ศุลกากรสหรัฐอเมริกา สกัดนำเข้าเสื้อผ้าแบรนด์ Uniqlo อาจใช้ฝ้ายจากซินเจียง

ศุลกากรสหรัฐฯ สกัดนำเข้าเสื้อผ้าแบรนด์ Uniqlo (ยูนิโคล่) ซึ่งเป็นล็อตที่ขนส่งตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา การสกัดการนำเข้าดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากคาดว่าจะเป็นการผลิตที่มีการบังคับใช้แรงงานซินเจียงในจีน

America block Uniqlo

การสกัดเสื้อเชิ้ตผ้าฝ้ายสำหรับให้ผู้ชายสวมใส่แบรนด์ Uniqlo ที่บริเวณท่าเรือลอสแองเจลิส เปิดเผยในเอกสารของหน่วยงานศุลกากรและการป้องกันชายแดนของสหรัฐอเมริกา (US Customs and Border Protection agency) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้ปฏิเสธการอุทธรณ์ของ Uniqlo ซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา พบว่าหุ้นในบริษัทผู้ผลิตเครื่องแต่งกายในโตเกียวลดลง 2.6%

Uniqlo ถือเป็นแบรนด์ค้าปลีกเครื่องแต่งกายที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย Uniqlo อยู่ภายใต้บริษัท Fast Retailing ก่อตั้งโดยเศรษฐีชาวญี่ปุ่น Tadashi Yanai เอกสารจากศุลกากรในสหรัฐฯ ระบุว่า Uniqlo ได้มีข้อโต้แย้งที่พิสูจน์ได้ว่าฝ้ายดิบที่นำมาใช้ผลิตเสื้อเชิ้ตนี้ไม่ได้มาจากฝ้ายที่ผลิตในซินเจียง ซึ่งทางการระบุว่า Uniqlo มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่า ฝ้ายไม่ได้ผลิตจากการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง

ด้าน Fast Retailing ก็ระบุในแถลงการณ์ว่า Uniqlo รู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจดังกล่าวของหน่วยงานศุลกากรและการป้องกันชายแดนของสหรัฐฯ และได้ยื่นเอกสารให้หน่วยงานศุลกากรแล้วว่าสินค้านั้นตรงกับเงื่อนไขการนำเข้าทุกอย่าง ทาง Uniqlo ระบุว่า ถ้าทางบริษัทพบหลักฐานว่ามีการบังคับใช้แรงงานหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับซัพพลายเออร์ของเรา เราจะยุติการทำธุรกิจกับซัพพลายเออร์รายนั้น

Uniqlo ยูนิโคล่
ภาพจาก Shutterstock

ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าสหรัฐฯ ปิดกั้นการจัดส่งสินค้าอื่นๆ จาก Uniqlo หรือแบรนด์อื่นๆ ภายใต้คำสั่งซื้อที่ออกโดยฝ่ายบริหารของ Trump ในเดือนธันวาคมหรือไม่ การค้นหาคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้จากศุลกากรของสหรัฐฯ ไม่พบเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการล่าสุดเพื่อห้ามใช้ฝ้ายจากซินเจียง

ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอังกฤษ ต่างก็คว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ในซินเจียง ซึ่งสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาล Biden ก็ระบุว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทางจีนเองก็ปฏิเสธว่าไม่ได้บังคับใช้แรงงานใดๆ และบอกว่านี่เป็นนโยบายที่จะช่วยให้ผู้คนหลุดพ้นจากความยากจน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรับมือกับฝ่ายก่อการร้ายในประเทศ ส่วน Zhao Lijian โฆษกกระทรวงต่างประเทศก็ระบุว่าสิ่งที่สหรัฐฯ ทำเป็นการบูลลี่จีน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องควรจะยืนหยัดเพื่อที่จะต่อต้านการพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดี Uniqlo ไม่ได้ถูกบอยคอตต์ในจีนเหมือนกับคู่แข่งเช่น H&M ด้าน Yanai ผู้ก่อตั้ง Uniqlo และ CEO ของ Fast Retailing ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ได้แต่บอกว่า บริษัทไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับประเด็นทางการเมือง หน้าร้าน Uniqlo ในสหรัฐอเมริกามีอยู่ 47 แห่ง ขณะที่หน้าร้านในจีนมีมากถึง 809 แห่ง ถือเป็นรายได้ 1 ใน 5 ของ Uniqlo

ที่มา – The Straits Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา