การสร้างคน สำคัญไม่ต่างจาก การสร้างนวัตกรรม เรียนรู้การปั้นคนสไตล์ KBank จากงาน PossAbility Acceleration

การสร้างคน กลายเป็นปัจจัยที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่ง KBank เป็นหนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาคนมาโดยตลอด และหนึ่งในโครงการที่สะท้อนแนวคิดการพัฒนาคนของ KBank ได้เป็นอย่างดีคือ PossAbility Acceleration ที่มุ่งเน้นการสร้างคน ไอเดีย และนวัตกรรม

ขัตติยา อินทรวิชัย CEO ของ KBank กล่าวว่า KBank มุ่งมั่นสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม จึงส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทุกรูปแบบ โดยโครงการ PossAbility Acceleration ประจำปี 2563 มีพนักงานจากหลากหลายฝ่ายงาน รวมทั้งสาขา และบริษัทของธนาคารทั่วประเทศ ส่งไอเดียเข้าร่วมโครงการกว่า 100 ไอเดีย เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า KBank เต็มไปด้วยพนักงานที่พร้อมจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่เสมอ

สำหรับโครงการ PossAbility Acceleration แบ่งการคัดเลือกเป็น 3 รอบ มีการระดมสมอง เข้า Boot Camp  พัฒนาไอเดียอย่างเข้มข้น จนเหลือผู้เข้าแข่งขัน 8 ทีมสุดท้าย ที่มีโอกาสได้สร้างต้นแบบร่วมกับทีมนักพัฒนาโปรแกรมจาก KBTG และนำเสนอผลงานเพื่อชิงรางวัลในรอบสุดท้าย โดยมีผลการตัดสินดังนี้ 

ทีมผู้ชนะ Best PossAbility Idea รับเงินรางวัลทีมละ 150,000 บาท จำนวน 3 ทีม ประกอบไปด้วย

  • ทีม Make A Wish
  • ทีม Spotlight
  • ทีม K-Guarantee

ไอเดียจาก 3 ทีมนี้จะนำไปพัฒนาเป็นบริการจริงในอนาคต

ทีมผู้ชนะ Best Prototype คือทีมนักพัฒนาโปรแกรม จาก KBTG รับเงินรางวัลทีมละ 90,000 บาท จำนวน 3 ทีม คือ

  • ทีม OK Kojo District
  • ทีม Spotlight
  • ทีม Insurance Share Buy

ทีมผู้ชนะ Learning Award คือ รางวัลที่ทีมมีการพัฒนาการเรียนรู้ยอดเยี่ยม รับเงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท จำนวน 2 ทีม คือทีม OK Kojo District (ทีมเจ้าของไอเดีย) และทีม Journey เจ้าหนี้ (ทีมนักพัฒนาโปรแกรม)

คณะกรรมการรอบ Final Stage

ไม่ใช่แค่นวัตกรรม แต่ต้องสร้างวัฒนธรรมในการพัฒนา

ฟังเสียงสะท้อนจากพนักงานที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม Make A Wish หนึ่งในทีมผู้ชนะด้านไอเดีย กล่าวว่า โครงการ PossAbility Acceleration จุดประกายพนักงานกล้าคิด กล้าแสดงออก และเมื่อได้ไอเดียที่ดี ก็สามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้

ทีม Spotlight ได้พัฒนาแพลตฟอร์มตัวกลางที่รับบริจาค เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่โปร่งใสในการรับบริจาคเพื่อสังคม โครงการนี้ช่วยให้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงและการทำงานเป็นทีม เมื่อลูกค้ามีปัญหา ก็ต้องคิดค้น หาหนทางมาช่วยแก้ปัญหาได้

บรรยากาศ Boot camp

“นวัตกรรม” ทางรอดของการถูก Disrupt

ทีม KGuarantee เสนอไอเดียแก้ไขปัญหาการซื้อ-ขายออนไลน์ หลังจากร่วมโครงการพบว่า ได้เรียนรู้พัฒนาการ Validate (ทดสอบความถูกต้องของแนวคิดในการออกแบบ) วิธีการทำงานรูปแบบใหม่ การบริหารเวลา การแข่งขัน และสิ่งที่สำคัญคือไม่กลัวที่จะทดลอง เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ 

ด้านนักพัฒนาโปรแกรมจากทีม OK Kojo District หนึ่งในทีมผู้ชนะด้าน Prototype มองว่า การเรียนรู้จากความผิดพลาดคือสิ่งสำคัญ นักพัฒนาควรลงมือทำ แม้ผลิตภัณฑ์จะไม่ได้ถูกออกแบบจนสำเร็จ ก็ถือว่าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ 

การทำงานของทั้งฝ่ายพัฒนาและฝ่ายธุรกิจควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการเคารพ เชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และควรมีพื้นที่สำหรับสื่อสารกันมากขึ้น 

รอบ Final Stage

กล้าที่จะคิดและกระจายแนวคิดให้โลกรู้

นักพัฒนาโปรแกรมจากทีม Spotlight มองว่า ทุกวันนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี ไอเดียเป็นเรื่องสำคัญ ศัตรูที่จะหยุดการคิดของคนได้ คือ ความกลัว ถ้ามีไอเดียก็อยากให้ลองทำหรืออย่างน้อยก็จุดประกายให้คนนำไปทำต่อได้

ข้อจำกัดหนึ่ง คือ นักพัฒนามักไม่ค่อยได้เจอลูกค้า ควรมีโอกาสและช่องทางในการพูดคุยกันเยอะๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน จนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมบางอย่างออกมาในองค์กรได้ บรรยากาศในโครงการนี้ควรถูกนำไปใช้ได้จริงในการทำงานปกติ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานทำงานสนุกและตื่นตัวมากขึ้น ในขณะเดียวกันทีมนักพัฒนาก็อาจจะขาด soft skill หลายอย่าง เช่น การพูด การนำเสนอผลงาน การร่วมแข่งขันก็ช่วยเพิ่มเติมทักษะด้านนี้มากขึ้น 

ส่งเสริมการคิดนอกกรอบและกระตุ้นการทำงานให้สนุกยิ่งขึ้น

ทีมนักพัฒนาโปรแกรม Insurance Share Buy เล่าว่าบรรยากาศในการแข่งขันสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม สมาชิกในทีมมีความเป็น introvert ตลอดเวลา ไม่คุ้นเคยกับการพูดในที่สาธารณะ การได้ลองออกจาก comfort zone ทำให้เกิดการพัฒนาตัวเอง และนำไปสู่การพัฒนาองค์กร

รอบ Prototype Pitch
รอบ Prototype Pitch

สรุป

นวัตกรรมในองค์กรจะสำเร็จได้ คนในองค์กรต้องได้รับการพัฒนาให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์ลูกค้า และช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งโครงการ PossAbility Acceleration ของ KBank เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ไม่เพียงแต่สร้างคน สร้างองค์กร แต่ยังช่วยสร้างนวัตกรรมดีๆ สู่สังคมด้วย

จากการถอดบทเรียนของผู้ชนะโครงการนี้ พบว่า การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ ช่วยกระตุ้นให้คนรักการเรียนรู้ มีใจที่พร้อมจะพัฒนานวัตกรรม และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น 

ขณะเดียวกันตัวพนักงานก็ได้พัฒนาความรู้และทักษะของตัวเองให้มากขึ้นได้อีกด้วย สะท้อนให้เห็นว่า การมีโครงการที่สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน สามารถเพิ่มศักยภาพของพนักงานได้อย่างไร้ขีดจำกัด นำไปสู่การเติบโตของนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ล้ำสมัย และเป็นขุมพลังติดสปีดที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา