการทำงานกับไลฟ์สไตล์ บริษัทต้องกลับมามองว่า ทำอย่างไรให้พนักงานอยู่กับองค์กรได้นานที่สุด
“คำตอบ “การสร้างความสุข” เป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับองค์กร แต่จะทำให้มีความสุขยิ่งขึ้นได้อย่างไร”
ที่ผ่านมาองค์กรเผชิญกับการบริหารจัดการคนแต่ละเจเนอเรชั่น คนรุ่นใหม่ไม่ได้คิดเหมือนคนรุ่นเก่า มองว่าองค์กรมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะทำให้ชีวิตหลังเกษียณดีเพราะมีเงินเก็บ เราจึงต้องหันมาคิดอะไรใหม่ๆ มอบให้กับพนักงาน
เมื่อมานั่งพิจารณาในฐานะ เป็นเอ็มดี หรือทายาทที่เข้ามารับช่วงบริหารธุรกิจ ลองถามตัวเองว่าอะไรเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ก็คือ เรื่องของเงิน แล้วปัญหาของมนุษย์เงินเดือน คงหนีไม่พ้น เงินไม่พอใช้ หรือต้องการใช้เงินในช่วงฉุกเฉิน พนักงานบางรายเป็นหนี้นอกระบบ
“เราจะช่วยพนักงานเหล่านี้ได้อย่างไร ความสุขที่นำเงินอนาคตออกมาใช้ก่อน โดยไม่มีดอกเบี้ย ไม่ได้มาจากหนี้นอกระบบ หรือหยิบยืมจากใคร”
พอธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดบริการมีตังค์ สำหรับพนักงานที่ต้องการนำเงินเดือนในอนาคตออกมาใช้ก่อนในกรณีจำเป็น ผมจึงคิดว่าเป็นบริการที่ดี เสมือนเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่มอบให้กับพนักงาน จึงเสนอให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลนำไปศึกษา เพื่อนำบริการมีตังค์มาใช้กับองค์กร ซึ่งทุกคนเห็นด้วย
เกรียงศักดิ์ เล่าว่า บริการมีตังค์ช่วยให้พนักงานสามารถทำรายการผ่านแอปพลิเคชั่น SCB Easy ได้เอง ช่วยบรรเทาปัญหาของพนักงานในเวลาที่จำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉินได้ ช่วยลดความกังวลใจ และเมื่อหมดความกังวล เราเชื่อว่าพวกเค้าจะมีความสุข และทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังมีตัวเลือกทางด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงินจาก SCB Payroll Solution ที่เรามอบให้พนักงานด้วย ซึ่งนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ของพนักงานของอำฟูดส์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
ผมคิดว่าพนักงานที่ใช้บริการมีตังค์ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ระดับกลาง หรือราว 15,000 – 30,000 บาท เพราะสามารถใช้บริการบนแอปพลิเคชั่นได้ง่าย และต่อไปอาจขยายไปสู่การใช้งานในกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
และนี่คือการบริการที่เปรียบเสมือนสวัสดิการที่มอบให้กับพนักงาน เป็นการสร้างความสุขทางด้านการเงินอย่างหนึ่ง ผมเชื่อว่าความสำเร็จขององค์กรจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าพนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือปราศจากความสุข
พันธกิจที่องค์กรมีต่อพนักงานและยึดมั่นตลอดมา เกรียงศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อำพลฟูดส์มุ่งเสริมสร้างให้พนักงานมีทัศนคติที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้และความเข้าใจเชี่ยวชาญการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย พร้อมสร้างบรรยากาศการทำงานอย่างมีความสุขให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม
สำหรับ “อำพลฟูดส์” การบริหารทรัพยากรบุคคลคลใช้แนวคิดสร้างความสุขให้กับพนักงานรอบด้าน และเรายังคงมุ่งนำเสนอสวัสดิการใหม่ๆ ให้กับพนักงานต่อไป เพื่อสร้างความยั่งยืนให้องค์กรไปอีกหลายทศวรรษ
#scbมีตังค์ #มีตังค์ทันทีไม่ต้องรอสิ้นเดือน #scbpayroll #รับเงินเดือนผ่านscbเรื่องดีจะตามมา
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา