ความเป็นหนึ่งเดียว และการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่คือเรื่องจำเป็นขององค์กรยุคนี้ ซึ่ง AIS เล็งเห็นถึงเรื่องดังกล่าว จึงเดินหน้า Innojump หรือโครงการที่เปิดให้ทุกคนในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ๆ ที่ต่อยอดจากที่ AIS มีอยู่ และสามารถนำไปทำตลาดได้จริง
แม้การให้พนักงานมาช่วยกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการให้องค์กรอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ Innojump มีจุดที่น่าสนใจคือ AIS ได้ร่วมมือกับพาร์ตเนอร์นอกองค์กรเพื่อช่วยให้พนักงานทุกคนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงด้วย
แล้วรายละเอียดของ Innojump 2023 เป็นอย่างไร พนักงาน AIS มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่น่าสนใจแค่ไหน Brand Inside มีโอกาสพูดคุยกับ กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล AIS และ Intouch ดังนี้
AIS Innojump โครงการแห่งการปลดล็อกความคิด
กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล AIS และ Intouch เล่าให้ฟังว่า Innojump เป็นโครงการที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อให้พนักงานลุกขึ้นมาคิดสร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่แตกต่าง โดยเฉพาะการพัฒนาสิ่งที่แก้ Pain Point ในการดำรงชีวิตของพวกเขา และประชาชนทุกคนได้
“โครงการ Innojump จะเปิดให้พนักงานทุกคนทุกฝ่ายสามารถมารวมทีมกันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่แก้ไขเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้สิ่งที่พวกเขาคิดออกมามีความเป็นไปได้ที่หลากหลาย และ AIS รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องก็พร้อม Support ความคิดเหล่านั้นเต็มที่”
ขณะเดียวกัน Innojump ยังมีส่วนช่วยให้วัฒนธรรมองค์กรของ AIS แข็งแกร่ง เพราะพนักงานกล้าจะเปลี่ยนแปลงเรื่องต่าง ๆ ร่วมกัน ผ่านสนามกลางที่ AIS ให้ทุกคนมาปล่อยของ ซึ่งโครงการดังกล่าว AIS ทำมาอย่างต่อเนื่อง และหยุดไปแค่ช่วงเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เท่านั้น
เจาะลึกเวที AIS Innojump 2023
สำหรับ AIS Innojump 2023 มีพนักงาน AIS และเข้ามาร่วมส่งผลิตภัณฑ์ หรือบริการเข้าแข่งขันกว่า 13,000 คน แบ่งเป็นเฉลี่ยทีมละ 5 คน โดยทั้งหมดนี้นำแนวคิดที่ส่งเสริมให้องค์กร AIS ก้าวสู่ Cognitive Tech-Co หรือองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ
AIS Innojump 2023 มีทีมที่น่าสนใจ เช่น ทีมพอยต์พารวย ที่เปิดให้ลูกค้า AIS นำ AIS Point ไปแลกรับส่วนลดในร้านโชห่วยต่าง ๆ, ทีม 4 Kings ที่นำเสนอระบบ AI ให้กับงานซ่อมบำรุงโครงข่ายเพื่อวิเคราะห์ก่อนอุปกรณ์จะเสียหาย และทีม Kill มิจ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ลูกค้าในการใช้งานโทรศัพท์ เป็นต้น
แม้จะมีเงินรางวัลให้ทีมชนะเลิศ 60,000 บาท และรองลงมาที่ 30,000 บาท กับ 10,000 บาท ตามลำดับ แต่ กานติมา ยืนยันว่า เรื่องเงินรางวัลถูกพูดถึงในโครงการน้อยมาก เพราะทุกคนให้ความสำคัญกับความสนุก และการปลดปล่อยความคิด รวมถึงแนวทางในการแก้ไข Pain Point ของลูกค้ามากกว่า
School Van Clever ระบบจริงที่ถูกต่อยอด
ส่วนผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ถูกนำไปต่อยอดใช้งานจริงจากโครงการ Innojump คือ School Van Clever ระบบควบคุมรถอัจฉริยะที่ทำให้ผู้ปกครองสามารถดูบุตรหลานในรถตู้รับส่งนักเรียนได้ตลอดเวลา และช่วยคนขับรถในการจัดการรอบการรับ-ส่ง เด็กนักเรียนได้
School Van Clever จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ปกครองในการติดตามรถ และสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยในการรับ-ส่ง บุตรหลานระหว่างเดินทางไป-กลับโรงเรียน โดยขณะนี้มีการใช้งานได้จริงแล้วในหลายโรงเรียนทางภาคใต้ และอยู่ระหว่างขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
- AIS Business ติดปีกอุตสาหกรรมหลัก ตอกย้ำภารกิจ Sustainable Nation สร้างไทยยั่งยืน เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน
- AIS โชว์ศักยภาพบนเวทีโลก ยืนหนึ่งองค์กรไทยตัวแทนประเทศ คว้ารางวัล WSIS Prize 2023
ทั้งนี้ AIS Innojump เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้ ภารกิจคิดเผื่อ ของ AIS ในฝั่งพนักงาน เพราะในฝั่งคนนอกจะรู้จักจากโครงการ Academy for Thai ที่ AIS ร่วมมือกับพาร์ตเนอร์หลายภาคส่วนเพื่อยกระดับความรู้เรื่องเทคโนโลยีให้กับคนไทยผ่านการจัดงานสัมมนา และแหล่งความรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
อ้างอิง // AIS
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา