EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินการตัดสิทธิ GSP โดย United States Trade Representative (USTR) ประกาศตัดสิทธิ GSP กับสินค้าไทยเพิ่มเติม 231 รายการ มีผลบังคับ 30 ธันวาคม 2020 เป็นต้นไป หลังจากมีการยกเลิกสิทธิ GSP ในรอบแรก มีผลบังคับใช้กับสินค้าไทย 573 รายการ (คิดเป็น 0.5% ของมูลค่าการส่งออกรวมเมื่อ 25 เมษายน 2019
- สหรัฐอเมริกาประกาศตัดสิทธิ์ GSP ไทย มูลค่า 25,433 ล้านบาท อ้างเรื่องไม่ยอมเปิดตลาดให้นำเข้าหมูจากสหรัฐ USTR ประกาศตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย 231 รายการเมื่อ 30 ตุลาคม 2020 มีผลบังคับใช้วันที่ 30 ธันวาคม 2020 เป็นต้นไป 817 ล้านเหรียญสหรัฐ คือ 0.3% ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม USTR อ้างว่าการเปิดตลาดเนื้อสุกรของไทยไม่เป็นธรรมและไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากไทยมีความกังวลด้านการปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีนทำให้มาตรการกีดกันการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ
- โดนัลด์ ทรัมป์สั่งตัด GSP สินค้าไทยเกือบ 600 รายการ เฉียด 4 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.5% ของมูลค่าการส่งออกรวม สินค้าที่ได้รับผลกระทบคือ สุขภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อาหาร (ผลิตภัณฑ์ถั่ว เส้นพลาสต้า เนื้อปู) และเครื่องประดับ (สร้อยทอง และหินอัญมณี)
EIC คาด ผลกระทบที่เกิดจากการตัดสิทธิ GSP รอบล่าสุดต่อการส่งออกไทยในภาพรวมค่อนข้างจำกัด เนื่องจาก
- สินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ที่จะถูกตัดสิทธิ GSP คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ต่อมูลค่าการส่งออกรวม
- สินค้าที่จะโดนตัดสิทธิ GSP จะมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3.1% ซึ่งจะกระทบต่อยอดขายไม่มากนัก
แม้ผลกระทบจากการตัดสิทธิ GSP จะมีไม่มากนัก แต่จากผลกระทบสะสมจากการโดนตัดสิทธิในรอบก่อนหน้า ภาวะเศรษฐกิจโลกยังซบเซาและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า กระแสการปกป้องทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงค่าเงินบาที่แข็งค่าสะสมในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ทำให้ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของการส่งออกไทยในระยะข้างหน้ามีสูงขึ้นและยังส่งผลให้ผู้ประกอบไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกต่อไปได้
EIC คาดผลกระทบที่เกิดจากการตัดสิทธิ GSP รอบนี้ส่งผลต่อส่งออกไทยค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ จะถูกตัดสิทธิเพียงแค่ 0.2% ต่อการส่งออกรวม และสินค้าที่จะโดนตัดสิทธิ GSP มีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 3.1% จะกระทบต่อยดขายไม่มากนัก การตัดสิทธิ GSP จะทำให้สินค้าส่งออกที่โดนตัดสิทธิถูกเก็บภาษีเพิ่มเติมในช่วง 0% ถึง 12.5% แล้วแต่ประเภท
สินค้าซึ่งมีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอัตราภาษี (weighted effective tax rate) ที่จะถูกจัดเก็บเพิ่มเติมอยู่ที่ 3.1% หรือคิดเป็นมูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายประมาณ 18.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากมีสมมติฐานให้ธุรกิจส่งผ่านภาษีที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้บริโภคทั้หมด โดยที่ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าส่งออกไทยนั้นไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลง
จากงานศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทย เคยสรุปว่าค่าความยืดหยุ่นด้านราคาของสินค้าส่งออก (price elasticity) มีค่าในช่วง 0.3% – 0.6% ทำให้ได้ข้อสรุปว่ายอดขายสินค้าส่งออกไทยที่จะโดนตัดสิทธิ GSP มีแนวโน้มลดลงประมาณ 0.001% – 0.003% ต่อการส่งออกรวมทั้งหมด ราว 3.2 – 6.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หากสินค้าที่โดนตัดสิทธิเป็นสินค้าที่ถูกทดแทนได้ยากหรือเป็นที่นิยมในตลาดสหรัฐฯ (มีความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำ: low price elasticity) ผลกระทบก็อาจมีจำกัด
สินค้าที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบสูงคือ ผักดองเปรี้ยว ผักแห้ง ไฟประดับต้นคริสมาสต์ ปิโตรเรซิน ซิลิคอน ภาชนะอะลูมิเนียมทรงกระบอก โลหะสำหรับยึดและติดตั้ง ประแจ และตะปูควง มีหลักในการวิเคราะห์ 3 ด้าน คือ
- GSP utilization rate (มูลค่าส่งออกที่ใช้สิทธิ GSP ต่อมูลค่าส่งออกสินค้าประเภทนั้นทั้งหมด) สะท้อนการพึ่งพาสิทธิ GSP ในการส่งออกสินค้าประเภทนั้นๆ หากมีมากก็จะกระทบมาก
- ตราภาษีที่จะมีการเก็บเพิ่มเมื่อโดนตัดสิทธิ หากมีภาษีสูงก็จะมีความเสี่ยงกระทบสูง
- มูลค่าการใช้สิทธิ GSP ของแต่ละสินค้า สินค้าที่มีมูลค่าใช้สิทธิมาก ก็ย่อมแสดงถึงความสำคัญของสิทธินั้นต่อสินค้าที่โดนตัดสิทธิทั้งหมด
ที่มา – EIC
ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา