ทักษะแห่งการทำงานศตวรรษที่ 21: จงเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลงเสมอ

Brand Inside Forum 2020: New Workforce งานสัมมนาเพื่อคนทำงาน ตอบโจทย์การทำงานของคนทุกช่วงวัย จะอยู่รอดได้อย่างไรในยุคที่ทุกอย่างไม่แน่นอน และการเตรียมพร้อมคือทางออก

ภายใต้หัวข้อ Skills for 21st Century Workforce หรือทักษะการทำงานแห่งศตวรรษที่ 21 โดยอริญญา เถลิงศรี Chief Capability Officer & Managing Director, SEAC และภคพรรค์ วัลลศิริ Country Manager, Gallup ดำเนินรายการโดยธงชัย ชลศิริพงษ์ Content Editor Brand Inside

ทักษะการทำงานแห่งศตวรรษที่ 21 เริ่มเปิดด้วยคำถามว่า โควิด-19 ในเซนส์ของหลายๆ คนถือเป็นเส้นแบ่งที่สำคัญ เมื่อ Future of Work ที่คิดไว้ก่อนโควิดคือเรื่อง การ Work from anywhere คำถามต่อจากนี้คือมีอะไรมากกว่านี้ไหม?

อริญญา เถลิงศรี Chief Capability Officer & Managing Director, SEAC ระบุว่า ถ้าต้องทำงานจากบ้าน ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้มีประสิทธิผล วันนี้เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน เราไม่รู้ว่าหน้าตาการว่าจ้าง การทำงานเป็นแบบไหน อยู่ที่ว่าเราจะทำยังไงให้พร้อม Future of Work อาจหมายถึง ทำงานแบบใดก็ได้ รูปแบบการว่าจ้างเป็นแบบไหนไม่รู้ 

ขณะที่ ภคพรรค์ วัลลศิริ Country Manager, Gallup กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงจะกลายเป็น New normal เกิดขึ้นต่อเนื่อง รวดเร็ว เกิดขึ้นทุกวัน การทำงานต้องเปลี่ยนไป เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การทำงานต้องเข้าถึงเทคโนโลยีให้ได้ ทักษะความรู้ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราต้องรู้จักตัวเอง เพื่อพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

ทักษะอะไรที่จะทำให้เรายังสำคัญกับโลกการทำงานอยู่?

ภคพรรค์กล่าวว่า ทักษะที่จะหายไปคือการใช้แรงงาน สิ่งที่คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยียังแทนไม่ได้ เช่น ทักษะเกี่ยวกับ Emotional skill คือทักษะที่ต้องเรียนรู้ขั้นสูง เช่น ทักษะการ Empathy, Cognitive skill, Communication skill การขับเคลื่อนความคิดใหม่ๆ จะเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต จากการศึกษาพบว่า พนักงานอายุน้อยๆ เขาอยากรู้ว่าจุดแข็งของเขา จะต่อยอดอย่างไรต่อไปได้บ้าง

ขณะที่อริญญาให้ความเห็นว่า เราต้องเข้าใจความต่างระหว่าง Study และ Learning เราต้องเพิ่ม Learning Agility ระบบการศึกษาทำให้เราเป็นนักเรียนที่ดี เราเรียนประถม มัธยม วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ระบบการศึกษาปูทางให้เรารู้ว่าต้องเรียนอะไรบ้าง มีคนวางให้เราแล้ว สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ เราสามารถเคลื่อนตัวเองมาจาก Study สู่ Learning เองได้หรือเปล่า เรียนรู้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะฟัง podcast ต้องฝึกกำหนดเวลาให้ตัวเอง 20 นาทีแรกของวัน รู้สึกว่าสื่อสารกับเด็กไม่ได้ ต้องหาข้อมูล เช่นสื่อสารกับเด็ก Gen Z ต้องทำยังไง เป็นต้น

เราต้องเรียนรู้และนำมาใช้ อย่าเรียนช่องทางเดียว ไม่ใช่ว่าชอบแหล่งความรู้นี้ แล้วฟังอยู่ทางเดียว ต้องฟังหลายอย่างเอามาปรับใช้ ใช้ไม่ได้ผลต้องเรียนรู้ใหม่ เราต้องเปลี่ยนจาก Studying เป็น Learning ให้ได้

ทักษะทั้งหมดเราไม่รู้หรอกว่ามีอะไรบ้าง เริ่มจาก Learning agility ก่อนเลยเราต้องหาข้อมูลที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ กำหนดตัวเองให้เรียนทุกวัน

Job
LONDON – OCTOBER 05: Commuters walk to work over London Bridge on October 5, 2006 in London, England. (Photo by Scott Barbour/Getty Images)

งานวิจัยจาก World Economic Forum ระบุไว้ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้คนจะตกงาน 80 ล้านคนทั่วโลก มีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร?

ภคพรรค์ มองว่า เป็นเรื่องที่ต้องกลัว อีกไม่กี่ปีงานจะหายไปหลายล้านงาน มีงานศึกษาคาดการณ์ว่า งานใหม่ๆ ไม่ใช้ทักษะแบบเดิม ถ้าใครไม่เรียนรู้เพิ่มขึ้น จงกลัวที่จะตกงาน แต่ถ้าเพิ่มทักษะใหม่ๆ ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวตกงาน สิ่งสำคัญในอนาคตและปัจจุบัน เราต้องเข้าใจตัวเอง ธรรมชาติเราเป็นอย่างไร จุดแข็งเป็นอย่างไร ทุกคนมีการเรียนรู้แตกต่างกัน ไม่ว่าจะโดยอ่าน ฟัง หรือพูดคุย เราต้องรู้ว่าเราพัฒนาตัวเองอย่างไร 

ความเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มต้นจากผู้นำองค์กร ลำดับชั้นแบบ hierachy ไม่เวิร์กอีกต่อไป ผู้นำจะต้องมี mindset แบบใดต่อสถานการณ์ดังกล่าว?

อริญญา มองว่า ถ้าผู้นำต้องลุกขึ้นมาทำ ผู้นำจะต้องเชื้อเชิญให้เราอยาก upskill หรือ reskill อยากให้มองว่ามันคือโอกาส เราเชื่อว่า ทุกคนออกแบบชีวิตอีกบทหนึ่งของเราได้ เช่น อยากเด็กกว่านี้ เราจะลุกขึ้นมาออกแบบชีวิตอีกแบบหนึ่ง อย่าคิดว่าเราเรียนสายไหนมา ทำงานสายไหนมาเยอะแล้ว อย่ามี fix mindset 

ถ้าเราเป็นผู้บริหาร เราต้องเชื้อเชิญให้คนออกแบบชีวิตไปข้างหน้าใหม่ ส่วนตัวเราเอง นอกจากหาจุดแข็งแล้วเราต้องดูว่ามี passion เรื่องอะไร เรามีแรงบันดาลใจจากอะไร ผู้นำต้องมาช่วยกันทำให้คนในองค์กรรู้สึกอยากออกแบบชีวิตตัวเองกลับมาเรียนรู้ตัวเองเพื่อสร้างเส้นทางใหม่ 

Photo by Annie Spratt on Unsplash

ถ้าพนักงานอยากเปลี่ยนแปลง แต่โครงสร้างขององค์กร ระบบขององค์กร และผู้นำไม่ยอมเปลี่ยนแปลง พนักงานควรทำอย่างไร?

ภคพรรค์กล่าวว่า เราต้องเริ่มจากการเพิ่มทักษะของเรา ทำให้เขาเห็นว่าทักษะใหม่ทำให้งานของเขาขยายไปให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง ทุกวันนี้มีการสำรวจความคิดเห็นพนักงานตลอดเวลา เราต้องใช้สื่อเหล่านั้นมาช่วยอีกทาง ซึ่งการกระทำเสียงดังกว่าคำพูด ต้องทำให้ผู้นำได้รู้ว่าสิ่งที่เราเอามาใช้เป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร 

คอร์สออนไลน์จะเพิ่มทักษะเราได้จริงหรือ เพียงพอหรือไม่ การเรียนเสริมสร้างทักษะเหล่านี้ทำได้จริงหรือไม่?

อริญญาระบุว่า ไม่มีอะไรอย่างเดียวที่ทำให้เรา reskill หรือ upskill ได้ ต้องผสมผสานกัน เช่นค้นข้อมูลว่าทักษะแบบนี้จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรต่อ เช่น ทำเรื่อง OKR คืออะไร เอามาใช้อย่างไรให้สำเร็จ ประเด็นก็คือ ไม่มีแหล่งการเรียนเดียวที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ถ้าเราเลือกชีวิตว่ารอให้คนอื่นมาบอกไม่ได้ เราต้องผสมผสานการเรียนรู้หลายรูปแบบ อย่าเลือกเรียนรู้แค่ทางเดียว ประเทศไทยกำลังช้ากว่าเวียดนามหรืออินโดนีเซีย ในรูปแบบการเรียนรู้นะ 

การศึกษา ถ้าเทียบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนเวียดนามทั้ง Gen Z, Gen Y บริษัทเวียดนามจ่ายเงินให้งบน้อยกว่าเจ้าตัวจ่ายเงินเรียนเอง นิสัยของเขาคือ ต้องเรียนตลอดเวลา upskill และ reskill ตลอดเวลา เขาจะตรวจสอบสิ่งที่เราสอนไปตลอดเวลา อินโดนีเซียก็ตามมาติดๆ 

Workplace

ในยุคที่เราทำงานออฟฟิศ บางคนทำงานเก่งมาก บางคนทำงานตามเวลา เวลาเรา Work from home ตลอดเวลา เราไม่รู้ว่าแต่ละคนทำอะไร Top Performer จะทำงานหรือพัฒนาอย่างไร? 

ภคพรรค์กล่าวว่าวิธีการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงการสื่อสาร ตัวเป้าหมาย และการวัดผลการทำงาน ต้องวัดผลได้ เราไม่สนใจว่าทำงานกี่ชั่วโมง แต่วัดผลแล้วได้ตามเป้าหมายไหม หัวหน้างานต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นโค้ช ไกด์เขาได้มากขึ้น มีการสนทนาต่อเนื่องและสร้าง accountability อย่างชัดเจน 

ด้านอริญญามองว่า เมื่อ work from home เข้ามา ทีมก็เริ่มพูดคุยกันเรื่อง outcome มากขึ้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ engagement ในแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น การคุยกันสำหรับคนดูหนังเกาหลี เรามีช่วงดื่มวันศุกร์ สั่งเบียร์ให้ลูกน้องที่บ้าน ให้งบประมาณกับทีมที่สามารถสั่งอาหารไปให้ได้ ให้มีการสนทนาออนไลน์ตลอดเวลา เรื่อง engage สำคัญ 

ยิ่งคนห่างกัน ยิ่งต้องหาช่องทางเชื่อมต่อกันให้มากขึ้น ผู้บริหารต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสื่อสารกับน้องที่ทำงานมากขึ้น ต้องเป็น Cheerleader ให้มากขึ้น 

Work

คำถามสุดท้าย การพัฒนาทักษะคนในองค์กร สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นในวันนี้ช้าไปหรือไม่ ?

ภคพรรค์ มองว่า ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเรียนรู้ ช้าไม่ช้าขึ้นอยู่กับมุมมอง แต่ว่าต้องเริ่ม ขณะที่อริญญาเห็นตรงกันกับเรื่องดังกล่าว เธอมองว่า ประเด็นสำคัญของการเรียนรู้คือ ไม่ใช่การเริ่มช้าหรือเริ่มเร็ว แต่ต้องเริ่มแล้ว เริ่มทำอย่างต่อเนื่อง คือมีแรงจูงใจที่จะทำอย่างต่อเนื่อง และมี commitment สำหรับการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา