ย้อนดูความสำเร็จพอร์ตลูกค้าและมองเทรนด์การลงทุนปี 2021 โดย KBank Private Banking

มองกลับไปในปี 2020 ถึงกลยุทธ์และคำแนะนำการลงทุนของ KBank Private Banking สิ่งต่างๆ เหล่านี้นั้นส่งกลับเป็นผลตอบแทนในการลงทุนของลูกค้า ขณะเดียวกันก็มองต่อไปยังปี 2021 ซึ่งมีเทรนด์การลงทุนที่หลากหลายรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนที่แตกต่างออกไป

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ - Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย
จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ – Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย

ปี 2020 กำลังจะผ่านไปอีกไม่นานแล้ว และโลกก็ผ่านเหตุการณ์สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งสร้างผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมไปถึงการลงทุน แต่สำหรับลูกค้าของ KBank Private Banking กลับมีผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงถือว่าดีมาก จากหลากลายกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดี ท่ามกลางพายุของความผันผวน

Brand Inside สรุปประเด็นสำคัญในการลงทุนในปีนี้ ภาพรวมธุรกิจ และมองไปที่ปี 2021 ว่ามุมมองการลงทุนของ KBank Private Banking นั้นมองไว้อย่างไร

สรุปภาพรวมการลงทุนปี 2020

สำหรับเหตุการณ์ใหญ่ของปี 2020 แถมยังเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันคือการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยในช่วงเดือนมีนาคมนั้นผลกระทบดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะดัชนีหุ้นโลกอย่าง MSCI World Index มีผลตอบแทนติดลบในช่วงดังกล่าวถึง 34% หุ้นจีนผลตอบแทนติดลบไปถึง 16% พันธบัตรรัฐบาลที่นักลงทุนมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงก็ติดลบมากถึง 9% หุ้นกู้เอกชนทั่วโลกติดลบมากถึง 13%

แต่หลังจากนั้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมดัชนีหุ้นทั่วโลกได้บวกไปเยอะมาก ล่าสุดนับจากต้นปีนั้น MSCI World Index มีผลตอบแทน 11% หุ้นจีนให้ผลตอบแทนถึง 26% หุ้นสหรัฐก็บวกถึง 16% แม้แต่ญี่ปุ่นก็ยังมีผลตอบแทนเป็นบวกถึง 15% จากมาตรการของรัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ

ตรงข้ามกับตลาดหุ้นไทยที่นับตั้งแต่ต้นปีผลตอบแทนยังติดลบ 8% และหุ้นยุโรปมีผลตอบแทนติดลบ 3%

ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ นั้นทองคำปีนี้ให้ผลตอบแทนถึง 21% ขณะที่หุ้นกู้เอกชนล่าสุดผลตอบแทนบวกไป 9% ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลตอนนี้ก็บวกไปถึง 8% มีแค่น้ำมันเท่านั้นที่ยังติดลบมากถึง 30%

ในปี 2020 จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นสะท้อนให้เห็นเรื่องของการล้มแล้วลุกทางเศรษฐกิจจากนโยบายต่างๆ ขณะเดียวกันก็ยังแสดงให้เห็นว่าลงทุนผิดภูมิภาคหรือผิดสินทรัพย์อาจทำให้มีผลตอบแทนแย่มากๆ ได้

Tokyo Japan กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น
COVID-19 ได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นในปีนี้ – ภาพจาก Shutterstock

มองพอร์ตลูกค้า KBank Private Banking ในปี 2020

สำหรับพอร์ตลูกค้าของ KBank Private Banking นั้น ถ้าหากลูกค้าเน้นลงทุนระยะยาวและมีความเสี่ยงปานกลางนั้นจะมีผลตอบแทนที่ 3.8% โดยที่ช่วงขาลงจะมีความเสียหายสูงสุดติดลบถึง 17.6% ขณะที่พอร์ตการลงทุนของลูกค้าที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้นปีนี้มีผลตอบแทน 9.2% โดยมีความเสียหายสูงสุดติดลบนั้นอยู่ที่ 14.5%

โดย Core Portfolio เป็นกองทุนผสมที่เน้นเรื่องจัดการความเสี่ยงเป็นหลักสำหรับลูกค้า อย่างเช่น K-SGM ปีนี้จะมีผลตอบแทนไม่ดี สาเหตุจากกองทุนนั้นดูเรื่องความเสี่ยงเป็นหลัก ทำให้เมื่อความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นกองทุนได้ทยอยขายสินทรัพย์ออกมา ตรงข้ามกับกองทุนผสมแบบ Traditional ที่มีการจัดพอร์ตแบบแบ่งสัดส่วนสินทรัพย์อย่าง K-GA กลับฟื้นตัวได้ไวกว่า

ทางด้านของ Satellite Portfolio นั้นมีผลการลงทุนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยกองทุนรวมที่เน้นรายได้สม่ำเสมอเช่น กองทุนอสังหาอย่าง K-Prop นั้นมีผลตอบแทนไม่ดี เนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 ส่งผลต่ออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ

ตรงข้ามกับกองทุนที่เน้นการเติบโตไม่ว่าจะเป็น K-CCTV, K-HIT และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง K-CHANGE ที่ทำผลตอบแทนได้ดีมากๆ และยิ่งพอร์ตที่เน้นความเสี่ยงสูงมากๆ ได้กองทุนที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนเข้ามาอีก เช่น ONE-UGG รวมถึง K-GHEALTH

โดยหุ้นในกองทุนอย่าง ONE-UGG และ K-CHANGE ที่ให้ผลตอบแทนดีในปีนี้มากจากบริษัทไม่ว่าจะเป็น Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ให้ผลตอบแทนระดับหลายร้อย % รวมไปถึง ASML ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในทวีปยุโรป รวมไปถึง M3 ผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นธุรกิจที่แยกออกมาจากบริษัท Sony ให้ผลตอบแทนในปีนี้สูงถึง 182%

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปี 2020 เป็นที่เรื่องของการ Selection ถ้าเลือกสินทรัพย์ลงทุนได้ดีก็สามารถทำผลตอบแทนได้ดี เขายังได้กล่าวย้ำถึง ปรัชญาของ KBank Private Banking คือเชื่อในการเลือกผู้ชนะ ที่สร้าง Positive Impact รวมถึงสร้างบาลานซ์ของพอร์ตที่ดี จากการควบคุมความเสี่ยง

Tesla Motor เทสล่า มอเตอร์
Tesla คือ 1 ในหุ้นที่อยู่กองทุน K-CHANGE และ ONE-UGG ที่สร้างผลตอบแทนมหาศาลในปีนี้ – ภาพจาก Shutterstock

ธุรกิจของ KBank Private Banking ยังเติบโต

ปัจจุบันลูกค้าของ KBank Private Banking เติบโต 3% อยู่ที่ 12,159 ราย สินทรัพย์ทั้งหมดตอนนี้ 806,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนสินทรัพย์นำไปลงทุนมากถึง 67% เงินฝาก 33% ซึ่งดีกว่าในปี 2009 ที่เริ่มธุรกิจ Private Banking ที่เงินฝากมีสัดส่วนใหญ่สุด 70%

สำหรับเป้าหมายในปีนี้ที่ทาง KBank Private Banking ได้ประกาศไว้ คือ เรื่องของกลยุทธ์ 3S นั้นถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี ไม่ว่าจะเป็น

  • Sustainability ทาง KBank Private Banking เป็น Private Bank รายแรกที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน สร้างความตะหนักรู้ด้านการลงทุนแบบยั่งยืน ปัจจุบันมีนักลงทุนได้ลงทุนในกองทุนที่เกี่ยวกับด้านนี้ 2 กองทุนไปแล้วเกือบๆ 1 หมื่นล้านบาท 
  • Sharing เริ่มเข้ามารุกเรื่องการแบ่งปันมากขึ้น มีการพูดคุยกับมูลนิธิต่างๆ โดยเอาความรู้ความสามารถในการลงทุนเพื่อนำไปแบ่งปันประโยชน์ให้กับสังคม
  • S-Curve ทาง KBank Private Banking มองเห็นโอกาสในการลงทุนที่จะทำให้ลูกค้าเรียนรู้ในการปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่มากขึ้น โดยได้แนะนำกองทุนเช่น ONE-UGG ที่ลูกค้าของ KBank Private Banking ได้ลงทุนไปมากถึงเกือบ 2,000 ล้านบาท รวมไปถึงกองทุน Private Equity ที่ลงทุนในบริษัทเอกชนนอกตลาดหลักทรัพย์มากถึง 1,823 ล้านบาทเป็นต้น โดยมองว่าการลงทุนจะเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในอนาคต

นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มให้บริการใหม่ๆ เช่น Wealth Planning Services อย่างเช่น การทำ Family Governance แล้วก็ Family Constitution หรือธรรมนูญครอบครัว ที่ได้ทำไปแล้วกว่า 160 ครอบครัว เป็นต้น

นอกจากนี้อีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างความเติบโตให้กับ KBank Private Banking คือ Land Loan ที่ลูกค้าใช้ที่ดินเป็นหลักประกันแล้วลงทุนกับธนาคาร ปัจจุบันนั้นมีลูกค้ามากถึง 90 รายที่ใช้บริการมูลค่ารวมถึง 28,000 ล้านบาท โดยจุดเด่นของบริการนี้คือการบริหารทรัพย์สินของลูกค้าให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น

กลยุทธ์ 3S นั้นส่งผลทำให้ KBank Private Banking ได้รางวัลที่เป็นความภาคภูมิใจมากถึง 15 รางวัลจาก 9 สถาบันต่างประเทศ เช่น Best Private Bank ของประเทศไทย จากหลายสถาบัน เช่น The Asset Triple A, PWM/The Banker และ Finance Asia เป็นต้น

จิรวัฒน์ มองว่ากลยุทธ์ 3S นี้จะยังดำเนินแผนการนี้ต่อไป ไม่ได้มองแค่ความมั่งคั่งของลูกค้า แต่มองถึงความมั่งคั่งของประเทศในอนาคต

Vaccine COVID-19 วัคซีนโควิด
วัคซีน COVID-19 ยังคงเป็นประเด็นสำคัญของปี 2021 – ภาพจาก Shutterstock

มองต่อไปยังปีหน้า

สำหรับภาพใหญ่ในปี 2021 นั้น KBank Private Banking มองไว้คือเรื่องปีที่สิ้นสุดของ COVID-19 โดยที่โลกจะมีวัคซีนและการรักษาที่ทำได้ดีขึ้น และเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญในการลงทุนได้แก่

  • เศรษฐกิจโลกในระยะสั้นจะยังเติบโตได้แข่งแกร่ง
  • วัคซีน COVID-19 และนโยบายสนับสนุนการค้าของโจ ไบเดนจะสนับสนุนการฟื้นตัวได้ดี
  • ขณะที่ภาคบริการ เช่น ภาคการท่องเที่ยว ยังฟื้นตัวช้าอยู่ และต้องรออีกสักพัก
  • การลดนโยบายสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกลางจะกระทบกับโลกการเงินหลังจากนี้ เปรียบได้กับการถอดเครื่องช่วยหายใจ
  • หุ้นในทวีปเอเชียจะให้ผลตอบแทนดีในปีนี้ รวมถึงสินทรัพย์ที่ไม่อยู่ในสกุลดอลลาร์สหรัฐจะมีผลตอบแทนดีจากดอลลาร์อ่อนค่า

นอกจากนี้ KBank Private Banking ยังแนะนำมุมมองการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น

  1. ยังแนะนำลงทุนในหุ้นโลก
  2. หุ้นในทวีปเอเชียคือจุดโฟกัสหลักในปี 2021
  3. ลงทุนในหุ้นวัฏจักร และเป็นหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก
  4. ความเสี่ยงยังไม่หายไป แต่ต้องดูความเสี่ยง บาลานซ์พอร์ตการลงทุนด้วย
  5. ถ้าอยากได้ผลตอบแทนมากขึ้น ต้องซื้อตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ผ่านกองทุนรวม เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้น
  6. KBank Private Banking ยังแนะนำให้ถือทองคำ ทองคำคือส่วนประกอบพอร์ตการลงทุนอยู่
  7. ถ้ามีโอกาส ลงทุนในบริษัทนอกตลาดหุ้น จะช่วยประคอง Portfolio ในยามผันผวนหนัก
  8. ระวังค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า
  9. ค่าเงินใน Emerging Markets จะแข็งค่ามากขึ้น และจะมีผลต่อการลงทุนในปีหน้า
  10. ลงทุนในบริษัทที่เน้นในเรื่องของความยั่งยืน เพราะบริษัทเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

mm
Branded Content เป็นบทความที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์