เปิดงานวิจัยของคนชอบแชร์ สู่การตลาดแบบสร้างกระแส โดยผู้บริโภคกลุ่ม “มีก่อนใช้ก่อน” กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ สร้างจุดสนใจกระตุ้นยอดขายให้แบรนด์มหาศาล
รู้จัก Momentum Marketing
ในยุคปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค กลายเป็นยุคที่ผู้บริโภคชอบแชร์สิ่งต่างๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็รือผู้บริโภคเกิดภาวะ FOMO คือไม่ยอมตกกระแสใดๆ ในโลกนี้ จึงได้เห็นภาพการต่อแถวของร้านขนมใหม่ๆ แฟชั่นใหม่ๆ หรือต่อแถวซื้อ iPhone ตลอด
กลายเป็นการตลาดแบบใหม่ที่เรียกว่า Momentum Marketing หรือการตลาดแบบสร้างกระแส สร้างแรงกระเพื้อมให้สังคม ความสำคัญของการตลาดรูปแบบนี้คือกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกลุ่ม “มีก่อนใช้ก่อน” จะเป็น Influencer ไม่จำกัดต้องเป็นดารา บล็อกเกอร์ แค่เป็นคนที่ได้ใช้ก่อนแล้วมารีวิว
ความน่าสนใจของการตลาดรูปแบบนี้ จึงเป็นที่มาของการศึกษางานวิจัย “Momentum Marketing เจาะใจคนชอบแชร์ จุดกระแสการตลาด” จัดโดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU
ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคกลุ่มแรก หรือ Early Adopter เป็นกลุ่มคนที่มีแพชชั่นกับสินค้าต่างๆ จะต้องได้ไอเท็มนั้นมาครองก่อนใคร ยอมไปต่อแถวซื้อ iPhone เพื่อมารีวิวก่อนใครเพื่อน จะเป็นผู้จุดกระแสการแชร์ต่อจนโด่งดันสนั่นโลกออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการเกิดหรือดับของสินค้าและบริการ จากการรีวิวและบอกต่อไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มทั่วไป
เป็นกลุ่มสำคัญที่แบรนด์ควรทำความรู้จัก เพราะเป็นกลุ่มคนที่เปิดรับสิ่งต่างๆ ได้ไว และมักเป็นคนกลุ่มแรกที่รับรู้หรือได้ทดลองให้สินค้าก่อนใคร จากนั้นจะทำการรีวิวสินค้าและแชร์ต่อในโลกออนไลน์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย จนเกิดเป็นกระแสรับรู้ไปถึงผู้บริโภคกลุ่มถัดไปซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้น หากนักการตลาดสามารถทำให้คนกลุ่มนี้เปิดใจยอมรับสินค้าได้ จะเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างชื่อเสียงและผลกำไรให้กับแบรนด์
แฟชั่น-ไอที-อาหาร 3 กลุ่มยอดนิยม
เมื่อเจาะลึกพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคยุคนี้ พบว่ามี 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีผลต้อการสื่อสารในโลกออนไลน์สูง ได้แก่
1.แฟชั่นและคอสเมติก เหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคกลุ่มแรกตัดสินใจซื้อสินค้าในกลุ่มนี้ จะต้องตรงกับไลฟ์สไตล์ความชื่นชอบส่วนตัว ใส่แล้วต้องสะท้อนถึงตัวตนอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสินค้าคอลเลคชั่นพิเศษ หรือ Limited Edition ยิ่งดึงดูดให้อยากได้มาครอบครอง
เมื่อผู้บริโภคกลุ่มแรกได้ใช้สินค้าแล้วจะเกิดการบอกต่อ หรือแชร์ให้คนอื่นรับรู้ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียยอดนิยม โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะบอกความรู้สึกในการใช้สินค้าตามความเป็นจริง จนเกิดเป็นปรากฎการณ์ปากต่อปาก
2.เทคโนโลยีและแก็ดเจ็ต เนื่องจากสินค้าประเภทนี้มีความซับซ้อนในตัวเอง ทั้งคุณสมบัติ วิธีการใช้งาน และมีรุ่นใหม่ตอลดเวลา ทำให้ต้องใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น การเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มแรกจะต้องรวดเร็วและมีข้อมูลที่อัพเดท
ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้เน้นให้ความสำคัญกับแบรนด์เป็นอันดับหนึ่ง หากเป็นแบรนด์ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักยิ่งทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแบรนด์และสินค้าเป็นตัวสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ ภาพลักษณ์ และรสนิยม อย่างไรก็ตามสินค้าต้องมีคุณภาพดี มีมาตรฐาน มีความแปลกใหม่น่าตื่นเต้น ตอบสนองการใช้งานที่ดี และอยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม เช่น iPhone
3.อาหารและเครื่องดื่ม สมัยนี้แค่ความอร่อยอย่างเดียวไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ ต้องมีความแตกต่างตั้งแต่การตกแต่งร้าน และการมีเมนูพิเศษที่แตกต่างจากร้านอื่นๆ โดยเฉพาะเมนูพิเศษช่วงเทศกาล
ในมุมของคนกลุ่มนี้จะมองว่าเป็นสิ่งพิเศษที่ต้องลิ้มลองและแชร์ต่อในโลกออนไลน์ เป็นการแสดงจุดยืนและการเติมเต็มความต้องการ ซึ่งการเลือกร้านจะเริ่มจากการหาข้อมูลสถานที่ตั้ง ราคา เวลาในให้บริการ ดังนั้น การแชร์ของผู้บริโภคกลุ่มแรกจึงมีความสำคัญมาก
กลุ่มมีก่อน ใช้ก่อนเป็นใคร
จากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1,400 คน พบว่ามีการเปิดรับสื่อและโซเชียลมีเดียสูงเป็นอันดับหนึ่ง 93% ผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยม Facebook, Line, Instagram และ Twitter รองลงมาคือ โทรทัศน์ และเว็บไซต์
แบ่งตามกลุ่มอายุเป็น Gen X หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 41-55 ปี 14.41% ขณะที่ Gen Y หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 23-40 ปี มีสัดส่วนสูงถึง 21.06%
แนะ 8 กลยุทธ์ จุดกระแสแบรนด์ให้ปัง
MOVEMENT: สินค้าต้องมีการเคลื่อนไหว ต้องใหม่อยู่เสมอ
OPINION LEADER: หาคนที่นำความคิดคนอื่นให้เจอ และให้ทดลองใช้สินค้า
MAJOR CHANGE: สินค้าต้องพัฒนา เปลี่ยนแปลง พอที่จะจูงใจคนให้แชร์ความคิดเห็น
ENGAGEMENT: สร้างความผูกผันกับผู้บริโภคโดยการสร้าง Brand Community เพื่อให้คนที่ยึดมั่นในแบรนด์อยู่รวมกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และเป็นกระบอกเสียงในการบอกต่อสินค้า
NEED FULFILLMENT: สินค้าต้องเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะเรื่องไลฟ์สไตล์
TREND: ทันกระแส จับกระแสให้ทันว่าอะไรจะมา
UNIQUENESS: ความ Limited ของสินค้าที่กระตุ้นความอยากได้ของผู้บริโภค
MONITOR: ต้องติดตามข้อมูลทั้งหมด เช่น เนื้อหาที่ต้องการสื่อสารถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ มีเสียงตอบรับที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร และเราสามารถจัดการส่วนนั้นได้อย่างไร
สรุป
– แบรนด์ต้องพัฒนาสินค้า และบริการเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้ที่ชอบแชร์ ชอบแสดงความภาคภูมิใจเมื่ออได้ใช้เป็นแรก ยิ่งสร้างความภัคดีต่อแบรนด์ได้มากขึ้น
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา