เมื่อ AI ถูกใช้ใน US Open: สร้างประสบการณ์เทนนิสถึงขอบสนามด้วยแอปผู้ช่วยอัจฉริยะ

IBM at US Open in Flushing, NY Thursday, August 25, 2016. (Jon Simon/Feature Photo Service for IBM)

การแข่งขันเทนนิส แกรนด์สแลม ยูเอสโอเพ่น ได้ผสานเอาความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่ทำงานบนแพล็ตฟอร์มคลาวด์ไฮบริด ไอบีเอ็ม บลูมิกซ์ มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้แบบเรียลไทม์ เพื่อสร้างประสบการณ์ติดขอบสนามให้กับผู้ชม

– บริการข้อมูลเกี่ยวกับทัวนาเมนท์ เส้นทางและการเดินทาง อาหารและเครื่องดื่ม บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณสนามแข่ง เป็นต้น โดยแฟนๆ สามารถถามคำถามเป็นภาษาธรรมชาติที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น “จะซื้อโซดาได้ที่ไหน” หรือ “จุดขึ้นแท็กซี่อยู่ที่ไหน” จากนั้นระบบที่ใช้ Natural Language จะแสดงคำตอบในทันที โดยแอพดังกล่าวสามารถเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์ทุกครั้งที่เกิดขึ้น เพื่อปรับคำตอบที่ได้ให้ถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆ

– การใช้เอพีไอวัตสันสปีช-ทู-เท็กซ์ (Watson Speech-to-Text) ในการ “ฟัง” คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ผู้เล่น พร้อมสร้างซับไตเติลและบทพูดอัตโนมัติก่อนเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ของยูเอสโอเพ่นและแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ

– การใช้ Watson Visual Recognition ในการวิเคราะห์ภาพจากช่างภาพของสมาคมฯ ช่วยระบุว่าคนที่อยู่ในภาพเป็นผู้เล่นหรือเซเลบคนไหน แทนที่จะต้องอาศัยเจ้าหน้าที่มานั่งดูทีละภาพ ช่วยให้สามารถเผยแพร่ภาพผ่านช่องทางดิจิทัลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

IBM at US Open in Flushing, NY Thursday, August 25, 2016. (Jon Simon/Feature Photo Service for IBM)

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังได้นำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก “สแลมแทร็กเกอร์” (SlamTracker) เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลผู้เล่น แมตช์การแช่งขัน และข้อมูลทัวนาเมนท์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงที่การแข่งขันกำลังเข้มข้น เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถานการณ์แบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในอดีต แสดงเป็นแพทเทิร์นที่ซ่อนอยู่ รวมถึงรูปแบบการเล่นของผู้เล่นคนนั้นๆ ในสถานการณ์ลักษณะเดียวกัน โดยแฟนเทนนิสที่ใช้แอพยูเอสโอเพ่นยังสามารถแชร์มุมมองการวิเคราะห์เชิงลึกเหล่านั้นผ่านโซเชียลมีเดียได้ในคลิกเดียว

เทคโนโลยี “สแลมแทร็กเกอร์” สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเทนนิสแกรนด์สแลมย้อนหลัง 8 ปี รวมข้อมูลกว่า 41 ล้านดาต้าพอยท์ เพื่อหารูปแบบการเล่น 3 แนวทางที่ผู้เล่นแต่ละคนต้องทำให้ได้หากอยากเอาชนะในแมตช์นั้น (Keys to the Match) โดยแฟนๆ ยังสามารถดูข้อมูลจุดแข็งของผู้เล่นแต่ละคนก่อนเกมเริ่ม และตรวจสอบระหว่างการแข่งขันว่านักเทนนิสสามารถดึงรูปแบบการเล่นที่จะช่วยให้พิชิตแมตช์นั้นๆ ออกมาได้มากน้อยเพียงใด

usopen2016_web

ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก วิดีโอสตรีม และข้อมูลเรียลไทม์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันยูเอสโอเพ่นนี้ มีไฮบริดคลาวด์ของไอบีเอ็มทำหน้าที่เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับ ช่วยให้ระบบสามารถรับมือปริมาณการใช้งานที่พุ่งสูงเกินคาดในบางช่วงของการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบดังกล่าวเป็นไฮบริดคลาวด์ที่ใช้ร่วมกับการแข่งขันออสเตรเลียโอเพ่น โรแลนด์การ์รอส เดอะมาสเตอร์ทัวนาเมนท์ โทนี่อวอร์ดส์ และ ibm.com เป็นไพรเวทคลาวด์ 3 จุด และพับลิคคลาวด์ 4 จุดในประเทศต่างๆ

แอพยูเอสโอเพ่นสำหรับไอโอเอสและแอนดรอยด์ ที่มีเทคโนโลยีอัจฉริยะไอบีเอ็ม วัตสัน อยู่เบื้องหลัง เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ ที่แอพสโตร์และเพลย์สโตร์ โดยแฟนๆ ยังสามารถใช้บริการแอพนี้ได้ผ่านหน้าจออินเตอร์แรคทีฟที่อยู่บริเวณสนาม

IBM’s Road to the 2016 US Open

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา