การโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับในยุคที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มี พรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 คอยกำกับการโฆษณาสินค้าประเภทนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
แต่ในหลายกรณีที่ผ่านมา ทั้งการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ โฆษณาในร้านอาหาร ต่างเกิดคำถามจากประชาชนทั่วไป ว่าขอบเขตของกฎหมายนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ ไม่ว่าจะในฐานะคนธรรมดาทั่วไป เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราจะสามารถพูดถึงเจ้าสิ่งนี้ได้มากน้อยแค่ไหนโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อกฎหมายดังกล่าวนั้น คือ มาตรา 32 “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทําได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเทานั้น ทั้งนี้ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกําเนิดนอกราชอาณาจักร”
หลักใหญ่ใจความของเรื่องนี้ ดูเหมือนจะอยู่ที่วรรคแรก แม้เราจะรู้สึกว่า ถ้าอ่านและตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด ก็สามารถทำตามได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาของเรื่องนี้ นอกเหนือไปจากการตีความให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่ายว่าอะไรทำได้ไม่ได้แล้ว ยังมีเรื่องของ การตีความของผู้ใช้กฎหมาย ที่มีขอบเขตออกจะกว้างเสียหน่อย ว่า “โฆษณา” “อวดอ้างสรรพคุณ” หรือ “ชักจูงใจ” มันมีนิยามอย่างไรกันแน่ เราเลยได้เห็นกรณีของร้านอาหารที่โดนปรับเพราะมีรูปเบียร์ที่เห็นโลโก้ในเมนู แต่สำหรับบางร้านที่ใช้ป้ายไฟ กล่องใส่ทิชชู่ ผ้ากันเปื้อน ที่มีโลโก้ของเบียร์ยี่ห้อดัง ก็ถูกตีความว่ายังไม่นับว่าเป็นการโฆษณา
ปัญหาต่อมา คือเรื่องของโลโก้ ที่ไม่ว่าจะยังไงก็จะให้เห็นโลโก้ไม่ได้เด็ดขาด ทีนี้ปัญหาของมันคือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เจ้าใหญ่ มักจะมี Corporate Identity ที่ชัดเจนมากพอ ที่ต่อให้เราไม่เห็นโลโก้ เห็นขวดลักษณะนี้ กระป๋องสีนี้ ก็พอจะอนุมานได้ว่ากำลังสื่อถึงอะไร โดยที่ไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย แล้วแบรนด์เล็กๆ ล่ะ จะทำยังไง? เมื่อเขาไม่ได้มีโอกาสแม้แต่ก้าวแรกที่จะเผยว่า นี่คือผลิตภัณฑ์ของเขานะ หน้าตาแบบนี้ รสชาติแบบนี้ จึงไม่มีพื้นที่สำหรับแบรนด์ทางเลือกในตลาดเลย
และอีกปัญหาในวรรคสุดท้าย “บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกําเนิดนอกราชอาณาจักร” นั่นหมายความว่า ถ้าเราโฆษณาสิ่งนี้ในต่างประเทศ แต่มาปรากฎในประเทศ ก็ไม่เป็นไรหรือเปล่านะ? คำตอบคือใช่ เพราะเคยมีกรณีเพจเฟซบุ๊ก โฆษณาเชิงรีวิวให้กับเครื่องดื่มสีอำพันเจ้าดัง แต่ทว่าผู้โพสต์นั้น โพสต์จากต่างประเทศ จึงไม่สามารถเอาผิดได้
ทีนี้ลองมาลิสต์ทำความเข้าใจง่ายๆ ว่าอะไรที่เราทำได้หรือไม่ได้บ้าง
หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ยังมีอีกหลายปัญหาในเรื่องนี้ ไม่ว่าเป็นโทษที่หนัก การบังคับใช้ที่เอื้อให้ฝั่งนายทุน จนแบรนด์เล็กๆ ผลิตภัณฑ์ชาวบ้าน ไม่มีโอกาสได้เป็นทางเลือกในตลาดนี้ ต้องมารอดูกันว่า กฎหมายนี้จะถูกปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยหรือไม่ และจะมีทิศทางอย่างไรต่อไปในอนาคต
อ้างอิง – พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา